Share to:

 

แผ่นจานทองคำของวอยเอจเจอร์

แผ่นจานทองคำของวอยเอจเจอร์
ปกแผ่นจานทองคำของวอยเอจเจอร์
จุดติดตั้งแผ่นจานบนยานวอยเอจเจอร์ (มุมซ้ายของภาพ)

แผ่นจานทองคำของวอยเอจเจอร์ คือแผ่นบันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจอวกาศ 2 ลำ (ยานวอยเอจเจอร์ 1 และวอยเอจเจอร์ 2) ภายใต้โครงการวอยเอจเจอร์ที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1977 [1] ภายในบันทึกภาพและเสียงที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของชีวิตและวัฒนธรรมบนโลก สำหรับสิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือมนุษย์ในอนาคตที่อาจค้นพบ แผ่นจานทองคำจัดเป็นแคปซูลเวลาชนิดหนึ่ง

ปัจจุบัน ยานสำรวจวอยเอจเจอร์ 1 ที่มีแผ่นจานทองคำฯ ติดอยู่เป็นวัตถุที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นที่อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด ซึ่งยานฯ นี้ได้เดินทางถึง interstellar space หรือ อวกาศที่อยู่ระหว่างดาวฤกษ์แล้ว [2] และแม้ว่ายานสำรวจทั้งสองจะไม่มุ่งหน้าไปยังดาวฤกษ์ใดเป็นการเฉพาะ แต่อีกประมาณ 40,000 ปี ยานวอยเอจเจอร์ 1 จะอยู่ห่างจากดาว Gliese 445 ในกลุ่มดาวยีราฟ ในระยะ 1.6 ปีแสง [3]

คาร์ล เซแกน ประธานคณะทำงานคัดเลือกเนื้อหากล่าวว่า "ยานอวกาศจะถูกพบและบันทึกจะถูกเล่นเฉพาะในกรณีที่มีอารยธรรมท่องอวกาศขั้นสูงในพื้นที่ระหว่างดวงดาว แต่การปล่อย 'ขวด' นี้ลงใน 'มหาสมุทร' ของจักรวาลอธิบายถึงบางสิ่งที่มีความหวังอย่างมากเกี่ยวกับชีวิตบนโลกใบนี้" (The spacecraft will be encountered and the record played only if there are advanced space-faring civilizations in interstellar space, but the launching of this 'bottle' into the cosmic 'ocean' says something very hopeful about life on this planet.) [4]

เนื้อหา

เนื้อหาของบันทึกนี้ถูกคัดเลือกโดยนาซา ซึ่งมีคณะกรรมการที่คาร์ล เซแกน จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล เป็นประธาน ได้คัดเลือกเนื้อหาสำหรับบันทึกเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี เซแกนและผู้ร่วมงานของเขาได้รวบรวม 116 ภาพที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ สิ่งมีชีวิต มนุษย์ สถานที่ วิถีชีวิต และยังมีเสียงธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น ลม ฟ้าร้อง สัตว์ (รวมถึงเพลงของนกและวาฬ) และเครื่องจักรต่าง ๆ ในการนี้พวกเขาเพิ่มเนื้อหาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ คำทักทายพูดจาก 55 ภาษาโบราณและภาษาสมัยใหม่ เสียงอื่น ๆ ของมนุษย์ เช่น เสียงฝีเท้าและเสียงหัวเราะ ข้อความในรหัสมอร์ส และการเลือกดนตรีจากวัฒนธรรมและยุคต่าง ๆ บันทึกคลื่นสมองของมนุษย์ และคำแถลงการณ์ของประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์

ในส่วนของสื่อจากประเทศไทยมีถ้อยคำทักทายภาษาไทย โดย รุจิรา เมนดิโอเนส[5][6] ภาพชายชาวไทยที่เป็นช่างแกะสลักไม้ซึ่งกำลังแกะสลักรูปช้าง และภาพรถติดในกรุงเทพมหานคร บริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี

ตัวอย่างข้อความเสียงที่บันทึก

สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น พวกเราในธรณีนี้ขอส่งมิตรจิตมา­ถึงท่านทุกคน

— บันทึกเสียงคำทักทายภาษาไทย โดย รุจิรา เมนดิโอเนส ศาสตราจารย์ภาษาไทย ในสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยคอร์เนล[7]


As the Secretary General of the United Nations, an organizations of the 147 member states who represent almost all of the human inhabitants of the planet earth, I send greetings on behalf of the people of our planet. We step out of our solar system into the universe seeking only peace and friendship, to teach if we are called upon, to be taught if we are fortunate. We know full well that our planet and all its inhabitants are but a small part of the immense universe that surrounds us and it is with humility and hope that we take this step.

