แผนการยังแผนการยัง (อังกฤษ: Young Plan) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการกับหนี้สินค่าปฏิกรรมสงคราม หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยตราขึ้นในปี ค.ศ. 1929 และประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1930 นำโดยโอเวน ดี. ยัง หลังจากแผนการดอวส์ได้ถูกนำมาใช้แก้ไขปัญหาการพักชำระหนี้สิน ก็ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเยอรมนีไม่อาจแบกรับภาระค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาลเช่นนั้นได้เมื่อเวลาผ่านไป แผนการคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการค่าปฏิกรรมสงครามฝ่ายพันธมิตร โดยประชุมกันครั้งแรกในช่วงต้นปี ค.ศ. 1929 และได้เสนอรายงานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน นอกเหนือจากยังแล้ว สหรัฐอเมริกาได้ส่ง เจ. พี. มอร์แกน นายธนาคารที่มีชื่อเสียงและผู้ช่วยของเขา โธมัส ดับเบิลยู. ลามอนต์ การทำรายงานดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากสหราชอาณาจักร แต่หลังจากการประชุมกรุงเฮก แผนการได้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม โดยที่ประกาศใช้แผนการยังอย่างเป็นทางการในการประชุมกรุงเฮกครั้งที่สอง ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1930 แผนการยังได้กำหนดค่าปฏิกรรมสงครามอยู่ที่ 26,350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยกำหนดระยะเวลาชำระอยู่ที่ 58 ปีครึ่ง เป็นการนำเข้ามาใช้แทนที่แผนการดอวส์ในปี ค.ศ. 1930 แผนการยังได้กำหนดให้เยอรมนีต้องชำระหนี้เป็นประจำทุกปีปีละ 473 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากค่าปฏิกรรมสงครามทั้งหมดสามส่วนได้แบ่งออกเป็นส่วนที่ต้องจ่ายให้ครบจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไข คิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวนเงินทั้งหมด และอีกสองส่วนที่เหลือเป็นส่วนที่สามารถผ่อนชำระต่อไปอีกได้ โดยคิดเป็นสองในสามของจำนวนเงินทั้งหมด โดยเงินประจำปีจะเพิ่มขึ้นผ่านทางภาษีคมนาคมและจากงบประมาณของแผ่นดิน นอกจากนั้น แผนการดังกล่าวยังได้จัดการธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการชำระหนี้ เพื่อจัดการกับการถ่ายโอนค่าปฏิกรรมสงครามดังกล่าวด้วย ผลทำให้เกิดการก่อตั้งธนาคารนานาชาติเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการประชุมที่กรุงเฮกในเดือนมกราคม ระหว่างการตกลงและการประกาศใช้แผนการดังกล่าวนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่ม ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบตามมาเป็นสองเท่า ระบบธนาคารสหรัฐอเมริกาได้ดึงเงินจำนวนมากจากทวีปยุโรปและยกเลิกการให้กู้เงินตามแผนการยัง นอกเหนือจากนั้น การนำเข้าและการส่งออกก็ประสบหายนะ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาไปทั่วโลก ในปี ค.ศ. 1933 ปริมาณการค้าทั่วโลกหดตัวลงเกือบสองในสาม นโยบายการค้าใหม่ถูกจัดให้มีขึ้นตามบัญญัติภาษีศุลากากรสมูท-ฮาวลีย์ ซึ่งต่อมาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดชาตินิยมและการปรับปรุงนโยบายทางเศรษฐกิจ ส่วนอัตราการว่างงานในเยอรมนีคิดเป็น 33.7% เมื่อปี ค.ศ. 1931 และเพิ่มขึ้นเป็น 40% ในปีต่อมา จากความรุนแรงของเหตุการณ์ดังกล่าว ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์เสนอนโยบายให้ประกาศพักชำระหนี้เป็นเวลาหนึ่งปี โดยเขาดูแลให้เกิดการสนับสนุนให้ประกาศพักชำระหนี้กว่า 15 ประเทศในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1931 แต่การประกาศพักชระหนี้ของฮูเวอร์ส่งผลกระทบน้อยมากต่อสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในทวีปยุโรป ส่วนเยอรมนีได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตการณ์ธนาคารครั้งใหญ่ ความพยายามสุดท้ายจึงถือกำเนิดขึ้นที่การประชุมโลซานน์ในปี ค.ศ. 1932 ซึ่งผู้แทนจากสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เยอรมนีและญี่ปุ่นได้เดินทางมาร่วมประชุม ในขณะนั้นในประจักษ์อย่างชัดเจนแล้วว่า เยอรมนีไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอย่างแน่อนจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ที่ประชุมได้ตกลงว่า:
หลังจากเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ประชุมระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 1953 ได้ตัดสินใจให้เยอรมนีชำระหนี้ค่าปฏิกรรมสงครามหลังจากที่ได้มีการรวมประเทศแล้ว ถึงกระนั้น รัฐบาลของเยอรมนีตะวันตกได้ชำระเงินต้นได้ทั้งหมดได้ภายในปี ค.ศ. 1980 และหลังจากที่ได้มีการรวมชาติเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1995 รัฐบาลใหม่ของเยอรมนีประกาศว่าจะชำระดอกเบี้ยที่เหลือทั้งหมด อ้างอิง
|