แผนที่แสดงที่ตั้งแบกแดดในอิรัก
แบกแดด (อังกฤษ : Baghdad, Bagdad ; อาหรับ : بغداد บัฆดาด ; เคิร์ด : بەغدا ) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตมหานคร ประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรัก[ 2] [ 3] แบกแดดเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอาหรับ (รองจากไคโร ) และใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (รองจากเตหะราน )
ประวัติ
แบกแดดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1305 โดยคอลีฟะห์อัล-มันซูร์ แห่งราชวงศ์อับบาสิยะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไทกริส ติดกับคลองที่เชื่อมแม่น้ำยูเฟรทีส แบกแดดมีความรุ่งเรืองมากในสมัยคอลีฟะห์ฮารูน อัล-เราะชีด เมื่อแรกสร้างนั้น เมืองนี้สร้างขึ้นที่หมู่บ้านเก่าแก่ชื่อแบกแดด อยู่ทางเหนือของเทซิฟอน ที่เคยเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียโบราณ เมื่อสร้างแล้วได้ตั้งชื่อว่า มะดีนะห์ อัลซาเลม แปลว่าเมืองแห่งสันติ แต่คนทั่วไปยังนิยมเรียกว่าแบกแดดตามชื่อเดิม ความยิ่งใหญ่ของแบกแดดในสมับคอลีฟะห์นี้ปรากฏในวรรณคดีอาหรับที่มีชื่อเสียงคือพันหนึ่งราตรี หรืออาหรับราตรี ผู้แต้ช่งดั้งเดิมคืออัล-จาห์ชิยาร์ ในแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิทยาการ โดยนำวิทยาการที่เป็นภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาเปอร์เซีย ภาษาฮินดี มาแปลเป็นภาษาอาหรับ ทำให้แบกแดดมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านโคลงกลอนจากเปอร์เซีย ทางด้านดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จากอินเดีย การแพทย์และวิทยาศาสตร์จากกรีก
ความเสื่อมของแบกแดดเกิดขึ้นเมื่อฮูลากูข่าน ผู้นำมองโกลยกทัพเข้าโจมตีแบกแดดเมื่อ พ.ศ. 1801 นอกจากนั้นยังมีศัตรูจากเติร์กเข้าโจมตีแบกแดดเป็นระยะ ๆ ในที่สุด แบกแดดจึงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ใน พ.ศ. 2181 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงถูกอังกฤษยึดครองได้เมื่อ พ.ศ. 2460 เมื่ออิรัก ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2475 แบกแดดได้เป็นเมืองหลวงของอิรัก แม้จะได้รับการบูรณะให้เป็นเมืองสมัยใหม่ แต่ในแบกแดดก็ยังมีโบราณสถานอยู่หลายแห่งเพราะเป็นเมืองเก่าที่อยู่ในเขตอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 แต่หลังจากที่อิรักเกิดสงครามหลายครั้ง ตั้งแต่สงครามอิรัก-อิหร่าน และสงครามอ่าวเปอร์เซีย สองครั้งทำให้แบกแดดถูกทำลายไปมาก
ภูมิศาสตร์
ภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของแบกแดด
เดือน
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
15.5 (59.9)
18.5 (65.3)
23.6 (74.5)
29.9 (85.8)
36.5 (97.7)
41.3 (106.3)
44.0 (111.2)
43.5 (110.3)
40.2 (104.4)
33.4 (92.1)
23.7 (74.7)
17.2 (63)
30.61 (87.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
9.7 (49.5)
12 (54)
16.6 (61.9)
22.6 (72.7)
28.3 (82.9)
32.3 (90.1)
34.8 (94.6)
34 (93)
30.5 (86.9)
24.7 (76.5)
16.5 (61.7)
11.2 (52.2)
22.77 (72.98)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
3.8 (38.8)
5.5 (41.9)
9.6 (49.3)
15.2 (59.4)
20.1 (68.2)
23.3 (73.9)
25.5 (77.9)
24.5 (76.1)
20.7 (69.3)
15.9 (60.6)
9.2 (48.6)
5.1 (41.2)
14.87 (58.76)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)
26 (1.02)
28 (1.1)
28 (1.1)
17 (0.67)
7 (0.28)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
3 (0.12)
21 (0.83)
26 (1.02)
156 (6.14)
ความชื้น ร้อยละ
71
61
53
43
30
21
22
22
26
34
54
71
42.3
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย
5
5
6
4
2
0
0
0
0
1
5
6
34
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด
192.2
203.4
244.9
255.0
300.7
348.0
347.2
353.4
315.0
272.8
213.0
195.3
3,240.9
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization (UN )[ 4]
แหล่งที่มา 2: Climate & Temperature[ 5] [ 6]
เมืองพี่น้อง
อ้างอิง
↑ Petersen, Andrew (13 กันยายน 2011). "Baghdad (Madinat al-Salam)" . Islamic Arts & Architecture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 16 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 .