แปล: ในฐานะเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรของ 147 รัฐสมาชิกอันเป็นผู้แทนของมนุษย์เกือบทุกคนในดาวโลกนี้ ข้าพเจ้าขอส่งคำทักทายในนามของผู้คนในดวงดาวของเรา เราได้ก้าวออกจากระบบสุริยะของเราเข้าสู่เอกภพเพียงเพื่อแสวงหาสันติภาพและมิตรไมตรี เพื่อสอนถ้าเราได้รับการร้องขอ เพื่อถูกสอนหากเราโชคดี เรารู้ดีว่าดาวเคราะห์ของพวกเราและผู้อยู่อาศัยทั้งมวลเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของจักรวาลอันยิ่งใหญ่ที่ห้อมล้อมเราไว้ ดังนั้นด้วยความนอบน้อมและความหวังเราจึงก้าวเข้าสู่ขั้นตอนนี้

แถลงการณ์จากประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์

This Voyager spacecraft was constructed by the United States of America. We are a community of 240 million human beings among the more than 4 billion who inhabit the planet Earth. We human beings are still divided into nation states, but these states are rapidly becoming a global civilization.
We cast this message into the cosmos. It is likely to survive a billion years into our future, when our civilization is profoundly altered and the surface of the Earth may be vastly changed. Of the 200 billion stars in the Milky Way galaxy, some -- perhaps many -- may have inhabited planets and space faring civilizations. If one such civilization intercepts Voyager and can understand these recorded contents, here is our message:
This is a present from a small distant world, a token of our sounds, our science, our images, our music, our thoughts, and our feelings. We are attempting to survive our time so we may live into yours. We hope some day, having solved the problems we face, to join a community of galactic civilizations. This record represents our hope and our determination and our goodwill in a vast and awesome universe.

แปล: ยานอวกาศวอยเอจเจอร์ลำนี้สร้างขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา พวกเราเป็นประชาคมของมนุษย์ 240 ล้านชีวิต จากผู้คนมากกว่า 4 พันล้านคน ที่อาศัยในดาวโลก มนุษย์เรายังแยกออกกันเป็นรัฐชาติ แต่รัฐเหล่านี้กำลังกลายเป็นอารยธรรมโลกอย่างรวดเร็ว
เราได้ทิ้งข้อความนี้ไปในเอกภพ มีแนวโน้มที่จะอยู่รอดไปอีกพันล้านปีในอนาคตของเรา เมื่ออารยธรรมเราเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งและพื้นผิวโลกอาจเปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก จากดวงดาว 2 แสนล้านดวง ในดาราจักรทางช้างเผือก ประมาณว่า --เป็นไปได้มาก-- ที่จะมีดาวเคราะห์อันเหมาะแก่การอยู่อาศัยและมีอารยธรรมท่องอวกาศ หากหนึ่งอารธรรมเช่นนี้สกัดกั้นวอยเอจเจอร์และสามารถเข้าใจเนื้อหาที่บันทึกไว้เหล่านี้ นี่คือข้อความของพวกเรา:
นี่คือของขวัญจากโลกใบเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกลแห่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งจากเสียงของเรา วิทยาศาสตร์ของเรา ภาพของเรา ดนตรีของเรา ความคิดของเรา และความรู้สึกของเรา พวกเรากำลังพยายามเอาชีวิตให้รอดในช่วงเวลาของเรา เพื่อที่เราจะได้มีโอกาสใช้ชีวิตในช่วงเวลาของท่าน พวกเราหวังว่าสักวันจะแก้ปัญหาที่เราเผชิญได้ เพื่อเข้าร่วมประชาคมของอารยธรรมดาราจักร บันทึกนี้แสดงถึงความปรารถนาของเรา ปณิธานของเรา และไมตรีจิตของเรา ในจักรวาลอันกว้างใหญ่และน่าเกรงขาม

ตัวอย่างภาพ

โลก และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ดาวพฤหัสบดี หนึ่งในดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
ดาวพฤหัสบดี หนึ่งในดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 
การเลีย กิน และดื่ม ซึ่งเป็นวิธีรับสารอาหารของมนุษย์
การเลีย กิน และดื่ม ซึ่งเป็นวิธีรับสารอาหารของมนุษย์ 
หอดูดาวอาเรซิโบ และขนาดเครื่องรับสัญญาณ
หอดูดาวอาเรซิโบ และขนาดเครื่องรับสัญญาณ 
หน้า 6 จากหนังสือ หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ เล่มที่ 3 ระบบของโลก โดย ไอแซก นิวตัน
หน้า 6 จากหนังสือ หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ เล่มที่ 3 ระบบของโลก โดย ไอแซก นิวตัน 
ภาพถ่ายบริเวณอียิปต์ ทะเลแดง คาบสมุทรไซนาย และแม่น้ำไนล์จากวงโคจร พร้อมทั้งคำอธิบายองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศโลก
ภาพถ่ายบริเวณอียิปต์ ทะเลแดง คาบสมุทรไซนาย และแม่น้ำไนล์จากวงโคจร พร้อมทั้งคำอธิบายองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศโลก 

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Lafrance, Adrienne (30 June 2017). "Solving the Mystery of Whose Laughter Is On the Golden Record". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  2. "NASA Spacecraft Embarks on Historic Journey Into Interstellar Space". NASA. September 12, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ April 15, 2014.
  3. "Voyager – Interstellar Mission". Jet Propulsion Laboratory. NASA. January 25, 2010.
  4. "Voyager – Golden Record". NASA. สืบค้นเมื่อ September 23, 2010.
  5. นามเดิม "รุจิรา ชินพงศ์" บัณฑิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 8 สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2485 ขณะบันทึกเสียง เธอมีอายุ 59 ปี
  6. "The Sound of Earth" คำทักทายจากดาวโลกถึงใครสักคนในห้วงอวกาศไกลโพ้น
  7. https://spaceth.co/voyager-thai-voice/
  • Originally based on public domain text from the NASA website, where selected images and sounds from the record can be found.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya