เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์
เฮอร์เบิร์ต คลาร์ก ฮูเวอร์ (อังกฤษ: Herbert Clark Hoover) (10 สิงหาคม 2417 – 20 ตุลาคม 2507) เป็นวิศวกร นักธุรกิจ และนักการเมืองชาวอเมริกันที่ได้ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 31 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 ถึง 1933 สมาชิกพรรคริพับลิกัน เขาได้เข้าทำงานในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ฮูเวอร์เป็นคณะกรรมาธิการสำหรับการบรรเทาทุกข์ในเบลเยียม ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการของสำนักงานคณะกรรมการอาหารสหรัฐ และทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐคนที่ 3 เกิดในครอบครัวที่นับถือนิกายเควกเกอร์ใน West Branch รัฐไอโอวา ฮูเวอร์ได้เข้ารับตำแหน่งกับบริษัททำเหมืองแร่ในกรุงลอนดอน หลังจากได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในปี ค.ศ. 1895 หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ลุกลามมากขึ้น เขาได้กลายเป็นหัวหน้าของคณะกรรมาธิการสำหรับการบรรเทาทุกข์ในเบลเยียม องค์กรบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศที่ได้แจกจ่ายอาหารในเบลเยียมที่ถูกยึดครอง เมื่อสหรัฐได้เข้าสู่สงคราม ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันได้แต่งตั้งเขาให้เป็นหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และฮูเวอร์ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในประเทศว่า"พระเจ้าซาร์แห่งอาหาร" หลังสงคราม, ฮูเวอร์ได้เป็นหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการบรรเทาทุกข์ของอเมริกา ซึ่งได้ทำการแจกจ่ายอาหารให้แก่ประชาชนในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก การทำหน้าที่ในช่วงสงครามของฮูเวอร์ได้ทำให้เขากลายเป็นที่โปรดปรานของเหล่าพวกหัวก้าวหน้าหลายคนและเขาไม่ประสบความสำเร็จในการเสนอชื่อของตนในพรรคริพับลิกันลงรับสมัครเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1920 ภายหลังการเลือกตั้ง ปี ค.ศ. 1920 ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งมาใหม่จากพรรคริพับลิกันอย่างวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง ได้แต่งตั้งให้ฮูเวอร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ฮูเวอร์ยังคงทำหน้าที่ต่อไปโดยอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีแคลวิน คูลิดจ์ ภายหลังจากฮาร์ดิงได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1923 ฮูเวอร์เป็นนักเคลื่อนไหวที่แปลกและสมาชิกคณะรัฐมนตรีที่มีความโดดเด่น กลายเป็นที่รู้จักกันคือ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และปลัดกระทรวงของทบวงอื่นๆทั้งหมด" เขาได้มีอิทธิพลในการพัฒนาวิทยุและการเดินทางโดยทางอากาศและได้เป็นผู้นำในการตอบสนองของรัฐบาลกลางถึงเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่รัฐมิสซิสซิปปี ฮูเวอร์ ได้รับชัยชนะในการนำเสนอชื่อของตนในพรรคริพับลิกันลงรับสมัครเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1928 และได้เอาชนะอย่างเด็ดขาดกับผู้สมัครเลือกตั้งจากพรรคแดโมแครต อัล สมิธ ตลาดหุ้นได้ล่มภายหลังจากฮูเวอร์เข้ารับตำแหน่งได้ไม่นานและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้กลายเป็นประเด็นที่สำคัญของการเป็นประธานาธิบดีของเขา ฮูเวอร์ติดตามนโยบายต่างๆมากมายในความพยายามที่จะยกระดับเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ได้รับการคัดค้านที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรัฐบาลกลางในความพยายามที่จะเยียวยา ในช่วงท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ฮูเวอร์ก็ได้พ่ายแพ้อย่างราบคาบให้กับผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตอย่างแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี ค.ศ. 1932 ฮูเวอร์ได้มีชีวิตอย่างเพลิดเพลินกับการเกษียณงานที่ยาวนานที่สุดมากกว่าประธานาธิบดีคนอื่นๆใดและเขาได้เขียนผลงานเอาไว้มากมาย ภายหลังจากลงจากตำแหน่ง ฮูเวอร์ได้กลายเป็นนักอนุรักษ์นิยมมากขึ้นและเขาได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อนโยบายต่างประเทศของโรสเวลต์และโครงการสัญญาใหม่ที่จะถูกนำมาใช้ภายในประเทศ ในปี ค.ศ. 1940 และ 1950 ชื่อเสียงของเขาได้รับการฟื้นฟูในขณะที่เขาทำงานให้กับประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนและดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ในตำแหน่งต่างๆที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงในฐานะที่เป็นประธานสำนักงานคณะกรรมฮูเวอร์(Hoover Commission) อย่างไรก็ตาม ฮูเวอร์ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในอันดับสูงสุดในอันดับประวัติศาตร์ของประธานาธิบดีสหรัฐ
|} |