โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5
โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา โดยได้เริ่มถ่ายทำกันในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 และออกอากาศครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาทางช่องบราโว่ ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในเวลาใหม่ 3 ทุ่ม ในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 16 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) นอกจากนี้ยังมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย ผู้เข้าแข่งขันนักออกแบบแฟชั่น16 นักออกแบบในฤดูกาลนี้ ประกอบไปด้วย:
นางแบบ16 นางแบบในฤดูกาลนี้ ประกอบไปด้วย:
ผลการแข่งขัน
รายชื่อตอนตอนที่ 1: Let's Start from the Beginningในตอนแรกของฤดูกาลนี้ นักออกแบบทั้ง 16 คนได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดโดยใช้วัสดุที่ซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ต (เป็นโจทย์เดียวกับในฤดูกาลที่ 1) โดยนักออกแบบมีเวลา 30 นาที และมีเงินคนละ 75 ดอลลาร์เท่านั้น ในการหาซื้อวัสดุมาสร้างสรรค์ชุดของพวกเขา นักออกแบบส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้วัสดุคือ ผ้าปูโต๊ะ ซึ่งทำให้ได้รับคำติติงจาก ทิม กันน์ ผู้เป็นที่ปรึกษาในการแข่งขันนี้ว่า ควรที่จะลองใช้วัสดุใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ผ้า และควรคิดนอกกรอบให้มากกว่านี้ ซึ่งนักออกแบบที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้ จะได้รับสิทธิ์คุ้มกันในการแข่งขันครั้งต่อไป
ตอนที่ 2: Grass Is Always Greenerในตอนนี้นักออกแบบทั้ง 15 คนได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดค็อกเทลให้กับนางแบบเสมือนเป็นลูกค้าของพวกเขา โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องใช้วัสดุหรือเนื้อผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่พิเศษในครั้งนี้คือนางแบบของพวกเขาจะเป็นผู้ไปเลือกซื้อวัสดุในการทำชุดเอง โดยไม่มีคำแนะนำหรือชี้แจงใดๆจากนักออกแบบทั้งสิ้น นางแบบจะได้รับเงินคนละ 75 ดอลลาร์ในการเลือกซื้อวัสดุ นักออกแบบมีเวลา 1 วันในการทำชุดให้เสร็จ นักออกแบบที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้จะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มกัน แต่จะได้ลงขายชุดในเว็บไซต์บลูฟายดอตคอม
ตอนที่ 3: Bright Lights/Big Cityในตอนนี้ นักออกแบบที่เหลืออยู่ทั้ง 14 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดโดยมีแรงบันดาลใจมาจากมหานครนิวยอร์กในยามค่ำคืน โดยนักออกแบบทั้งหมดถูกพาขึ้นรถบัสสองชั้นเพื่อชมทัศนียภาพรอบเมืองนิวยอร์ก ทิม กันน์ ได้มอบก้องถ่ายรูปให้นักออกแบบเพื่อใช้ถ่ายรูปสำหรับที่จะใช้เป็นแรงบันดาลใจในการทำชุด นักออกแบบได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มและถูกปล่อยลงในสถานที่สำคัญต่างๆกัน โดยมีเวลาคนละ 1 ชั่วโมง เพื่อถ่ายรูปแรงบันดาลใจในสถานที่นั้นๆนักออกแบบจะได้รับเงินคนละ 100 ดอลลาร์ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 1 วันที่จะทำชุดให้เสร็จ นักออกแบบที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้จะได้รับสิทธิ์คุ้มกันในการแข่งขันครั้งต่อไป นักออกแบบถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามสถานที่สำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้:
ตอนที่ 4: Rings of Gloryในตอนนี้ ทิม กันน์ ที่ปรึกษาประจำการแข่งขัน ได้พานักออกแบบที่เหลือทั้ง 13 คน ไปยังศูนย์ฝึกกรีฑาอาร์มอรี (Armory Track and Field Training Center) และได้แนะนำให้พบกับ นักกีฬาสเก็ตอเมริกันเหรียญทองโอลิมปิก อโพโล โอโน จากนั้นจึงได้แจ้งโจทย์ของการแข่งขันในรอบนี้ ว่านักออกแบบทุกคนจะต้องสร้างสรรค์ชุดสำหรับนักกีฬาหญิงทีมสหรัฐอเมริกา สำหรับการเดินขบวนพาเหรดในพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นักออกแบบทุกคนมีเวลา 30 นาทีในการออกแบบและหาแรงบันดาลใจในส่วนของพิพิธภัณฑ์กรีฑาแห่งชาติ จากนั้นนักออกแบบจะได้รับเงินคนละ 150 ดอลลาร์ในการซื้อวัสดุเพื่อมาทำชุด และมีเวลา 1 วันในการทำชุดให้เสร็จ นักออกแบบที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้จะได้รับสิทธิ์คุ้มกันไม่ถูกคัดออกในการแข่งขันครั้งต่อไป
ตอนที่ 5: Welcome to the Jungleในตอนนี้ นักออกแบบทั้ง 12 คนได้พบกับ บรุก ชีลส์ ดาราและนักแสดงแถวหน้า ที่มามอบโจทย์ให้กับนักออกแบบ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดให้เธอ สำหรับตัวละคร เวนดี ฮีลลีย์ ที่เธอนั้นรับบทในละครชุดเรื่อง ลิปสติก จังเกิล (Lipstick Jungle) ซึ่งจะต้องเป็นชุดที่ใส่ได้ทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน และสิ่งพิเศษในการแข่งขันครั้งนี้คือนักออกแบบจะต้องทำงานเป็นคู่ โดยนักออกแบบทุกคนจะมีเวลาออกแบบ 30 นาที เพื่อนำเสนอชุดที่ตนเองออกแบบกับบรุก จากนั้นบรุกจะเลือกนักออกแบบ 6 คน เพื่อเป็นหัวหน้าทีม และหัวหน้าทีมจะได้เลือกผู้ช่วย (นั่นคือนักออกแบบ 6 คนที่ไม่ได้ถูกเลือก) ต่อไป แต่ละคู่จะได้รับเงิน 150 ดอลลาร์ในการซื้อวัสดุที่จะมาใช้ในการทำชุด และมีเวลา 1 วันในการทำชุดให้เสร็จ ชุดของนักออกแบบที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้ บรุกจะนำไปใส่เข้าฉากในละครชุด ลิปสติก จังเกิล ในฤดูกาลที่ 2
ตอนที่ 6: Good Queen Funในตอนนี้ นักออกแบบที่เหลือทั้ง 11 คนได้พบกับ คริส มาร์ช ผู้เข้าแข่งขันจากฤดูกาลที่ 4 ที่มาบอกโจทย์สำหรับการแข่งขันในรอบนี้ นั่นคือ การออกแบบชุดให้กับนางโชว์สาวประเภทสอง (Drag Queen) โดยนักออกแบบจะได้เลือกนางแบบที่รายการได้เตรียมมา ในครั้งนี้นักออกแบบจะได้เงิน 200 ดอลลาร์สำหรับซื้อวัสดุในการทำชุด และมีเวลา 2 วันในการทำชุดให้เสร็จ นักออกแบบที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้จะได้รับสิทธิ์คุ้มกันไม่ถูกคัดออกในการแข่งขันครั้งต่อไป นักออกแบบและนางโชว์:
ตอนที่ 7: Fashion That Drives Youในตอนนี้ นักออกแบบที่เหลืออยู่ทั้ง 10 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดโดยจะต้องใช้วัสดุทั้งหมดมาจากชิ้นส่วนอะไหล่รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆภายในรถยนต์ นักออกแบบมีเวลา 1 วันในการทำชุดให้เสร็จ นักออกแบบที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้จะได้รับสิทธิ์คุ้มกันไม่ถูกคัดออกในการแข่งขันครั้งต่อไป
