Share to:

 

โมซูล

โมซูล

الموصل
บนลงล่าง ซ้ายไปขวา:
ทิวทัศน์เหนือแม่น้ำไทกริส
โบสถ์นักบุญโทมัสฮัตรา
พื้นที่เมืองโมซูล • ประตูแม่น้ำ
พิพิธภัณฑ์โมซูล • บ้านมรดก
สมญา: 
Nīnwē ܢܝ݂ܢܘܹܐ
ไข่มุกตอนเหนือ
โมซูลตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
โมซูล
โมซูล
ที่ตั้งในประเทศอิรัก
พิกัด: 36°20′N 43°08′E / 36.34°N 43.13°E / 36.34; 43.13
ประเทศ อิรัก
เขตผู้ว่าการนิเนเวห์
อำเภอโมซูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด180 ตร.กม. (70 ตร.ไมล์)
ความสูง[1]223 เมตร (732 ฟุต)
ประชากร
 (2021)
 • ทั้งหมด1,683,000 คน
 Macrotrends[2]
เขตเวลาUTC+3 (AST)
รหัสพื้นที่60
แผนที่โมซูลและย่านในนครนี้

โมซูล (อังกฤษ: Mosul; ตุรกี: Musul) หรือ อัลเมาศิล (อาหรับ: الموصل, อักษรโรมัน: al-Mawṣil; เคิร์ด: مووسڵ, อักษรโรมัน: Mûsil;[3][4] ซีรีแอก: ܡܘܨܠ, อักษรโรมัน: Māwṣil[5]) เป็นนครหลักในอิรักตอนเหนือ ทำหน้าที่เป็นเมืองหลักของเขตผู้ว่าการนิเนเวห์[6] นครนี้มีประชากรและพื้นที่มากเป็นอันดับสองของประเทศ รองจากกรุงแบกแดด โดยมีประชากรมากกว่า 3.7 ล้านคน โมซูลตั้งอยู่ทางเหนือของแบกแดดประมาณ 400 กิโลเมตร (250 ไมล์)

โมซูลและพื้นที่รอบ ๆ มีประชากรที่หลากหลาย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ ส่วนชาวอัสซีเรีย,[7] เติร์กเมน และเคิร์ด กับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ถือเป็นชนกลุ่มน้อย ในนครนี้มีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีมากที่สุด แต่ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาคริสต์อยู่จำนวนหนึ่ง พร้อมกับผู้ที่นับถือนิกายอื่น ๆ ของศาสนาอิสลาม และศาสนาของชนกลุ่มน้อย

ในอดีต โมซูลมีผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอย่างหินอ่อนและน้ำมัน โมซูลเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโมซูล และวิทยาลัยแพทย์ ศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง

โมซูลกับที่ราบนิเนเวห์ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของชาวอัสซีเรีย[8]

ในเดือนมิถุนายน 2557 นครถูกรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ยึดระหว่างการรุกภาคเหนือของอิรักปี 2557 รัฐบาลยึดคืนได้ในเดือนกรกฎาคม 2560

ภูมิประเทศ

โมซูลตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 223 เมตร ในภูมิภาคเมโสโปเตเมียตอนเหนือของตะวันออกกลาง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลทรายซีเรีย ส่วนทิศตะวันออกติดกับเทือกเขาซากรอส

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของโมซูล
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 21.1
(70)
26.9
(80.4)
31.8
(89.2)
35.5
(95.9)
42.9
(109.2)
44.1
(111.4)
47.8
(118)
49.3
(120.7)
46.1
(115)
42.2
(108)
32.5
(90.5)
25.0
(77)
49.3
(120.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.4
(54.3)
14.8
(58.6)
19.3
(66.7)
25.2
(77.4)
32.7
(90.9)
39.2
(102.6)
42.9
(109.2)
42.6
(108.7)
38.2
(100.8)
30.6
(87.1)
21.1
(70)
14.1
(57.4)
27.76
(81.97)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 7.3
(45.1)
9.1
(48.4)
13.1
(55.6)
18.2
(64.8)
24.5
(76.1)
30.3
(86.5)
34.0
(93.2)
33.4
(92.1)
28.7
(83.7)
22.1
(71.8)
14.2
(57.6)
9.0
(48.2)
20.33
(68.59)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.2
(36)
3.4
(38.1)
6.8
(44.2)
11.2
(52.2)
16.2
(61.2)
21.3
(70.3)
25.0
(77)
24.2
(75.6)
19.1
(66.4)
13.5
(56.3)
7.2
(45)
3.8
(38.8)
12.83
(55.09)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -17.6
(0.3)
-12.3
(9.9)
-5.8
(21.6)
-4.0
(24.8)
2.5
(36.5)
9.7
(49.5)
11.6
(52.9)
14.5
(58.1)
8.9
(48)
-2.6
(27.3)
-6.1
(21)
-15.4
(4.3)
−17.6
(0.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 62.1
(2.445)
62.7
(2.469)
63.2
(2.488)
44.1
(1.736)
15.2
(0.598)
1.1
(0.043)
0.2
(0.008)
0.0
(0)
0.3
(0.012)
11.8
(0.465)
45.0
(1.772)
57.9
(2.28)
363.6
(14.315)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 11 11 12 9 6 0 0 0 0 5 7 10 71
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 158 165 192 210 310 363 384 369 321 267 189 155 3,083
แหล่งที่มา 1: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (UN)[9]
แหล่งที่มา 2: Weatherbase (เฉพาะสูงสุด)[10]


อ้างอิง

  1. Gladstone, Philip (10 February 2014). "Synop Information for ORBM (40608) in Mosul, Iraq". Weather Quality Reporter. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
  2. "Mosul, Iraq Metro Area Population 1950-2021". Macrotrends.
  3. "Nêçîrvan Barzanî: Serxwebûn Mafê Gelê Kurd E" (ภาษาเคิร์ด). Voice of America. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  4. "ئەمساڵ كۆنسۆڵخانەى توركيا لە مووسڵ دووبارە دەكرێتەوە" (ภาษาเคิร์ด). Anadolu Agency. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  5. Thomas A. Carlson et al., “Mosul — ܡܘܨܠ ” in The Syriac Gazetteer last modified June 30, 2014, http://syriaca.org/place/139.
  6. Coker, Margaret (2017-12-10). "After Fall of ISIS, Iraq's Second-Largest City Picks Up the Pieces". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-25.
  7. Unrepresented Nations and People Organization (UNPO). Assyrians the Indigenous People of Iraq [1]
  8. Dalley, Stephanie (1993). "Nineveh After 612 BC." Alt-Orientanlische Forshchungen 20. p.134.
  9. "World Weather Information Service – Mosul". United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-22. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  10. "Mosul, Iraq Travel Weather Averages". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 2012-12-19.

ข้อมูล

  • Nasiri, Ali Naqi; Floor, Willem M. (2008). Titles and Emoluments in Safavid Iran: A Third Manual of Safavid Administration. Mage Publishers. p. 309. ISBN 978-1933823232.
  • Oberling, P. (1984). "AFŠĀR". Encyclopaedia Iranica, Vol. I, Fasc. 6. pp. 582–586. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-29.
  • Rothman, E. Nathalie (2015). Brokering Empire: Trans-Imperial Subjects between Venice and Istanbul. Cornell University Press. ISBN 978-0801463129.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya