Share to:

 

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สาธิตบ้านสมเด็จ
อาคารประมวญวิชาพูล (อาคาร 18) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ซอยอิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600

ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
คติพจน์สจฺจํ เว อมตา วาจา
(วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย)
ก่อตั้ง17 มีนาคม พ.ศ. 2439 (128 ปี)
ผู้ก่อตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ผู้อำนวยการสิริชัย เอี่ยมสอาด
การลงทะเบียน700 คน
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีนกลาง
สี   ม่วงและขาว
เว็บไซต์Satit.BSRU

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (อังกฤษ: The Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University; ย่อ: บ.ส. / satit bsru) เรียกอย่างย่อว่า สาธิตบ้านสมเด็จ เป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ก่อตั้งโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2439 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 128 ปี โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และเคยเป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี[1]

โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ซอยอิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง ได้แก่ อาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) อาคารสุริยาคาร (อาคาร 19) และอาคารวิทยาศาสตร์ (อาคาร 20) โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จเป็นโรงเรียนที่มุ่งพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความเป็นเลิศทางวิชาการ เป็นต้นแบบฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นำนวัตกรรมทางการศึกษามาจัดการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนชั้นนำ โรงเรียนผลิตศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ปราปต์ นักเขียน นักแสดง นักวิจัย บุคคลากรทางการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย

โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ เป็นโรงเรียนที่ขึ้นชื่อเรื่อง "อิสระและเสรีภาพของนักเรียน" เป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากคำกล่าวของอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ อาจารย์เจียมศักดิ์ คงสงค์ ที่ได้เคยกล่าวไว้ว่า "เด็กไม่ใช่สัตว์เลี้ยง ไม่ต้องขังคอก"[2] เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจึงทำให้โรงเรียนไม่มีประตูและรั้วเหมือนโรงเรียนอื่น ทำให้นักเรียนสามารถเข้าออกโรงเรียนได้อย่างอิสระ ตอนพัก นักเรียนสามารถออกมาหาซื้ออุปกรณ์การเรียน ถ่ายเอกสาร ได้ด้วยตนเองทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้ชีวิตภายในโรงเรียน ในช่วงพักกลางวันนักเรียนส่วนใหญ่มักจะออกไปรัปประทานอาหารข้างหน้าปากซอยหรือบิ๊กซีอิสรภาพ บางกลุ่มก็อาจจะไปไกลถึงไอคอนสยาม วังหลังหรือเซ็นทรัลปิ่นเกล้าเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็ทำให้นักเรียนได้ฝึกความรับผิดชอบและการบริหารเวลาไปโดยปริยาย

ประวัติ

พ.ศ. 2439 สถานศึกษาอันมีชื่อว่า “บ้านสมเด็จเจ้าพระยา” เกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะตั้งโรงเรียน Public School  แบบอังกฤษโดยโปรดให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้    มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นประธานที่ประชุมเห็นว่าจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย หลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 เป็นที่กว้างขวางใหญ่โตเห็นสมควรจัดตั้งเป็นโรงเรียน ให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชวิทยาลัย” เปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2439 แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “โรงเรียนฟากขะโน้น” หรือ “โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ตราของโรงเรียนเป็นรูปจุลมงกุฎ การแต่งกายนุ่งผ้าสีครามแก่เสื้อขาว มีนายเอ ซี เป็นอาจารย์ใหญ่ ครั้นต่อมาการศึกษาขยายตัวขึ้นเป็นลำดับทำให้สถานที่คับ โรงเรียนราชวิทยาลัยจึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลไผ่สิงโต ปทุมวัน ข้างวังสระปทุมวัน จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ว่างลง ในขณะนั้นการศึกษาระหว่างหัวเมืองกับกรุงเทพมหานครเหลื่อมล้ำกันมาก เนื่องจากคุณภาพของครูแตกต่างกันกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นที่จวนของสมเด็จเจ้า “โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก” สำหรับผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อสอนในหัวเมือง เริ่มเปิดสอนเมื่อวันที่  1 พฤษภาคม บำเน็จวรญาณ เป็นอาจารย์ใหญ่ การจัดการศึกษาฝึกหัดครูระยะนั้นได้ขยายตัวออกไปต่างจังหวัดมากขึ้น จึงทำให้ความจำเป็นที่จะส่งนักเรียนมาเรียน ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาลดน้อยลงทางราชการเห็นว่าการฝึกหัดอาจารย์ที่มีอยู่เดิมจะให้ได้ประโยชน์อย่างสูงควรจัด โรงเรียนประจำ จึงให้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์เทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นนักเรียนกลางวันมาอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตกแล้ว เรียกชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝั่งตะวันตก” เมื่อ พ.ศ. 2449 ขุนวิเทศดรุณกิจเป็นอาจารย์ใหญ่ และต่อมาเป็น “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน) แต่ยังตั้งอยู่ที่เดิมจนถึงปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ไปอยู่ที่วังใหม่ (กรีฑาสถานแห่งชาติ (ไทย) ในปัจจุบัน) ทำให้จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่างลง ทางราชการจึงได้ตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้น ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นใหม่ เรียกว่า “โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ตั้งแต่วันที่  17  พฤษภาคม พ.ศ. 2458 มีพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) เป็นอาจารย์ใหญ่ รับนักเรียนประจำโดยมีโรงเรียนใกล้เคียงเข้าร่วมเป็นสาขาของสถานศึกษาแห่งนี้ ได้แก่ โรงเรียนวัดอนงค์มาเป็นนักเรียนกลางวัน และจัดให้โรงเรียนมัธยมสุขุมาลัย  (ตั้งอยู่ที่วัดพิชัยญาติ) โรงเรียนประถมวัดอนงค์ เป็นสาขาโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ส่วนสถานที่โรงเรียนมัธยมวัดอนงค์ไปรวมกับโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาแล้วให้มอบสถานที่นั้นแก่โรงเรียนประถมวัดอนงค์ ในยุคแรก ๆ ที่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาสอนตามหลักสูตรของกรมศึกษาธิการตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ส่วน ชั้นประถม 1 – 3 ให้นักเรียนไปเรียนที่ประถมอนงค์ ชั้นมัธยม 1 – 3 ไปเรียนที่โรงเรียนสุขุมาลัย เพราะโรงเรียนทั้งสองเป็นสาขาของโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และโรงเรียนทั้งสามมีความสัมพันธ์เป็นประหนึ่งโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง นักเรียนที่จบจากโรงเรียนประถมอนงค์จะมาเรียนต่อชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสุขุมาลัย และเมื่อจบจากโรงเรียนสุขุมาลัยแล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยไม่ต้องสมัครเข้าเรียนใหม่  การบริหารโรงเรียนขึ้นอยู่กับอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงปี พ.ศ. 2459  จึงได้ขอเปิดชั้นมัธยมตอนปลายปีที่ 7  และมัธยมปีที่ 8 ในปีต่อมา

ในขณะนั้นประเภทนักเรียน แบ่งนักเรียนเป็นสองประเภท คือ นักเรียนประจำโรงเรียน กินอยู่ หลับนอนในโรงเรียน และนักเรียนกลางวัน เช้ามาเรียนเย็นกลับบ้าน โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีต สีประจำโรงเรียน คือ   สีม่วง   สีขาว หมวกพื้นสีม่วง ตราประจำโรงเรียนคือ รูปตราสุริยมณฑล ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และคติพจน์ประจำโรงเรียน คือ สจฺจํ เว อมตา วาจา (วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย) อักษรย่อของโรงเรียนคือ "บ.ส."

การเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ  มีจำนวนนักเรียนมากขึ้นทุกปี ถึงปลายปี พ.ศ. 2473 ทางราชการมีความจำเป็นจะต้องตัดถนนจากสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ผ่านสถานที่ของโรงเรียน สถานที่จึงถูกรื้อ ที่เหลือไม่เพียงพอจะทำเป็นโรงเรียนประจำอีกต่อไป  พระวิเศษศุภวัตร์ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ในสมัยนั้นได้เจรจาผ่านกระทรวงธรรมการขอแลกเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงเรียนกับโรงเรียนศึกษานารี ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กและมีจำนวนเด็กน้อย

กระทรวงธรรมการเห็นชอบจึงได้ย้ายโรงเรียนศึกษานารี (บ้านคุณหญิงพัน) ไปอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาส่วนที่เหลือและใช้ชื่อโรงเรียนศึกษานารีตามเดิม ส่วนสถานที่โรงเรียนศึกษานารีเก่าได้ดัดแปลงก่อสร้างเป็นโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาต่อไป และกระทรวงคลังมหาสมบัติได้มอบที่ดินให้อีกแปลง คือ แปลงที่ 1 ทิศใต้ของโรงเรียนศึกษานารีเดิมทำเป็นสนามและอีกแห่งหนึ่ง ตำบลบางไส้ไก่เพื่อสร้างหอนอนนักเรียน และห้องเรียน

