Share to:

 

แดเนียล รัทเทอร์ฟอร์ด

แดเนียล รัทเทอร์ฟอร์ด
ภาพแกะเมสโซทินต์ของรัทเทอร์ฟอร์ด โดยเซอร์เฮนรี เรเบิร์น
เกิด3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1749(1749-11-03)
เอดินบะระ สกอตแลนด์
เสียชีวิต15 ธันวาคม ค.ศ. 1819(1819-12-15) (70 ปี)[1]
เอดินบะระ สกอตแลนด์
สัญชาติสกอตแลนด์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเอดินบะระ
มีชื่อเสียงจากค้นพบธาตุไนโตรเจน
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงาน
มีอิทธิพลต่อโจเซฟ แบล็ก
ชื่อย่อที่ใช้ทางพฤกษศาสตร์Rutherf.

แดเนียล รัทเทอร์ฟอร์ด (อังกฤษ: Daniel Rutherford; 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 174915 ธันวาคม ค.ศ. 1819) เป็นแพทย์ นักเคมีและนักพฤกษศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ เกิดที่เมืองเอดินบะระ เป็นบุตรของศาสตราจารย์จอห์น รัทเทอร์ฟอร์ดและแอนน์ แมคเคย์ เรียนที่โรงเรียนมันเดลส์และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ[2] ที่นั่นรัทเทอร์ฟอร์ดได้เรียนกับโจเซฟ แบล็ก ซึ่งกำลังศึกษาคุณสมบัติของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รัทเทอร์ฟอร์ดและแบล็กร่วมกันทดลองนำหนูมาขังในพื้นที่ปิดจนเสียชีวิตและจุดเทียน จนพบว่าที่หนูเสียชีวิตและเทียนดับเกิดจากก๊าซชนิดหนึ่งซึ่งไม่ติดไฟและใช้หายใจไม่ได้ รัทเทอร์ฟอร์ดเรียกก๊าซชนิดนี้ว่า "noxious air" หรือ "phlogisticated air"[3] เขารายงานผลการทดลองนี้ในปี ค.ศ. 1772 รัทเทอร์ฟอร์ดและแบล็กใช้การทดลองนี้พิสูจน์ว่าทฤษฎีโฟลจิสตันถูกต้อง (แต่ต่อมาการอธิบายความถูกต้องของการเผาไหม้ถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีออกซิเจนของอ็องตวน ลาวัวซีเย) ในปี ค.ศ. 1790 ฌ็อง-อ็องตวน แชปตัลตั้งชื่อก๊าซชนิดนี้ใหม่ว่า "ไนโตรเจน"

ต่อมารัทเทอร์ฟอร์ดดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระและผู้ดูแลสวนพฤกษศาสตร์เอดินบะระ[4] ระหว่าง ค.ศ. 1796–1798 เขาดำรงตำแหน่งประธานราชวิทยาลัยแพทย์แห่งเอดินบะระ[5]

รัทเทอร์ฟอร์ดเสียชีวิตที่เมืองเอดินบะระในปี ค.ศ. 1819

อ้างอิง

  1. Waterston, Charles D.; Macmillan Shearer, A. (July 2006). Former Fellows of the Royal Society of Edinburgh 1783-2002: Biographical Index (PDF). Vol. II. Edinburgh: The Royal Society of Edinburgh. ISBN 978-0-902198-84-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2011-02-08.
  2. The Annual Biography and Obituary, Volume 5
  3. Daniel Rutherford - Chemistry - About.com
  4. "Daniel Rutherford - Human Touch Of Chemistry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-06. สืบค้นเมื่อ 2016-05-19.
  5. "College Fellows: curing scurvy and discovering nitrogen". Royal College of Physicians of Edinburgh. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya