Share to:

 

โปเกมอน รูบี้ และ แซฟไฟร์

โปเกมอน รูบี้
โปเกมอน แซฟไฟร์
กล่องเกมโปเกมอนภาครูบี แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน กราวดอน โปเกมอนภาคแซฟไฟร์ แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน ไคโอกา
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท โปเกมอน จำกัด
นินเท็นโด
กำกับจุนอิจิ มาสึดะ
ซาโตชิ ทาจิริ
อำนวยการผลิตฮิโรยูกิ จินไน
ทาเกฮิโระ อิซูชิ
ฮิโรอากิ ทสึรุ
ศิลปินเค็น ซุงิโมริ
เขียนบทโทชิโนบุ มัตสึมิยะ
อากิฮิโตะ โตมิซาวา
แต่งเพลงโก อิจิโนเซะ
โมริคาชุ อาโอกิ
จุนอิจิ มาสึดะ
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์
วางจำหน่าย
  • JP: 21 พฤศจิกายน 2545[1]
  • NA: 19 มีนาคม 2546[1]
  • AU: 3 เมษายน 2546[1]
  • EU: 25 กรกฎาคม 2546[1]
แนววิดีโอเกมสวมบทบาท
รูปแบบเล่นคนเดียว, เล่นหลายคน

โปเกมอน รูบี้ และ แซฟไฟร์ (อังกฤษ: Pokémon Ruby Version and Sapphire Version) หรือ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ รูบี้ และ แซฟไฟร์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ルビー・サファイアโรมาจิPoketto Monsutā Rubī Safaia) เป็นวิดีโอเกมลำดับที่สามของ โปเกมอน พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก จำหน่ายโดยบริษัท โปเกมอน จำกัดและนินเท็นโด ถูกผลิตสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์ เกมออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 และได้วางขายในต่างประเทศเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชันประกอบไปด้วย พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ รูบี้ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ルビーโรมาจิPoketto Monsutā Rubī) และ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ แซฟไฟร์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター サファイアโรมาจิPoketto Monsutā Safaia) ต่อมาได้เพิ่มเวอร์ชันอีกเวอร์ชันชื่อว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター エメラルドโรมาจิPoketto Monsutā Emerarudo) ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2004

ต่อมาได้ถูกนำมาทำใหม่สำหรับเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส ในชื่อ โปเกมอน โอเมการูบี้ และ แอลฟาแซฟไฟร์

ประวัติ

โปเกมอน รูบี้ และ แซฟไฟร์ เป็นเกมโปเกมอนชุดใหม่ของซีรีส์เกมโปเกมอน ชุดที่ 3 โดยหน้าปกของเกมประจำเวอร์ชันนี้คือ กราด้อน (รูบี้) และ ไคโอก้า (แซฟไฟร์) โดยตัวเกมได้เข้าสู่รุ่นของเกมบอยอัดวานซ์ (GBA) หลังจากที่ผลิตจากเกมบอยคัลเลอร์เป็นเวลายาวนาน ทำให้เกมนี้ได้ปรับประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องเล่นเก่าคุณภาพกราฟิกต่างๆ ของเกมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มระบบการเล่นใหม่ในรูปแบบการแข่งซึ่งนั่นก็คือแท็กแบทเทิล รวมทั้งความสามารถพิเศษของโปเกมอนและเพิ่มส่วนนิสัย

ในส่วนผู้กำกับเกมได้ จุนอิจิ มัตสึดะ มารับหน้าที่เป็นผู้กำกับเกมนี้ หลังจากที่ ซาโตชิ ทาจิริ ได้กำกับเกมซีรีส์โปเกมอนตั้งแต่ โปเกมอน เรด, กรีน, บลู, พิคาชู, โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ จนกระทั่งได้ลาออกจากการส่วนกำกับในช่วงที่ระหว่างพัฒนาเกมคริสตัลเวอร์ชันอยู่ จึงทำให้ จุนอิจิ มัตสึดะ เข้ามาดูแลงานกำกับเกมนี้เป็นต้นมา

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง รูบี้ และ แซฟไฟร์ คือการปรากฏของโปเกมอนเฉพาะของเวอร์ชันที่มี, ประเภทของโปเกมอนที่ปรากฏ, ข้อความรายละเอียดจากสมุดภาพโปเกมอน และ กลุ่มศัตรูที่แตกต่างกัน โดยรายละเอียดฉากของเกมบทสนทนาของตัวละครจะแตกต่างกันไปในแต่ละเวอร์ชัน

ในส่วนของโปเกมอนได้เพิ่มโปเกมอนตัวใหม่ถึง 135 ชนิดด้วยกันและรวมจากโปเกมอนจำนวน 251 ชนิดที่ปรากฏก่อนหน้านี้ รวมกันเป็น 386 ชนิด ซึ่งได้ถูกเก็บข้อมูลในข้อมูลเกมที่ลง GBA มาแล้ว 5 เกม ในส่วนของตัวเกมมีให้จับเพียง 200 ชนิด ซึ่งจำนวน 200 ชนิดที่ให้จับนั้นมีข้อมูลจากสมุดภาพภูมิภาคเฉพาะโดยเรียกว่า สมุดภาพโฮเอ็น (ホウエン図鑑, Hoenn Dex) (ยกเว้น จิราชิ, เดอ็อกซิส ที่เป็นโปเกมอนมายาซึ่งได้จากแคมเปญต่างๆ) ในส่วนโปเกมอนที่ไม่ได้ถูกบันทึกข้อมูลในสมุดภาพโฮเอ็นนั้น ในช่วงแรกที่วางจำหน่ายเกมยังไม่ได้มีการบอกว่าตามหาที่ไหน จนกระทั่งในอีก 1 ปีถัดมา ได้มีเกม โปเกมอน โคลอสเซียม ที่วางนำหน่ายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 ผลิตสำหรับเกมคิวบ์ และ โปเกมอน ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2004 รวมทั้งเกมเวอร์ชันใหม่ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์ ที่วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2004 ทำให้เกมดังกล่าวสามารถแลกเปลี่ยนหรือโอนข้อมูลมาได้จากโปเกมอน 185 ชนิดที่เหลือ ในส่วนการแลกเปลี่ยนให้กับโคลอสเซียม ทำให้ไม่แสดงผลและไม่สามารถยืนยันในข้อมูลสมุดภาพได้ แต่หากได้รับโปเกมอนอื่นที่ไม่ใช่สมุดภาพโฮเอ็นจะถูกยกยอดในรูปแบบ สมุดภาพประจำชาติ (全国図鑑, National Dex) แทน หากแลกเปลี่ยนโปเกมอนไปยังเกม ไฟร์เรด, ลีฟกรีน และ เอเมอรัลด์ ซึ่งทำให้สามารถลงทะเบียนข้อมูลสมุดภาพตั้งแต่หมายเลข 001 ถึงหมายเลข 386 ได้

ระบบเกม

ความสามารถ

แท็กแบทเทิล

ระบบใหม่ที่ถูกเพิ่มเติมจากเกมโดยเป็นการต่อสู้ที่ใช้โปเกมอนถึง 2 ตัวต่อสู้กัน


พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์

โปเกมอน เอเมอรัลด์
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท โปเกมอน จำกัด
นินเท็นโด
กำกับชิเงกิ โมริโมโตะ
อำนวยการผลิตฮิโรยูกิ จินไน
ฮิโตชิ ยามากามิ
กาคุจิ โนโมโตะ
ฮิโรอากิ ทสึรุ
ศิลปินเค็น ซุงิโมริ
เขียนบทอากิฮิโตะ โตมิซาวา
ฮิโตมิ ซาโต้
โทชิโนบุ มัตสึมิยะ
แต่งเพลงโก อิจิโนเซะ
จุนอิจิ มาสึดะ
โมริคาชุ อาโอกิ
ฮิโตมิ ซาโต้
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์
วางจำหน่าย
  • JP: 16 กันยายน 2547
  • NA: 1 พฤษภาคม 2548
  • AU: 9 มิถุนายน 2548
  • EU: 21 ตุลาคม 2548
แนววิดีโอเกมสวมบทบาท
รูปแบบเล่นคนเดียว, เล่นหลายคน

โปเกมอน เอเมอรัลด์ (อังกฤษ: Pokémon Emerald Version) หรือ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ เอเมอรัลด์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター エメラルドโรมาจิPoketto Monsutā Emerarudo) เป็นเวอร์ชัน ใหม่ที่ต่อยอกมาจากเวอร์ชัน รูบี้ และ แซฟไฟร์ และเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นที่ 3 ของโปเกมอนซีรีส์ โดยหน้าปกเกมโปเกมอนที่ปรากฏตัวคือ เร็คคูซ่า โดยเวอร์ชัน เอเมอรัลด์ มีจุดที่เหมือนและแตกต่างกับ รูบี้ และ แซฟไฟร์ ประกอบไปด้วย การปรากฏของโปเกมอนที่แตกต่างกันกับเวอร์ชันก่อนหน้าและข้อความรายละเอียดของสมุดภาพ แต่มีการเพิ่มบางสถานการณ์และระบบ มีการเปลี่ยนแปลงเช่น การเปลี่ยนแปลงแผนที่และกราฟิกโปเกมอนบางส่วน, เสื้อผ้าของตัวละครหลักที่เปลี่ยนแปลง, การรองรับไวเลสอแด็ปเตอร์ และการเปลี่ยนแปลงฉากเปิดของเกม

ในส่วนแพ็กเกจสินค้าของเกม ได้แถมส่วนไวเลสอแด็ปเตอร์ เช่นเดียวกับ ไฟร์เรด และ ลีฟกรีน ที่วางขายในก่อนหน้านี้ แต่ว่าล็อตที่ผลิตตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ไม่มีแถมส่วนนี้

กระแสตอบรับ

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์76.65%[2]
เมทาคริติก76[3]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
1อัป.คอม7/10[4]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันท์ลี7.17/10[2]
เกมอินฟอร์เมอร์6.5/10[2]
เกมสปอต7.5/10[5]
ไอจีเอ็น8/10[6]
นินเท็นโดเพาเวอร์3.5/5[2]

รูบี้ และ แซฟไฟร์ ได้รับการตอบรับส่วนใหญ่ในด้านดี แม้ว่านักวิจารณ์จะถูกแบ่งกันประเมินเกมกันคนละส่วน โดยเฉพาะการเล่นและกราฟิก ข้อตำหนิส่วนใหญ่คือการเล่นที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากภาคก่อนหน้ามากนัก ความนิยมของเกมโปเกมอนเริ่มลดลงในขณะนั้น และยอดขายของเกมทำได้น้อยกว่าเจนเนอเรชันเก่า อย่างไรก็ตาม เกมยังคงประสบความสำเร็จ ตามข้อมูลของไอจีเอ็น เกมทำยอดขายได้ 16 ล้านหน่วย ถือเป็นเกมที่ขายดีที่สุดบนเครื่องเล่นเกมบอยแอดวานซ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Pokemon Ruby Version for Game Boy". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 22, 2009.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Pokémon Emerald Version". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-06. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
  3. "Pokemon Emerald Version". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
  4. Nutt, Christian (2005-04-29). "Pokemon Emerald: Monster profits, monster rehash, monster fun". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.
  5. Davis, Ryan. "Pokemon Emerald Review". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.[ลิงก์เสีย]
  6. Harris, Craig (2005-05-03). "Pokemon Emerald: The creatures keep multiplying on the handheld, with this "new" edition marking number five for GBA". IGN. สืบค้นเมื่อ 2013-11-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya