โค้ด กีอัส ไฟล์:Code Geass.jpg コードギアス 反逆のルルーシュ (Kōdo Giasu: Hangyaku no Rurūshu )แนว เมฉะ, เหนือธรรมชาติ, สงคราม, การเมือง
อนิเมะโทรทัศน์ โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช กำกับโดย โกะโร ทะนิงุชิ อำนวยการสร้างโดย ฮิโระชิ โมะโระโตะมิ โยะชิตะกะ คะวะงุชิ ทะกุโอะ มิเนะงิชิ อะสึชิ ยุกะวะ เขียนบทโดย อิชิโร โอโกชิ ดนตรีโดย โคตะโร นะกะงะวะ สตูดิโอ ซันไรส์ เครือข่าย JNN (MBS ), Animax ฉาย 5 ตุลาคม 2549 – 28 กรกฎาคม 2550 ตอน 25
อนิเมะโทรทัศน์ โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2 กำกับโดย โกะโร ทะนิงุชิ อำนวยการสร้างโดย Hiroshi Morotomi Yoshitaka Kawaguchi Takuo Minegishi Atsushi Yukawa เขียนบทโดย อิชิโร โอโกชิ ดนตรีโดย โคตะโร นะกะงะวะ สตูดิโอ ซันไรส์ เครือข่าย JNN , Animax ฉาย 6 เมษายน 2551 – 28 กันยายน 2551 ตอน 25
โอวีเอ โค้ด กีอัส อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ กำกับโดย คะซุกิ อะกะเนะ เขียนบทโดย ฮิโระชิ โอโนะงิ ชิเงะรุ โมะริตะ ดนตรีโดย อิชิโกะ ฮะชิโมะโตะ สตูดิโอ ซันไรส์ ฉาย 4 สิงหาคม 2555 – 6 กุมภาพันธ์ 2559 ตอน 5
อนิเมะโทรทัศน์ โค้ด กีอัส ภาคการฟื้นคืนชีพของลูลูช สตูดิโอ ซันไรส์
โอเอ็นเอ โค้ด กีอัส ภาคการเอาคืนของโรเซ่ กำกับโดย ฮิโรชิ โมโรโตมิ โยชิทากะ คาวากุจิ ทาคุโอะ มิเนกิชิ
อัตสึชิ ยูคาวะ อำนวยการสร้างโดย โยชิมิตสึ โอฮาชิ เขียนบทโดย โนโบรุ คิมูระ สตูดิโอ ซันไรส์ ฉาย 1 พฤษภาคม 2567 – 6 กันยายน 2567 ตอน 12
โค้ด กีอัส (ญี่ปุ่น : コードギアス , อังกฤษ : CODE GEASS ) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นสร้างโดยบริษัทซันไรส์ กำกับโดยโกะโร ทะนิงุชิ เขียนบทโดยอิชิโร โอโกชิ และออกแบบตัวละครโดยแคลมป์ โดยโฟกัสไปที่ ทำอย่างไรที่อดีตเจ้าชาย ลูลูช วี บริแทนเนีย ซึ่งได้พลังเหนือธรรมชาติอย่างกีอัสมาครอบครอง จะใช้พลังที่ได้รับมาอย่างไรเพื่อทำลายจักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นชาติอภิมหาอำนาจ ที่แผ่ขยายอาณาเขตอย่างไพศาลให้สิ้นซาก
ภาคแรกมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่าง 5 ตุลาคม 2549 ถึง 28 กรกฎาคม 2550 และภาคที่สองที่มีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2 ออกอากาศระหว่าง 6 เมษายน 2551 ถึง 28 กันยายน 2551 จากกระแสตอบรับที่ล้นหลามทำให้เกิดเป็นมังงะ และไลต์โนเวล ออกมาอีกจำนวนมากซึ่งมีเนื้อเรื่องแยกจากฉบับอนิเมะ ในมหกรรมฉลองครบรอบ 10 ปีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 อนิเมะเรื่องนี้จะถูกทำเป็นฉบับไตรภาค โดยภาคที่สามมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการฟื้นคืนของลูลูช ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ไม่กี่ปีหลังจากภาคก่อนหน้า[ 1] ผู้กำกับได้ออกมาเปิดเผยว่าในภาคใหม่นี้ก็จะยังคงมีลูลูชตัวเป็นๆเป็นตัวละครเอก[ 2] [ 3]
อนิเมะเรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก เฉพาะในญี่ปุ่นสามารถขาย DVD และ Blu-ray ได้มากกว่าล้านแผ่น และยังชนะรางวัลมากมายในมหกรรมต่างๆอย่าง งาน Tokyo International Anime Fair, งาน Animage Anime Grand Prix และงาน Animation Kobe
เนื้อเรื่อง
ประวัติศาสตร์ใน โค้ด กีอัส
โค้ด กีอัส ดำเนินเรื่องราวอยู่บนโลกที่มีประวัติศาสตร์ที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ สาธารณรัฐโรมัน ในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ ในโลกของโค้ด กีอัส สามารถยึดและปกครองเกาะอังกฤษสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยจักรพรรดิเอากุสตุส โรมันก็ต้องเสียเกาะอังกฤษไปเมื่ออัลวินที่ 1 แห่งชาวเคลต์ ได้นำไพร่พลเข้าปลดแอกเกาะอังกฤษจากการปกครองของโรมันได้สำเร็จ อัลวินได้ขึ้นเป็นกษัตริย์คนแรกของชาวเคลต์ และถือเป็นจุดเริ่มต้นศักราช a.t.b. (Ascention Throne Britannia - "สถาปนาราชบัลลังก์บริแทนเนีย")
ถัดจากนั้นจนมาถึงศตวรรษที่ 17 รัชสมัยพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 1 ผู้ซึ่งครองพระองค์เป็นโสดกลับให้ประสูติกาลพระโอรส ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นบิดามีอยู่สามคนคือ เซอร์โรเบิร์ต ดัดลีย์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเลสเตอร์, เซอร์โรเบิร์ต เดเวอรู เอิร์ลที่ 2 แห่งเอสเซกซ์ และเซอร์คาร์ล ดยุกแห่งบริแทนเนีย ในเวลาต่อมาพระโอรสองค์นั้นก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 9 แห่งอังกฤษ และเป็นการเปิดฉากยุคทองของราชวงศ์ทิวดอร์
ต่อมาในปี 1776 ฝรั่งเศสเป็นผู้สนับสนุนแก่อาณานิคมอเมริกาในการก่อกบฏของจอร์จ วอชิงตัน เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ แต่ เซอร์ ริคาร์โด ดยุกแห่งบริแทนเนีย ได้ติดสินบนแก่เบนจามิน แฟรงคลิน ให้ยุติรับการสนับสนุนดังกล่าวแลกกับจะได้ยศเป็นเอิร์ลปกครองนิคมอเมริกา ต่อมา ทหารอังกฤษเข้าล้อมปิดล้อมยอร์กทาวน์ ซึ่งจอร์จ วอชิงตัน แม่ทัพของกองทัพภาคพื้นทวีปได้เสียชีวิตในศึกครั้งนี้ ทำให้อเมริกาขาดผู้นำในการเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ
ปลายศตวรรษที่ 18 ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคแห่งปฏิวัติ การปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์เกิดขึ้นในทุกชาติ โดยเริ่มจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสได้ยกเลิกการใช้ปฏิทินเกรโกเรี่ยนไปในคราวนั้น และหันมาใช้ปฏิทินปฏิวัติแทนที่ การปฏิวัติแพร่กระจายไปทุกที่ ยกเว้นอังกฤษในการปกครองของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 10 ซึ่งยังทรงรักษาพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไว้ได้ ต่อมา นโปเลียน โบนาปาร์ต ทำสงครามยึดครองยุโรป นโปเลียนมีชัยในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ กองทัพของนโปเลียนยกพลขึ้นรุกรานเกาะอังกฤษ ต่อมาในปี 1807 พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สาม ถูกทหารอาสาฝ่ายสาธารณรัฐนิยมจับกุมได้ในเอดินบะระ และทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบกษัตริย์ในอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เซอร์ริคาร์โด ฟอน บริแทนเนีย ดยุกแห่งบริแทนเนีย พร้อมกับเซอร์ ริชาร์ด เฮกเตอร์ ไนท์ออฟวัน ได้พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สามและผู้ติดตามไปสร้างประเทศใหม่ที่แผ่นดินอเมริกา ในขณะที่หมู่เกาะอังกฤษถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอียู ต่อมาในปี a.t.b. 1813 พระนางเจ้าเอลิซาเบธที่สาม ได้ประกาศให้สวามีคือ เซอร์ ริคาร์โด ดยุกแห่งบริแทนเนีย ขึ้นครองบัลลังก์ต่อไปหลังการสวรรคตของพระนาง
ในส่วนของทางฝั่งยุโรปนั้น หลังจากที่นโปเลียน โบนาปาร์ตได้ทำการพิชิตหมู่เกาะบริติชแล้ว ก็ได้เกิดยุทธการที่วอเตอร์ลู ขึ้นในปี a.t.b. 1821 ซึ่งนโปเลียนพ่ายแพ้ และเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน โดยเขาถูกประหารด้วยกิโยตีน เนื่องจากความเกรงกลัวว่าเขาจะสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ และกลายเป็นทรราช แต่ก็มีข่าวลือกันว่าเขาอาจจะเสียชีวิตจากการลอบวางยาพิษจากมือสังหารของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่สาม ระหว่างเดินทางกลับไปยังฝรั่งเศส
ภาคการปฏิวัติของลูลูช
โลกถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้วอำนาจหลัก ได้แก่ จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์, สหพันธ์จีน (ภายหลังกลายเป็นสหรัฐจีน) และ สหภาพยุโรป (หรือสหพันธ์ยุโรป) เรื่องราวเริ่มดำเนินขึ้นเมื่อบริแทนเนียใช้ "อัศวินหุ้มเกราะอันโนมัติ" หรือที่เรียกว่า ไนท์แมร์เฟรม เข้ายึดครองประเทศญี่ปุ่นในปี 2010 และตั้งญี่ปุ่นเป็น "แอเรีย 11" และพลเมืองญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "อีเลฟเว่น"
ลูลูช แลมเพอรูจ เป็นเจ้าชายบริแทนเนียซึ่งถูกเนรเทศมายังญี่ปุ่นเพื่อเป็นเครื่องต่อรองทางการเมืองของจักรวรรดิ์ เขาถูกส่งไปพร้อมกับน้องสาว นานาลี วี บริแทนเนีย โดยพระบัญชาของพระบิดา จักรพรรดิชาลส์ ซี บริแทนเนีย โดยภายหลังจากที่แม่ของพวกเขา พระนางมารีแอน วี บริแทนเนีย ถูกลอบสังหารในวังหลวง ซึ่งนานาลีที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจจนดวงตามิอาจมองเห็นได้และไม่สามารถเดินได้ ซึ่งกลายเป็นภาระของลูลูชที่จะต้องคอยดูแลน้องสาวสุดที่รักเพียงคนเดียวของเขาแม้แต่ในช่วงที่ญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะสงครามกับบริแทนเนีย ภายหลังสงครามสิ้นสุด ญี่ปุ่นเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง เขาก็ได้สาบานกับเพื่อนชาวญี่ปุ่นของเขา คุรุรุกิ สุซาคุ ว่าซักวันหนึ่งจะล้มล้างบริแทนเนียให้ได้ ในขณะที่เชื้อพระวงศ์องค์อื่นๆคิดว่าลูลูชและน้องสาวได้ตายไปในสงครามครั้งนั้นแล้ว
7 ปีต่อมา ลูลูชที่เป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนมัธยมแอชฟอร์ดในแอเรีย 11 โดยใช้ชื่อปลอมว่า ลูลูช แลมเพอรูจ โดยอยู่ในอุปการะของตระกูลแอชฟอร์ด ตระกูลขุนนางของบริแทนเนีย จนในวันหนึ่ง ลูลูชเข้าไปติดพนันในที่เกิดเหตุ การก่อการร้าย และได้พบกับผู้หญิงปริศนาที่ชื่อว่า ซีทู (C.C.) ซึ่งเข้ามาช่วยชีวิตเขาไว้จากทหารบริแทนเนีย เธอทำสัญญากับลูลูชโดยจะมอบพลังที่มีชื่อว่ากีอัส หรือที่เรียกกันว่า "พลังแห่งราชันย์" เป็นพลังที่เขาสามารถสั่งการและบงการทุกคนที่โดนพลังนี้เข้าไปให้ทำตามคำสั่งของเขาได้ทุกอย่าง แม้กระทั่งสั่งให้ฆ่าตัวตาย โดยมีเงื่อนไขการใช้งานว่าฝ่ายตรงข้ามจะต้องสบตากับลูลูชเท่านั้นกีอัสถึงจะมีผลใช้งาน ลูลูชได้ตัดสินใจใช้พลังกีอัสนี้ในการทำลายจักรวรรดิบริทาเนีย และสร้างโลกที่อ่อนโยนอย่างที่นันนาลี่ต้องการจะให้เป็น โดยเขากลายเป็นบุรุษปริศนาสวมหน้ากากโดยใช้ชื่อว่า ซีโร่ และเป็นผู้นำขององค์กรติดอาวุธในชื่อว่า "ภาคีอัศวินดำ" ขึ้นมาต่อกรกับจักรวรรดิบริแทนเนีย และเนื่องจากเพื่อนรักของเขา ซูซาคุก็เข้าเป็นอัศวินของจักรวรรดิบริแทนเนีย และเป็นเหตุที่ให้ทั้งสองต้องกลายมาเป็นศัตรูกันในภายหลัง
อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ
โค้ด กีอัส อากิโตะผู้ถูกเนรเทศ เป็นภาคเสริมแบบฉายโรง มีทั้งหมด 5 ตอน เนื้อเรื่องในภาคนี้อยู่ในระหว่างโค้ดกีอัสในภาคแรกและภาค R2 เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นนาม ฮีวงะ อากิโตะ ซึ่งเป็นทหารในกองทัพสหพันธ์ยุโรปและทำสงครามกับยูโรบริแทนเนีย ในภาคนี้ลูลูชที่สูญเสียความทรงจำได้ปรากฏตัวในชื่อ จูเลียส คิงส์เลย์ เป็นเสนาธิการที่ทางจักรพรรดิชาลส์ส่งมาเพื่อบัญชากองทัพยูโรบริแทนเนีย โดยมีสุซาคุในฐานะไนท์ออฟราวด์คอยตามประกบลูลูช
ดินแดน
แผนที่แสดงขั้วอำนาจโลกในปี a.t.b. 2010 สหพันธรัฐจีน
สหพันธ์ยุโรป
ในโลกของกีอัส มีมหาอำนาจอยู่สามฝ่าย คือ จักรวรรดิบริแทนเนีย อันศักดิ์สิทธิ์, สหพันธ์รัฐจีน และ สหพันธ์ยุโรป เป็นโลกสามอภิรัฐ คล้ายกับแนวคิดในนวนิยายชื่อดังของจอร์จ ออร์เวลล์ เรื่อง หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Britannian Empire) จักรวรรดิที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ในซีซั่นแรก จักรวรรดิครอบครองทวีปอเมริกาทั้งหมด รวมทั้งนิวซีแลนด์ โอเชียเนีย และญี่ปุ่น รวมแล้วเป็นพื้นที่ถึงหนึ่งในสามของโลกและในตอนที่ 6 ตะวันออกกลางจึงถูกจัดตั้งเป็น Area 18 โดย เจ้าหญิงคอร์เนเลีย ในซีซั่นที่ 2 องค์ชายชไนเซล นำกองทัพเข้ายึดสหพันธ์ยุโรปได้ครึ่งหนึ่ง มีนครหลวงชื่อเพนดรากอน ปกครองแบบแบ่งชนชั้นฐานันดรศักดิ์ แบบระบอบอภิชนาธิปไตย
ยูโรบริแทนเนีย (Euro Britannia) จัดตั้งขึ้นหลังบริแทนเนียสามารถยึดยุโรปได้ มีเมืองหลวงอยู่ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ปกครองด้วยระบอบขุนนาง มีประมุขรัฐบาลคืออาร์ชดยุกแห่งเวแลนซ์ แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของบริทาเนียแต่ก็ค่อนข้างมีอิสระในการปกครองตนเอง ทำให้ขุนนางบางส่วนในยูโรบริทาเนียมีความคิดที่จะแยกตัวจากบริทาเนียแผ่นดินแม่
สาธารณรัฐบริทาเนีย เป็น รัฐผู้สืบทอด ของ จักรวรรดิบริทาเนีย (ไม่นับ อาณานิคม ทั้งหมด) หลังการล่มสลายของ จักรวรรดิบริทาเนีย โดยมี ชไนเซล เอล บริทาเนีย เป็น ประธานาธิบดีคนแรก และ คนปัจจุบัน
นีโอบริทาเนีย (NEO Britannia) จัดตั้งขึ้นบน เกาะฮอกไกโด หลังการล่มสลาย ของ จักรวรรดิบริทาเนีย ปกครองทางนิตินัยโดย จักรพรรดิ อันดับที่ 100 คาริส อัล บริทาเนีย (เสียชีวิต) และ จักรพรรดินีนาถ อันดับที่ 101 สุเมรากิ เม บริทาเนีย (หลานสาวของน้า ลูลูช และ นานาลี) ภายใต้ การปกครองทางพฤตินัย โดย ภาคีอัศวิน ไอน์เบิร์น
สหพันธรัฐจีน (The Chinese Federation) กินพื้นที่เอเชียตะวันออก (ไม่นับญี่ปุ่น) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ เมืองหลวงคือ นครต้องห้าม ลั่วหยาง ลักษณะการปกครองแบบคณาธิปไตย มีองค์จักรพรรดินีเทียนจื่อเป็นสัญลักษณ์ เศรษฐกิจจะเป็นการแบ่งสันปันส่วนทรัพยากร เนื่องจากสหพันธ์จีน เป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
สหพันธ์ยุโรป (The Euro Universe) เป็นสหพันธ์ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย กินพื้นที่ในทวีปยุโรปทั้งหมด (ไม่นับหมู่เกาะอังกฤษ) รวมทั้ง แอฟริกา และรัสเซียด้วย มีความขัดแย้งกับจักรวรรดิบริแทนเนียมาช้านาน เพราะจักรพรรดินโปเลียนสามารถยกทัพยึดเกาะอังกฤษได้ ทำให้อังกฤษต้องย้ายถิ่นฐานไปยังทวีปอเมริกาซึ่งต่อมาก็คือ จักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์ ในภาคที่สอง ชาติในสหพันธ์ยุโรปอย่าง สเปน,โปรตุเกส,ฝรั่งเศส,แอฟริกาฝั่งตะวันตก,ซาฮาราถึงอียิปต์ ประกาศยอมแพ้ต่อจักรวรรดิบริแทนเนีย แต่มีบางชาติไม่ยอม เช่น อิตาลี โปแลนด์ ได้เข้าร่วมสมคบคิดกับซีโร่ ก่อตั้ง องค์การสหพันธ์ประชาชาติ (มหาสหพันธรัฐ)
ญี่ปุ่น ประเทศที่ถูกบริแทนเนียยึดครองในสงครามแปซิฟิกครั้งที่ 2 โดยความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างบริแทนเนียกับญี่ปุ่น โดยบริแทนเนียอ้างถึงความปลอดภัยของลูลูชและนานาลี่ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการเข้ายึดครองประเทศ แต่จุดประสงค์หลักคือ ญี่ปุ่นมีแร่ซากุระไดต์มาก ถึง 70% ของโลก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของไนท์แมร์แฟรม และเป็นฐานที่มั่นในการขยายอิทธิพลเข้าสู่สหพันธ์จีน ญี่ปุ่นประเทศที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "แอเรีย 11" ชาวญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "อีเลฟเว่น" ในการแบ่งถิ่นที่อยู่อาศัยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบการปกครองคือ
เขตนิคม เป็นเขตที่อยู่อาศัยของผู้มีสัญชาติบริแทนเนีย หากชาวอีเลฟเว่นที่จะย้ายเข้ามาอาศัยในเขตนี้จะต้องไปขึ้นทะเบียนที่หน่วยปกครอง อีเลฟเว่นผู้นั้นจะถูกเลื่อนสถานะเป็น "ชาวบริแทนเนียกิตติมศักดิ์" (Honorary Britannian) ซึ่งถึงแม้จะมีฐานะเท่าชาวบริแทนเนีย แต่ด้วยการที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงคราม ทำให้คนญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นอีเลฟเว่นหรือชาวบริแทนเนียกิตติมศักดิ์มีฐานะด้อยกว่าชาวบริแทนเนียเสมอ
เก็ตโต เป็นเขตเสื่อมโทรมที่ไม่ได้รับการดูแลจากบริแทนเนีย เป็นแหล่งที่อยู่ของชาวอีเลฟเว่นที่รักในศักดิ์ศรี มักเป็นแหล่งกบดานของกลุ่มต่อต้านจักรวรรดิ
อินเดีย หนึ่งในชาติสมาชิกของสหพันธ์จีน ที่ต้องการแยกตัวออกจากสหพันธ์จีน โดยร่วมมือกับภาคีอัศวินดำในการก่อกบฏที่ญี่ปุ่น ตั้งแต่ส่งอาวุธ รวมทั้งทีมนักวิทยาศาสตร์ของรัคชาตะ มาพัฒนาอาวุธ
