โปรเตสแตนต์ในประเทศไทยคริสตจักรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1828[1] องค์กรโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยองค์กรที่ใหญ่ที่สุดคือ สภาคริสตจักรในประเทศไทย (CCT) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1934 โดยการรวมกลุ่มต่างๆของโปรเตสแตนต์เข้าด้วยกัน โดยรวมถึง คณะเพรสไบทีเรียนอเมริกัน ลูเทอแรน จากเยอรมัน มาเบอร์เกอร์ มิชชั่น และกลุ่มอื่นๆ ตั้งเป้าหมายเป็น คณะโปรเตสแตนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งรวม ชาวไทย,จีน,เกาหลี และกลุ่มชนที่ใช้ภาษาอังกฤษ สภาคริสตจักรในประเทศไทย เป็นสมาชิกของ สภาคริสตจักรโลก ซึ่งมีสมาชิกในกว่า 150 ประเทศ โดยมีกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคณะแบปทิสต์ กลุ่มเซเว่นเดย์แอดเวนทิสต์ นอกจาก สภาคริสตจักรในประเทศไทย มีองค์การโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับร้องจากรัฐบาลได้แก่ สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย และ สหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย คณะผู้ศรัทธามีคณะผู้ศรัทธาชาวคริสต์ปฏิบัติงานอยู่โดยทั่วประเทศ มีการจัดตั้งโบสถ์เล็กๆ นำโดยมิชชั่นนารีชาวต่างประเทศและมิชชั่นนารีในประเทศ จัดตั้ง โบสถ์และกลุ่มภาวนาอยู่โดยทั่วไป กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มวายแวมสงขลา(YWAM Songkhla) ซึ่งมีชาวเกาหลีใต้ทำงานตลอดเวลากว่า 200 คนและมีผู้ปฏิบัติงานชาวไทยกว่า 100 คน มีผู้นำสูงสุดคือศาสนาจารย์ "คง โยนก" (Kong Yeonok) ชาวเกาหลีเหนือ มีกลุ่มจัดตั้งในกว่า 20 แห่ง ทั่วประเทศ คณะผู้ศรัทธาอื่นได้แก่ โอเอ็มเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล มีการส่งครูชาวคริสต์เข้าปฏิบัติงานตามโรงเรียนต่างๆ ในเมืองใหญ่เช่น กรุงเทพ พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา ฯลฯ โรงพยาบาลโปรเตสแตนต์
พระคริสตธรรมสหสมาคมพระคริสตธรรม เริ่มงานในประเทศไทยในปี ค.ศ. 1828 และในปี ค.ศ. 1966 สมาคมพระคริสตธรรมไทย ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1838 งานประกาศพระกิตติคุณของโปรแตสแตนท์ได้เข้ามาสู่ประเทศไทย จนถึงปี ค.ศ. 1861 คณะเพรสไบทีเรียนได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในกรุงเทพมหานคร ในปี ค.ศ. 2005 สมาคมพระคริสตธรรมไทย ได้จัดพิมพ์พระคริสตธรรมคัมภีร์ 43,740 เล่ม และ พระคริสตธรรมใหม่ จำนวน 9,629 เล่ม สถิติสถิติคริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2561 มีดังนี้[2]
ดูเพิ่มวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ โปรเตสแตนต์ในประเทศไทย อ้างอิง |