โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3
โปรเจกต์รันเวย์ ฤดูกาลที่ 3 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ค้นหานักออกแบบแฟชั่นของสหรัฐอเมริกา ในฤดูกาลที่ 3 นี้ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ทางช่องบราโว่ ในฤดูกาลนี้มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 15 คน และได้นางแบบชื่อดัง ไฮดี คลูม รับหน้าที่เป็นพิธีกรและกรรมการตัดสินในฤดูกาลนี้ ร่วมกับ ไมเคิล คอร์ส นักออกแบบแฟชั่นชื่อดัง และ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสาร แอล (Elle) โดยมี ทิม กันน์ มาเป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำกับผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย ผู้เข้าแข่งขันดีไซเนอร์
นางแบบ
ผลการแข่งขันดีไซเนอร์
นางแบบ
รายชื่อตอนตอนที่ 0: Road to Runway Season 3ในตอนที่ 0 นี้ ได้เริ่มต้นฤดูกาลที่ 3 ด้วยการออดิชั่นหาผู้เข้าแข่งขัน จากเหล่าดีไซเนอร์มากความสามารถร่วมพันคน ผ่านการสัมภาษณ์และคัดเลือกจาก ทิม กันน์ และเหล่าแฟชั่นดีไซเนอร์ รวมไปถึงผู้เข้าแข่งขันในฤดูกาลที่ผ่านมา จนได้ 15 ดีไซเนอร์ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่โปรเจกต์รันเวย์ ในฤดูกาลที่ 3
ตอนที่ 1: Wall to Wall Fashionในตอนแรกของฤดูกาลนี้ 15 ดีไซเนอร์ที่ผ่านการคัดเลือกได้เดินทางมายัง แอตลาส อพาร์ตเมนท์ ในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นที่พักของดีไซเนอร์ทุกคน จากนั้นทั้งหมดได้ขึ้นไปพบกับ ไฮดี คลูม และ ทิม กันน์ บนดาดฟ้าของอพาร์ตเมนท์ ซึ่งได้แจ้งโจทย์แรกให้ดีไซเนอร์ทุกคนทราบ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดโดยให้ใช้แค่เพียงวัสดุที่หาได้ในอพาร์ตเมนท์เท่านั้น และชุดที่ทำออกมาจะต้องบ่งบอกความเป็นตัวตนของทุกคนในฐานะดีไซเนอร์ด้วย ดีไซเนอร์ทุกคนได้รับกล่องอุปกรณ์คนละ 1 กล่อง และมีเวลา 15 นาทีในการค้นหาวัสดุใส่ภายในถุงที่กำหนดไว้เท่านั้น จากนั้นทุกคนจึงเดินทางมายัง โรงเรียนออกแบบพาร์สัน ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับใช้ทำงาน ดีไซเนอร์ทุกคนมีเวลา 2 วันในการสร้างสรรค์ชุดให้เสร็จ และดีไซเนอร์ที่ชนะในโจทย์นี้จะได้รับสิทธิคุ้มกันไม่ถูกคัดออกในโจทย์ต่อไป นักออกแบบกับวัสดุที่เลือกใช้:
ตอนที่ 2: Fit for a Queenในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 14 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดราตรีให้กับ ทาร่า คอนเนอร์ มิสยูเอสเอ 2006 โดยในโจทย์นี้ดีไซเนอร์จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ทีมละ 2 คน ซึ่งแต่ละทีมจะได้รับเงินทีมละ 300 ดอลลาร์ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 2 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ ดีไซเนอร์ที่ชนะในโจทย์นี้จะได้รับสิทธิคุ้มกันไม่ถูกคัดออกในโจทย์ต่อไป และทาร่าจะใส่ชุดราตรีของผู้ชนะเข้าประกวดบนเวทีนางงามจักรวาล 2006 รอบตัดสิน ที่จะจัดขึ้นณ.ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคมที่กำลังจะถึงนี้ด้วย
ตอนที่ 3: Designer's Best Friendในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 13 คน ได้รับคำใบ้ถึงโจทย์ครั้งนี้จากไฮดี ว่าเป็น "หนึ่งในแอกเซสเซอรีที่เป็นที่นิยมของชาวอเมริกา" จากนั้นในวันต่อมาดีไซเนอร์ทั้งหมดจึงได้รับข้อความให้เดินทางไปยังสวนสาธารณะ เมื่อไปถึงดีไซเนอร์ทุกคนก็ได้พบกับทิมพร้อมกับสุนัขทั้ง 13 ตัว ทิมจึงได้เฉลยว่า สำหรับโจทย์ในครั้งนี้นั่นก็คือ การให้สร้างสรรค์ชุดโดยให้มีแรงบันดาลใจจากสุนัขออกมาเป็นเรื่องราว และให้ออกแบบชุดของสุนัขด้วย โดยทิมได้ให้ดีไซเนอร์เลือกสุนัขคนละ 1 ตัว จากนั้นเมื่อกลับไปยังโรงเรียนออกแบบ ทิมมีเวลาให้ดีไซเนอร์ได้ออกแบบคนละ 30 นาที ก่อนที่จะพาดีไซเนอร์ทั้งหมดออกไปซื้อวัสดุมาทำชุด ดีไซเนอร์ได้รับเงินคนละ 150 ดอลลาร์ และมีเวลา 2 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ ดีไซเนอร์ที่ชนะการแข่งขันในโจทย์นี้จะได้รับสิทธิคุ้มกันไม่ถูกคัดออกในโจทย์ต่อไป
ตอนที่ 4: Reap What You Sewในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 12 คน ได้พบกับ เมห์เมต แทงโกเรน ผู้อำนวยการฝ่ายเสื้อผ้ากีฬาของแบรนด์ เมซี่ ซึ่งได้มาแจ้งโจทย์ครั้งนี้ นั่นก็คือการสร้างสรรค์ชุด 3 ชิ้น ให้กับแบรนด์ INC ในเครือเมซี่ โดยในโจทย์นี้ดีไซเนอร์จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ทีมละ 3 คน ซึ่งแต่ละทีมจะได้รับเงินทีมละ 100 ดอลลาร์ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 2 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ ชุดของดีไซเนอร์ที่ชนะในโจทย์นี้จะถูกนำไปผลิตและวางขายจริงในห้างเมซี่
เหตุการณ์สำคัญในตอนนี้นั่นคือการถูกตัดสิทธิ์ของคีธ หนึ่งในผู้เข้าแข่งขัน เนื่องจากมีการพบว่าคีธนั้นได้นำเอาหนังสือคู่มือแฟชั่นเข้ามาในการแข่งขัน ซึ่งถือว่าผิดกฏของรายการ คีธจึงนับเป็นดีไซเนอร์คนแรกในประวัติศาสตร์ของรายการที่ถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน และหลังจากที่คีธถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันแล้ว ทำให้ทีมของคีธซึ่งตนเองเป็นหัวหน้าทีม เหลือเพียงลูกทีม 2 คน คือเอลลิสันและเจฟฟรีย์เท่านั้น
ตอนที่ 5: Iconic Statementในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 10 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดที่ดูทันสมัย โดยให้มีแรงบันดาลใจมาจากแฟชั่นไอคอนในยุคเก่า ซึ่งในโจทย์นี้นางแบบที่เหลืออยู่จะได้รับสิทธิ์ให้เลือกดีไซเนอร์ที่ต้องการจะร่วมงานด้วยได้ (ปกติดีไซเนอร์จะเป็นฝ่ายเลือกนางแบบ) แต่เนื่องจากมีนางแบบเหลืออยู่ 12 คน กับดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ 10 คน ทำให้ต้องใช้วิธีสุ่มจับชื่อนางแบบเพื่อเลือกดีไซเนอร์ หากชื่อของนางแบบคนไหนไม่ถูกจับขึ้นมาก็จะต้องออกจากการแข่งขันไป นอกจากนี้นางแบบยังได้สิทธิ์ในการที่จะเลือกแฟชั่นไอคอนที่เป็นแรงบันดาลใจด้วยตัวเอง ดีไซเนอร์จะได้รับเงินคนละ 150 ดอลลาร์ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 2 วันในการทำชุดให้เสร็จ ดีไซเนอร์และนางแบบที่ชนะการแข่งขันในโจทย์นี้จะได้ถ่ายแฟชั่นโฆษณาของผลิตภัณฑ์เทรซาเม่ลงในนิตยสารแอล
ตอนที่ 6: Waste Not, Want Notในตอนนี้ ทิมได้พาดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 9 คน ออกไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยที่ดีไซเนอร์ไม่ทราบมาก่อน เมื่อมาถึงก็พบว่าเป็นโกดังเก็บขยะและวัสดุรีไซเคิล ทิมจึงได้แจ้งโจทย์ในครั้งนี้ให้ดีไซเนอร์ทุกคนทราบ นั่นคือการสร้างสรรค์ชุดจากวัสดุรีไซเคิลที่อยู่ภายในโกดังนี้ โดยทิมมีเวลาให้ดีไซเนอร์ทุกคน 30 นาที ในการเก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิลที่จะนำไปใช้ทั้งหมดใส่ในถังที่เตรียมไว้ให้ จากนั้นเมื่อกลับมาทิมได้พาดีไซเนอร์ไปยังร้านขายอุปกรณ์และเครื่องมือ เพื่อซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ทำชุดในครั้งนี้ ดีไซเนอร์ได้รับเงินคนละ 25 ดอลลาร์ และมีเวลา 1 วันในสำหรับโจทย์นี้การทำชุดให้เสร็จ ดีไซเนอร์ที่ชนะการแข่งขันในโจทย์นี้จะได้รับสิทธิคุ้มกันไม่ถูกคัดออกในโจทย์ต่อไป
ตอนที่ 7: Everyday Womanในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 8 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดให้กับลูกค้าที่เป็น "Everyday Woman" หรือผู้หญิงธรรมดาที่สามารถพบเห็นได้ในทุกๆวัน ซึ่งก็คือแม่และพี่สาว/น้องสาวของดีไซเนอร์นั่นเอง แต่ดีไซเนอร์จะต้องเลือกลูกค้าที่ไม่ใช่แม่หรือพี่สาว/น้องสาวของตัวเอง ดีไซเนอร์ทุกคนจะได้รับเงินคนละ 150 ดอลลาร์ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 1 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ ในโจทย์นี้ไม่มีสิทธิคุ้มกันให้กับผู้ชนะ
ตอนที่ 8: High Flying Fashionในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 7 คน ได้รับโจทย์ให้สร้างสรรค์ชุดสำหรับนักเดินทางที่ต้องมีความเป็นแฟชั่นและดูทันสมัย ซึ่งในครั้งนี้ดีไซเนอร์จะต้องออกแบบชุดให้กับตัวเอง โดยดีไซเนอร์จะได้รับเงินคนละ 75 ดอลลาร์ และมีเวลา 1 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ เมื่อมาถึงวันตัดสินขณะที่กำลังจะต้องคัดดีไซเนอร์ออกจากการแข่งขันนั้น ไฮดีก็ได้แจ้งให้ดีไซเนอร์ทุกคนทราบว่าพวกเขาจะได้กลายเป็นนักเดินทางจริงๆ โดยดีไซเนอร์ทุกคนจะได้เดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อไปถึงที่ปารีส ดีไซเนอร์ทุกคนได้เดินทางไปยังโรงเรียนพาร์สัน ปารีส ซึ่งเป็นสถานที่ที่จะใช้ทำงานที่ประเทศฝรั่งเศส และได้พบกับ แคทเธอรีน มาลานดรีโน ดีไซเนอร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซึ่งทิมได้แจ้งกับดีไซเนอร์ทุกคนว่าแคทเธอรีนจะร่วมเป็นกรรมการตัดสินในโจทย์นี้ด้วย ซึ่งจะมีเพียง 6 คนเท่านั้นที่จะได้ผ่านเข้ารอบ อีกหนึ่งคนจะถูกคัดออกและบินกลับสหรัฐอเมริกาทันที โดยดีไซเนอร์ทุกคนจะต้องเดินแบบให้แคทเธอรีนตัดสินณ.เวลานั้นเลย ผู้ชนะในโจทย์นี้จะได้รับสิทธิคุ้มกันไม่ถูกคัดออกในโจทย์ต่อไป
ตอนที่ 9: Couture du Jourในตอนนี้ หลังจากที่แองเจลาได้ถูกคัดออกไป ทิมและแคทเธอรีนก็ได้แจ้งโจทย์สำหรับการแข่งขันต่อไปทันที โดยในโจทย์นี้ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 6 คน จะต้องสร้างสรรค์ชุดราตรีในแบบแฟชั่นชั้นสูงหรือโอตกูตูร์ (Haute couture) ดีไซเนอร์จะได้รับเงินคนละ 300 ยูโร (หรือประมาณ 375 ดอลลาร์) และมีเวลา 2 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ เมื่อถึงวันตัดสินดีไซเนอร์และนางแบบได้เดินทางล่องเรือสำราญกับแคทเธอรีน และได้ทำการเดินแบบรวมถึงให้คะแนนกันบนเรือ แต่คะแนนของแคทเธอรีนนั้นจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตัดสิน เพราะเมื่อดีไซเนอร์เดินทางกลับมายังนิวยอร์ก กรรมการหลักจะร่วมตัดสินด้วย ในโจทย์นี้ไม่มีสิทธิคุ้มกันให้กับผู้ชนะ
ตอนที่ 10: Black and Whiteในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 5 คนได้ไปงานปาร์ตี้ที่จัดขึ้นโดย ลอรีอัล ปารีส จากนั้นทุกคนก็ได้พบกับไฮดีที่จะมาแจ้งโจทย์ของการแข่งขันในครั้งนี้ แต่ก่อนที่จะแจ้งโจทย์นั้นไฮดีได้พาแขกพิเศษมาด้วย ซึ่งก็คือวินเซนต์กับแองเจลา สองดีไซเนอร์ที่ถูกคัดออกไปแล้ว ทำให้ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่แปลกใจเป็นอย่างมาก จากนั้นไฮดีจึงได้แจ้งให้ดีไซเนอร์ทุกคนทราบโจทย์สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ นั่นคือการให้สร้างสรรค์ชุดคอกเทลสำหรับไปงานปาร์ตี้ โดยให้ใช้แค่ผ้าสีขาวและสีดำเท่านั้น ซึ่งวินเซนต์และแองเจลาได้รับสิทธิ์ให้กลับเข้ามาแข่งขันในโจทย์นี้ เนื่องจากทั้งสองคนเป็นดีไซเนอร์ที่เคยชนะโจทย์ประจำสัปดาห์มาก่อนจึงได้รับสิทธิพิเศษ (ยกเว้นคีธที่ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันทำให้ไม่ได้รับสิทธิพิเศษนี้) อย่างไรก็ตามในโจทย์นี้จะต้องมีผู้ที่ถูกคัดออก 3 คนด้วยกัน โดยสำหรับวินเซนต์และแองเจลาหากต้องการที่จะอยู่ต่อในการแข่งขันจะต้องชนะโจทย์นี้เท่านั้น ดีไซเนอร์ทุกคนจะได้รับเงินคนละ 100 ดอลลาร์ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 1 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ ในโจทย์นี้ไม่มีสิทธิคุ้มกันให้กับผู้ชนะ