↑ การประมาณการจำนวนประชากรทั้งหมดแต่ละชิ้นนั้นแตกต่างอย่างสำคัญ Encyclopædia Britannica ระบุจำนวนในปี พ.ศ. 2544 ว่า 4,950,000 คน ในขณะที่ 2006 Lancet Report ระบุจำนวน 6,554,126 ในปี พ.ศ. 2547
↑ "Cities and urban areas in Iraq with population over 100,000" , Mongabay.com
↑ "World Weather Information Service – Baghdad" . World Meteorological Organization. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2013 .
↑ "Baghdad Climate Guide to the Average Weather & Temperatures, with Graphs Elucidating Sunshine and Rainfall Data & Information about Wind Speeds & Humidity" . Climate & Temperature. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2011 .
↑ "Monthly weather forecast and climate for Baghdad, Iraq" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2020 .
↑ 7.0 7.1 7.2 "Twinning the Cities" . City of Beirut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2008 .
↑ Corfield, Justin (2013). Historical Dictionary of Pyongyang . London: Anthem Press. p. 196. ISBN 978-0-85728-234-7 .
บรรณานุกรม
สาคร ช่วยประสิทธิ์. แบกแดด ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 328–330. ISBN 974-8122-83-2 .
อ่านเพิ่ม
บทความ
หนังสือ
Pieri, Caecilia (2011). Baghdad Arts Deco: Architectural Brickwork, 1920–1950 (1st ed.). The American University in Cairo Press. p. 160. ISBN 978-977-416-356-2 .
"Travels in Asia and Africa 1325-135" by Ibn Battuta.
"Gertrude Bell : the Arabian diaries,1913–1914." by Bell Gertrude Lowthian, and O'Brien, Rosemary.
"Historic cities of the Islamic world". by Bosworth, Clifford Edmund.
"Ottoman administration of Iraq, 1890–1908." by Cetinsaya, Gokhan.
"Naked in Baghdad." by Garrels, Anne, and Lawrence, Vint.
"A memoir of Major-General Sir Henry Creswicke Rawlinson." by Rawlinson, George.
Stanek, Łukasz (2020). Architecture in global socialism : Eastern Europe, West Africa, and the Middle East in the Cold War . Princeton. ISBN 978-0-691-19455-4 .
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิท่องเที่ยว มีคำแนะนำการท่องเที่ยวสำหรับ
แบกแดด
เอเชียเหนือ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
มอสโก , รัสเซีย †
ดูชานเบ , ทาจิกิสถาน
ทาชเคนต์ , อุซเบกิสถาน
บิชเคก , คีร์กีซสถาน
อัสตานา , คาซัคสถาน †
อาชกาบัต , เติร์กเมนิสถาน
โซล , เกาหลีใต้
โตเกียว , ญี่ปุ่น
ไทเป , ไต้หวัน
ปักกิ่ง , จีน
ฮ่องกง , ฮ่องกง (จีน )
มาเก๊า , มาเก๊า (จีน )
เปียงยาง , เกาหลีเหนือ
อูลานบาตาร์ , มองโกเลีย
กรุงเทพมหานคร , ไทย
กัวลาลัมเปอร์ ,มาเลเซีย
จาการ์ตา , อินโดนีเซีย †
ดิลี , ติมอร์-เลสเต
เดอะเซตเทิลเมนต์ , เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย )
เนปยีดอ , พม่า
บันดาร์เซอรีเบอกาวัน , บรูไน
พนมเปญ , กัมพูชา
พอร์ตมอร์สบี , ปาปัวนิวกินี
มะนิลา , ฟิลิปปินส์
เวียงจันทน์ , ลาว
สิงคโปร์ , สิงคโปร์
ฮานอย , เวียดนาม
เวสต์ไอแลนด์ , หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) (ออสเตรเลีย )
คูเวตซิตี , คูเวต
ซานา , เยเมน
ดามัสกัส , ซีเรีย
โดฮา , กาตาร์
เตหะราน , อิหร่าน
ทบิลีซี , จอร์เจีย †
นิโคเซีย , ไซปรัส †
นอร์ทนิโคเซีย , นอร์เทิร์นไซปรัส †
บากู , อาเซอร์ไบจาน †
เบรุต , เลบานอน
แบกแดด , อิรัก
มัสกัต , โอมาน
มานามา , บาห์เรน
เยรูซาเลม , อิสราเอล #
เยรูซาเลมตะวันออก , ปาเลสไตน์ #
เยเรวาน , อาร์มีเนีย †
รียาด , ซาอุดีอาระเบีย
อังการา , ตุรกี †
อัมมาน , จอร์แดน
อาบูดาบี , สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นานาชาติ ประจำชาติ ภูมิศาสตร์ อื่น ๆ