ตอนที่ 8: Double 0 Fashionในตอนนี้ ทิม กันน์ ได้พานักออกแบบที่เหลืออยู่ทั้ง 9 คน ไปยังโชว์รูมเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง เพื่อไปพบกับนักออกแบบแฟชั่นในตำนาน ไดแอน วอน เฟิร์สเทนเบิร์ก ซึ่งไดแอนได้มามอบหมายโจทย์ให้กับนักออกแบบในการแข่งขันครั้งนี้ นั่นก็คือการสร้างสรรค์ชุดให้กับคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ของเธอ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์เรื่อง A Foreign Affair ซึ่งนำแสดงโดย มาร์ลีน ดีทริช (Marlene Dietrich) นักออกแบบมีเวลาคนละ 15 นาทีในการเลือกผ้าที่จะนำมาใช้ในการตัดชุด ซึ่งเป็นผ้าจากโชว์รูมของไดแอน ชุดของนักออกแบบที่ชนะในการแข่งขันครั้งนี้จะได้รับการผลิตในจำนวนจำกัด และขายให้เฉพาะผู้ที่ถือบัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรสเท่านั้น นอกจากนี้รายได้จากการขายชุดนี้จะนำเข้าสู่มูลนิธิ CFDA ซึ่งไดแอนเป็นประธานมูลนิธิอยู่อีกด้วย
ตอนที่ 9: What's Your Sign?ในตอนนี้ นักออกแบบที่เหลือทั้ง 8 คน จะต้องทำงานเป็นทีม ร่วมกับนักออกแบบที่ออกจากการแข่งขันไปแล้ว (ทิม กันน์ เป็นผู้จับฉลากเลือกทีมให้นักออกแบบทุกๆคน) โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ สร้างสรรค์ชุดในสไตล์ล้ำยุค หรือที่เรียกว่า อาว็อง-การ์ด (Avant-Garde) โดยออกแบบให้เป็นจักรราศีของสมาชิกคนใดคนหนึ่งในทีม นักออกแบบมีเวลา 1 วันกับอีก 8 ชั่วโมงที่จะทำชุดให้เสร็จ สิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้กับนักออกแบบในตอนนี้คือ พวกเขาทุกคนได้รับการ์ดเชิญไปงานปาร์ตี้ ที่จัดขึ้น ณ.พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา (The American Museum of Natural History) และที่สำคัญที่สุดคือ ในตอนนี้จะมีผู้ที่ถูกคัดออกทั้งหมด 2 คน ในงานปาร์ตี้นักออกแบบทุกคนได้พบกับแขกรับเชิญพิเศษนั่นคือผู้เข้าแข่งขันจากฤดูกาลก่อนๆ ซึ่งมาเพื่อให้คำชี้แนะและลงคะแนนให้กับชุดที่ตนชื่นชอบ และตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไปจะไม่มีการมอบสิทธิ์คุ้มกันให้กับนักออกแบบที่ชนะการแข่งขันอีก ทีม:
ตอนที่ 10: Transformationในตอนนี้ นักออกแบบที่เหลือทั้ง 6 คน ได้รับโจทย์ให้ออกแบบชุดสำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นบัณฑิตสาวจบใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ชีวิตทำงาน ซึ่งไม่เพียงแต่ออกแบบชุดเท่านั้นแต่ในครั้งนี้นักออกแบบจะต้องแปลงโฉมตั้งแต่หัวจรดเท้าให้กับลูกค้าของพวกเขาอีกด้วย สิ่งสำคัญคือนักออกแบบจะต้องออกแบบชุดให้เข้ากับอาชีพของลูกค้าของแต่ละคน และจะต้องออกแบบให้เป็นที่พอใจของทั้งลูกค้าเองและแม่ของลูกค้าด้วย โดยในตอนนี้ลูกค้าของนักออกแบบจะเป็นผู้สวมใส่ชุดและเดินบนรันเวย์ด้วยตัวของพวกเขาเอง รูปโฉมใหม่ของลูกค้าที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้ จะได้ถ่ายแฟชั่นลงในโฆษณาของผลิตภัณท์เทรเซมเม่และนิตยสารแอลด้วย
ตอนที่ 11: Rock N' Runwayในตอนนี้ นักออกแบบที่เหลือทั้ง 5 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดให้กันเอง โดยมีแรงบันดาลใจจากแนวดนตรีประเภทต่างๆ โดยในครั้งนี้นักออกแบบจะเป็นผู้สวมใส่ชุดและเดินบนรันเวย์ด้วยตัวเอง นักออกแบบและแนวเพลง:
