Share to:

 

แม่น้ำจินชา

แม่น้ำจินชา
แยงซี/ฉางเจียง (长江)
แม่น้ำจินชาไหลไปตามช่องเขาเสือกระโจน
แผนที่ของที่ราบลุ่มแม่น้ำจินชา
ที่มาของชื่อภาษาจีน: "แม่น้ำทรายทอง"[1]
ชื่อท้องถิ่น金沙江
ที่ตั้ง
ประเทศจีน
มณฑลชิงไห่, เขตปกครองตนเองทิเบต, ยูนนาน, เสฉวน
นครลี่เจียง มณฑลยูนนาน, พานจือฮฺวา
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำแม่น้ำทงเทียน
 • ตำแหน่งจุดบรรจบของแม่น้ำทงเทียนและแม่น้ำปาถางในมณฑลชิงไห่
 • พิกัด34°5′38.8″N 92°54′46.1″E / 34.094111°N 92.912806°E / 34.094111; 92.912806
 • ระดับความสูง4,500 เมตร (14,800 ฟุต)
ปากน้ำแม่น้ำแยงซี
 • ตำแหน่ง
จุดบรรจบกับแม่น้ำหมินที่นครอี๋ปิน มณฑลเสฉวน
 • พิกัด
28°46′13.4″N 104°37′58.1″E / 28.770389°N 104.632806°E / 28.770389; 104.632806
 • ระดับความสูง
300 เมตร (980 ฟุต)
ความยาว
  • ประมาณ 2,290 กิโลเมตร (1,420 ไมล์)
  • ความยาวทั้งมดรวมแม่น้ำทงเทียน 3,292 กิโลเมตร (2,046 ไมล์)
พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 485,000 km2 (187,000 sq mi)
อัตราการไหล 
 • เฉลี่ย4,471 m3/s (157,900 cu ft/s)
 • สูงสุด35,000 m3/s (1,200,000 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ลำดับแม่น้ำแม่น้ำแยงซีทะเลจีนตะวันออก
ระบบแม่น้ำแอ่งแม่น้ำแยงซี
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำหย่าหลง
 • ขวาแม่น้ำผู่ตู้, แม่น้ำต๋าต้าน, แม่น้ำเสี่ยวเจียง, แม่น้ำหนิวหลาน

แม่น้ำจินชา (จีน: 金沙江; พินอิน: Jīnshājiāng; แปลตรงตัว: "แม่น้ำทรายทอง"[1] ทิเบต: Dri Chu, འབྲི་ཆུ, อี๋: ꀉꉷꏁꒉ, อักษรโรมัน: Axhuo Shyxyy) หรือแม่น้ำหลู (จีน: 瀘水; พินอิน: Lúshuǐ) เป็นชื่อภาษาจีนที่ใช้เรียกตอนบนของแม่น้ำแยงซี ไหลผ่านมณฑลชิงไห่, เสฉวน และยูนนานทางภาคตะวันตกของประเทศจีน แม่น้ำจินชาไหลผ่านช่องเขาเสือกระโจน

บางครั้งแม่น้ำจินชาถูกจัดกลุ่มรวมกับแม่น้ำหลานชาง (แม่น้ำโขงตอนบน) และแม่น้ำนู่ (แม่น้ำสาละวินตอนบน) ในฐานะพื้นที่ซานเจียง (三江 "สามแม่น้ำ")[2] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน

แม่น้ำจินชามีความสำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำ และมีสถานีพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งบนแม่น้ำจินชา

ชื่อ

แม่น้ำจินชาได้รับการบันทึกครั้งแรกใรชื่อ เฮย์ (黑水, Hēishuǐ, แปลว่า "น้ำดำ") ในยฺหวี่ก้งของยุครณรัฐ ได้รับการกล่าวถึงในชื่อ เชิ่ง (จีน: 绳水; พินอิน: Shéngshuǐ, "แม่น้ำเชือก") ในชานไห่จิงของยุคราชวงศ์ฮั่น ในยุคสามก๊ก แม่น้ำจินชาเป็นที่รู้จักในชื่อ หลู (จีนตัวย่อ: 泸水; จีนตัวเต็ม: 瀘水; พินอิน: Lúshuǐ)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Little, Archibald. The Far East, p. 63. 1905. Reprint: Cambridge Univ. Press (Cambridge), 2010. Accessed 13 August 2013.
  2. E.g., in the "Annual Report of the Chinese Academy of Geological Research", p. 24. Geological Publishing House, 1994.
Kembali kehalaman sebelumnya