องค์การสหพันธ์ประชาชาติ (The United Federation of Nations) หรือ มหาสหพันธรัฐ เกิดจากกลุ่มประเทศที่ต่อต้านจักรวรรดิบริแทนเนียอันศักดิ์สิทธิ์มารวมตัวกัน คือ กลุ่มสหพันธ์ยุโรปบางส่วนที่ไม่ยอมรับการประกาศยอมแพ้ สหพันธ์จีน สหพันธ์ญี่ปุ่นและภาคีอัศวินดำ โดยซีโร่เป็นคนดำเนินการ ทำให้สมดุลอำนาจเปลี่ยนเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจักรวรรดิและฝ่ายต่อต้านจักรวรรดิ โดยการ vote จะใช้จำนวนตัวแทนตามสัดส่วนประชากร หากบริทาเนียเข้าร่วม (ซึ่งรวมประเทศอาณานิคม) จักรวรรดิจะเข้าครอบงำสหพันธ์ทันที
รายชื่อตอน
ภาคการปฏิวัติของลูลูช
ตอน
ชื่อตอนฉบับภาษาไทย (ชื่อตอนฉบับภาษาญี่ปุ่น)
ผู้กำกับ
ออกอากาศในญี่ปุ่นเมื่อ[ 4]
อ้างอิง
1
วันที่จอมมารถือกำเนิด (魔神が生まれた日) Jun Shishido 5 ตุลาคม 2549 [ 5]
2
อัศวินสีขาวตื่นจากนิทรา (覚醒の白き騎士) Masato Miyoshi 13 ตุลาคม 2549 [ 6] [ 7]
3
เพื่อนร่วมชั้นจอมปลอม (偽りのクラスメイト) Kazuya Murata 20 ตุลาคม 2549 [ 8] [ 9]
4
นามนั้นคือ "ซีโร่" (その名はゼロ) Kazuo Miyake 27 ตุลาคม 2549 [ 10] [ 11]
5
รัชทายาทหญิงกับมารร้าย (皇女と魔女) Satoshi Toba 3 พฤศจิกายน 2549 [ 12] [ 13]
6
หน้ากากที่ถูกช่วงชิง (奪われた仮面) Hiroaki Kudō 10 พฤศจิกายน 2549 [ 14] [ 15]
7
กำจัดคอร์เนเลียซะ! (コーネリアを撃て) Noriaki Akitaya 17 พฤศจิกายน 2549 [ 16] [ 17]
8
ภาคีอัศวินดำ (黒の騎士団) Makoto Baba 24 พฤศจิกายน 2549 [ 18] [ 19]
9
Refrain (リフレイン) Kazuya Murata 8 ธันวาคม 2549 [ 20] [ 21]
10
กุเรนเริงระบำ (紅蓮舞う) Kazuo Miyake 15 ธันวาคม 2549 [ 22] [ 23]
11
ศึกรุกรับที่นาริตะ (ナリタ攻防戦) Satoshi Toba 22 ธันวาคม 2549 [ 24] [ 25]
12
ทูตจากเกียวโต (キョウトからの使者) Hiroaki Kudō 5 มกราคม 2550 [ 26] [ 27]
13
เชอร์ลีย์และปากกระบอกปืน (シャーリーと銃口) Noriaki Akitaya 12 มกราคม 2550 [ 28] [ 29]
14
กีอัส ปะทะ กีอัส (ギアス対ギアス) Makoto Baba 19 มกราคม 2550 [ 30] [ 31]
15
เสียงปรบมือแด่เหมา (喝采のマオ) Tōru Yamada 26 มกราคม 2550 [ 32] [ 33]
16
ตัวประกันคือนันนาลลี่ (囚われのナナリー) Kazuo Miyake 2 กุมภาพันธ์ 2550 [ 34] [ 35]
17
อัศวิน (騎士) Kazuya Murata 9 กุมภาพันธ์ 2550 [ 36] [ 37]
18
ขอออกคำสั่งแก่ คุรุรุกิ สุซาคุ (枢木スザクに命じる) Satoshi Toba 23 กุมภาพันธ์ 2550 [ 38] [ 39]
19
เกาะแห่งพระเจ้า (神の島) Shin'ichi Masaki 2 มีนาคม 2550 [ 40] [ 41]
20
สงครามคิวชู (キュウシュウ戦役) Hiroaki Kudō 9 มีนาคม 2550 [ 42] [ 43]
21
ประกาศิตงานโรงเรียน (学園祭宣言!) Noriaki Akitaya 16 มีนาคม 2550 [ 44] [ 45]
22
ยูฟี่ ชโลมเลือด (血染めのユフィ) Makoto Baba 23 มีนาคม 2550 [ 46] [ 47]
23
ล่วงลับไปกับความโศกเศร้า (せめて哀しみとともに) Shin'ichi Masaki 30 มีนาคม 2550 [ 48] [ 49]
24
สเตจแห่งการพังทลาย (崩落のステージ) Kazuo Miyake 29 กรกฎาคม2550 [ 50] [ 51]
25
ซีโร่ (ゼロ) Satoshi Toba 29 กรกฎาคม 2550 [ 50] [ 52]
ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2
เพลงประกอบอนิเมะ
เพลงเปิด
Colors ขับร้องโดย Flow
Kaidoku Funou ขับร้องโดย Jinn
Hitomi No Tsubasa ขับร้องโดย Access
เพลงปิด
Yuukyou Seishunka ขับร้องโดย Ali Project
Mosaic Kakera ขับร้องโดย Sunset Swish
เพลงแทรกระหว่างเรื่อง
Stories (Epi.05) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
Masquerade (Epi.07) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
Picaresque (Epi.17) ขับร้องโดย Mikio Sakai
Callin' (Epi.20) ขับร้องโดย Mikio Sakai
Alone (Epi.21) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
Innocent Days (Epi.23) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
Boku wa,Tori ni Naru (If I were a bird) ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
Continued Story ขับร้องโดย Hitomi Kuroishi
เพลงประกอบอนิเมะ ซีซั่นสอง
เพลงเปิด
O2 ขับร้องโดย Orange Range
WORLD END ขับร้องโดย FLOW
เพลงปิด
Shiawase Neiro ขับร้องโดย Orange Range
Waga Routashi Aku no Hana ขับร้องโดย Ali Project
อ้างอิง