ตอนที่ 12: Nature Callsในตอนนี้ ทิม กันน์ ได้พานักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คน ไปยังสวนพฤกษศาสตร์นิวยอร์ก (The New York Botanical Garden) ที่นั่นพวกเขาได้พบกับ โคลลิเออร์ สตรอง ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแต่งหน้าของ ลอรีอัล ปารีส ซึ่งได้มามอบโจทย์สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้แก่พวกเขา นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดราตรียาว โดยให้มีแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ นักออกแบบมีเวลาคนละ 30 นาทีในการค้นหาและถ่ายภาพธรรมชาติที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำชุดของพวกเขา ในตอนท้ายที่ห้องตัดสิน ไฮดีได้แจ้งกับนักออกแบบทั้ง 4 คนว่า ในครั้งนี้จะไม่มีใครถูกคัดออก แต่นักออกแบบทุกคนจะต้องสร้างสรรค์คอลเล็คชั่นสำหรับสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก (New York Fashion Week) ของตนเอง พวกเขาทุกคนจะได้กลับบ้าน และเมื่อกลับมาที่นิวยอร์ก จะมีนักออกแบบเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะได้ผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน
ตอนที่ 13: Finale, Part Iในตอนนี้นักออกแบบที่เหลือทั้ง 4 คนได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์คอลเล็คชันสำหรับสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก (จากสัปดาห์ที่แล้ว) และโจทย์พิเศษอีกหนึ่งโจทย์ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดเจ้าสาว โดยทั้งคอลเลคชั่นและชุดเจ้าสาวของนักออกแบบทุกคนนั้นจะต้องแสดงถึงความเป็นตัวตนของพวกเขาออกมาให้มากที่สุด นักออกแบบจะได้รับเงินทุนคนละ 8,000 ดอลลาร์ ในการสร้างสรรค์ชุดในคอลเล็คชันทั้งหมด 10 ชุด รวมถึงชุดเจ้าสาว และมีเวลา 2 เดือนในการสร้างสรรค์ชุดทั้งหมดให้เสร็จ โดยนักออกแบบทุกคนจะได้กลับไปพักผ่อนและทำงานที่บ้าน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน ทิม กันน์ ที่ปรึกษาได้ไปเยี่ยมนักออกแบบแต่ละคนที่บ้านเพื่อให้คำปรึกษาและพูดคุยเรื่องราวต่างๆกับนักออกแบบ เมื่อครบกำหนดนักออกแบบทุกคนกลับมายังนครนิวยอร์ก จากนั้น ทิม กันน์ ได้เรียกทุกคนมาพบและแจ้งให้นักออกแบบทุกคนทราบว่า ทุกคนจะได้รับโจทย์พิเศษอีก 1 โจทย์ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดเพื่อนเจ้าสาว โดยในครั้งนี้ กรรมการจะตัดสินจาก 2 ชุด นั่นคือชุดเจ้าสาวและชุดเพื่อนเจ้าสาว ซึ่งจะมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่จะผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายที่สัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก
ตอนที่ 14: Finale, Part IIในตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ นักออกแบบที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คนจะได้แสดงผลงานการออกแบบคอลเลคชั่นของตนเองในสัปดาห์แฟชั่นนิวยอร์ก โดยนักออกแบบจะต้องเลือก 10 จาก 12 ชุดของพวกเขาเพื่อโชว์ในครั้งนี้ จากนั้นนักออกแบบก็ได้ทำการคัดเลือกนางแบบที่จะมาเดินในคอลเล็คชันของแต่ละคน และเมื่อถึงวันแสดงจริง ไฮดีได้แจ้งให้ทุกคนในงานทราบว่า ในตอนแรกนั้นผู้ที่จะมาเป็นกรรมการรับเชิญให้กับตอนสุดท้ายนี้คือ เจนนิเฟอร์ โลเปซ แต่เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่เท้าทำให้เธอไม่สามารถมาร่วมงานได้ ทิม กันน์ จึงได้มาเป็นกรรมการรับเชิญแทน และหลังจากที่กรรมการได้ชมการแสดงคอลเลคชันของนักออกแบบทั้ง 3 คนครบแล้ว ก็ได้ตัดสินให้ ลีแอน มาร์แชล เป็นผู้ชนะของ โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 5
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
เว็บไซต์ของผู้เข้าแข่งขัน
|