โฟตอนโฟตอน (อังกฤษ: photon) หรือ อนุภาคของแสง เป็นการพิจารณาแสงในลักษณะของอนุภาค เนื่องจากในทางฟิสิกส์นั้น คลื่นสามารถประพฤติตัวเหมือนอนุภาคเมื่ออยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ซึ่งในทางตรงกันข้ามอนุภาคก็แสดงสมบัติของคลื่นได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นคุณสมบัติทวิภาคคลื่น–อนุภาค ดังนั้นเมื่อพิจารณาแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะอนุภาค อนุภาคนั้นถูกเรียกว่า โฟตอน ทั้งนี้การพิจารณาดังกล่าวเกิดจากการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่โลหะปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาเมื่อถูกฉายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างเช่น รังสีเอกซ์ (X-ray) อิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมาถูกเรียกว่า "โฟโตอิเล็กตรอน" (photoelectron) ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปรากฏการณ์แฮทซ์" ตามชื่อของผู้ค้นพบ คือ ไฮน์ริช แฮทซ์ โฟตอนมีปฏิยานุภาค คือ ปฏิโฟตอน (อังกฤษ: Anti-Photon) ซึ่งมีสปินเหมือนอนุภาคต้นแบบทุกประการ โฟตอนจึงเป็นปฏิยานุภาคของตัวมันเอง คุณสมบัติทางกายภาพโฟตอนปราศจากมวล[ม 1] ไม่มีประจุไฟฟ้า[1] และเสถียร โฟตอนมีสถานะโพลาไรซ์ที่เป็นไปได้สองสถานะและอธิบายได้โดยตัวแปรที่มีความต่อเนื่องสามตัว: เป็นส่วนประกอบของเวกเตอร์คลื่นซึ่งกำหนดความยาวคลื่น λ และทิศทางของการแพร่กระจายของมัน โฟตอนคือเกจโบซอนเป็นอนุภาคสื่อแรงของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า และดังนั้นเลขควอนตัมอื่น ๆ ทั้งหมดของโฟตอน เช่นจำนวนเลปตอน (lepton number), จำนวนแบริออน (baryon number) และจำนวนเฟลเวอร์ควอนตัม (flavour quantum numbers) จึงเป็นศูนย์ โฟตอนจะถูกปลดปล่อยออกมาในกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย หมายเหตุ
อ้างอิง
|