ตอนที่ 11: What the ELLE?ในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 4 คน ได้เดินทางไปยังตึกสำนักงานของนิตยสารแอล ที่นั่นดีไซเนอร์ทุกคนได้พบกับ นีน่า การ์เซีย บรรณาธิการนิตยสารแอล และหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งนีน่าได้เป็นผู้มอบโจทย์การแข่งขันในครั้งนี้ให้กับดีไซเนอร์ นั่นคือการออกแบบชุดที่บ่งบอกมุมมองและสไตล์ของตัวเองในฐานะดีไซเนอร์ โดยดีไซเนอร์ทุกคนจะได้รับเงินคนละ 250 ดอลลาร์ ในการหาซื้อวัสดุมาทำชุด และมีเวลา 2 วันสำหรับโจทย์นี้ในการทำชุดให้เสร็จ ซึ่งหลังจากที่ทำชุดเสร็จแล้ว ดีไซเนอร์จะต้องพานางแบบไปถ่ายรูปในสถานที่ต่างๆ เพื่ออธิบายดีไซน์ของชุดออกมาเป็นเรื่องราวผ่านรูปถ่าย และจะต้องให้คำจำกัดความ 3 คำที่บ่งบอกถึงชุดที่ได้ทำออกมาด้วย ผู้ชนะในโจทย์ครั้งนี้จะได้ถ่ายแฟชั่นลงในนิตยสารแอล คอลัมน์ "First Look" ร่วมกับนางแบบ ในโจทย์นี้ไม่มีสิทธิคุ้มกันให้กับผู้ชนะ
ตอนที่ 12: Reunionในตอนนี้เป็นตอนพิเศษที่ได้เชิญดีไซเนอร์ทั้ง 11 คนที่ถูกคัดออกไปแล้วกลับมาอีกครั้งเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทั้งฤดูกาลนี้ รวมถึงดีไซเนอร์ที่ผ่านเข้ารอบ 4 คนสุดท้าย ที่กำลังจะได้แสดงผลงานคอลเลคชั่นของตนเองในการแข่งขันรอบตัดสินที่จะจัดขึ้นที่นิวยอร์กแฟชั่นวีค ในตอนท้ายได้มีการมอบเงินรางวัล 10,000 ดอลลาร์ให้กับดีไซเนอร์ที่ได้รับรางวัลขวัญใจผู้ชม (Fan Favorite)
ตอนที่ 13: Finale - Part 1ในตอนนี้ ดีไซเนอร์ที่เหลืออยู่ทั้ง 4 คน ได้รับโจทย์ของการแข่งขันสุดท้าย นั่นคือการสร้างสรรค์คอลเลคชั่นของตนเอง ที่จะนำไปแสดงโชว์บนรันเวย์ในนิวยอร์กแฟชั่นวีคที่กำลังจะมาถึง โดยในคอลเลคชั่นนั้นจะต้องประกอบไปด้วยชุดทั้งหมด 12 ชุด ดีไซเนอร์ทุกคนจะได้รับเงินทุนคนละ 8,000 ดอลลาร์ และมีเวลา 2 เดือนในการทำคอลเลคชั่นนี้ให้เสร็จ ซึ่งดีไซเนอร์ทุกคนได้รับสิทธิ์ให้กลับไปทำงานที่บ้านหรือที่พักของตนเอง ในช่วง 2 เดือนระหว่างที่ดีไซเนอร์กำลังออกแบบคอลเลคชั่นของตนเองอยู่นั้น ทิมก็ได้ไปเยี่ยมรวมถึงให้คำปรึกษาแก่ดีไซเนอร์ทุกคนถึงที่พักของแต่ละคน ดีไซเนอร์ทุกคนกลับมายังนิวยอร์กก่อนวันจริง 1 อาทิตย์เพื่อทำคอลเลคชั่นให้เสร็จสมบูรณ์
ตอนที่ 14: Finale - Part 2ในตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ ดีไซเนอร์ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 4 คน ได้แสดงผลงานคอลเลคชั่นของตนเองที่นิวยอร์กแฟชั่นวีค ต่อหน้าคณะกรรมการรวมถึงผู้ชมคนอื่นๆ
อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|