↑ "Code Geass Gets New Sequel & Anime Compilation Film Trilogy" . Anime News Network . สืบค้นเมื่อ November 28, 2016 .
↑ " "Code Geass" Compilation Movies To Prepare For New Sequel" . Crunchyroll . November 28, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2016-11-29. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016 .
↑ "Code Geass Lelouch of the Resurrection & Lead Up Compilation Movie Announced" . nagamedigital.com. November 28, 2016. สืบค้นเมื่อ November 28, 2016 .
↑ "Code Geass: Lelouch of the Rebellion" series information" (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs (Japan) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2015 .
↑ 【第1滑走】なんのピロシキ!! 涙のグランプリファイナル . yurionice.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ December 4, 2016 .
↑ "Stage 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 2 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 17, 2551. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ March 9, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 3 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 17, 2551. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 4" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 4 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 5" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 5 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 6" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 6 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 7" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 7 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 8" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 8 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 9" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 9 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 10" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 10 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 11" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 11 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 12" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 12 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 13" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 13 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 14" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 14 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 15" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 15 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 16" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 16 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 17" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 17 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 18" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 18 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 19" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 19 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 20" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 20 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 21" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 21 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 22" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 22 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Stage 23" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 23 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ 50.0 50.1 "Stage 24 and 25" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ December 27, 2012 .
↑ "Code Geass Stage 24 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass Stage 25 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ December 19, 2008. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Turn 1" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 1 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 2 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 3 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 4" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 4 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 5" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 5 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 6" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 6 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 7" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 7 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 8" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 8 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 9" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 9 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 10" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 10 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 11" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 11 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 12" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 12 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 13" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 13 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 14" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 14 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 15" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 15 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 16" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 16 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 17" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 17 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 18" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 18 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 19" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 19 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 20" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 20 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 21" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 21 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 22" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 22 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 23" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 23 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 24" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 24 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
↑ "Turn 25" (ภาษาญี่ปุ่น). Geass.jp. สืบค้นเมื่อ April 20, 2013 .
↑ "Code Geass R2 Turn 25 summary" . Bandai Entertainment . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013 .
แหล่งข้อมูลอื่น