พ.ศ. 2474 โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงต้องย้ายมาเรียนในสถานที่ใหม่ นับเป็นครั้งแรกที่นักเรียนระดับประถม และนักเรียนระดับมัธยมมาเรียนร่วมกัน ซึ่งมีทั้งนักเรียนประจำ และไม่ประจำโดยย้ายนักเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประถมอนงค์และนักเรียนชั้นมัธยมที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนสุขุมาลัย เฉพาะนักเรียนประจำของโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยามาเรียนในสถานที่แห่งเดียวกัน นับแต่นั้นมาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยากับโรงเรียนประถมอนงค์และโรงเรียนสุขุมาลัยจึงเหินห่างกัน เพราะโรงเรียนทั้งสอง ไม่ต้องขึ้นอยู่กับโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอีกต่อไป

การดำเนินการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับมีชื่อเสียงดีเด่นเป็นที่ปรากฏทั่วไปทั้งทางด้านการเรียน  การกีฬา และนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาไปจากสถาบันนี้ออกไปประกอบอาชีพมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งในตำแหน่งทางราชการและอาชีพส่วนตัว ศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กระจายออกไปอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ บางท่านมีความเจริญก้าวหน้าถึงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยาถือว่าเป็นโรงเรียนชั้นนำโรงเรียนหนึ่งของกรุงเทพฯ ในยุคนั้นนับว่าเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรบุคคลที่สำคัญแห่งหนึ่ง

พ.ศ. 2479 กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงแผนการศึกษาใหม่ให้เปลี่ยนชั้นประโยคชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.7 – ม.8) เป็นชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ 1 – 2 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่ออีก 2 ปี จึงได้ยุบมัธยมสามัญตอนปลายในโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คงให้เปิดสอนเพียงมัธยมปีที่ 6

พ.ศ. 2484 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายผลิตครูมากขึ้นจึงให้เปิดสอน แผนกฝึกหัดครูอีกแผนกหนึ่ง มีชื่อ “โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” คู่กับโรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แผนกฝึกหัดครูแห่งนี้เปิดรับนักเรียนทุนของจังหวัด ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และได้เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เป็นโรงเรียน พ.ศ. 2499 ได้ยุบหลักสูตรดังกล่าวและเปิดสอนหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง

พ.ศ. 2501 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและโรงเรียนมัธยมศึกษาบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเปลี่ยนเป็น โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2530 คณะผู้บริหารของวิทยาลัยในขณะนั้นได้พิจารณาแยกการบริหารงานโรงเรียนสาธิตออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายประถมศึกษาเป็นโรงเรียนประถมสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 – ป.6 โดยอาศัยตึกครุศาสตร์ชั้น 2 อาคาร 9 เป็นที่เรียน ส่วนฝ่ายมัธยมเป็นโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ม.1 – ม.6  โดยใช้อาคารเรียนหลังเดิมและอาคารวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นที่เรียน

พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศใช้ “พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ” วิทยาลัยครูทั่วประเทศจึงเปลี่ยนสภาพมาเป็นสถาบันราชภัฏดังนั้นโรงเรียนมัธยมสาธิตจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

พ.ศ. 2544 คณะผู้บริหารสถาบันราชภัฏได้ดำเนินการขออนุมัติสร้างอาคารประถมสาธิตฯ เป็นอาคาร 6 ชั้น ด้วยงบประมาณก่อสร้าง 28 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จและย้ายมาอยู่อาคารใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545

11 มีนาคม พ.ศ. 2547 โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุพล วุฒิเสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาใช้อาคารวิเศษศุภวัตรเป็นอาคารเรียนสำหรับจัดการศึกษาให้เด็กอายุ 3-5 ปี แบ่งเป็น 3 ระดับชั้นคือชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 1-3 และเริ่มเปิดรับนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษา ปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2547 เป็นรุ่นแรก

14  มิถุนายน  พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏทุกแห่งได้รับการยกวิทยฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ  พ.ศ. 2547 ดั้งนั้น ได้ลงประกาศในราชกิจนุเบกษา  ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอน 23 ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดังนั้น โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้จัดตั้งการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย  ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนประถมสาธิต และ โรงเรียนมัธยมสาธิต โดยแต่ละโรงเรียนจะมีผู้อำนวยการเป็นผู้บริหาร และขึ้นตรงต่อโรงเรียนสาธิตโดยมี นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต

พ.ศ. 2552 โรงเรียนสาธิตมีกาจัดตั้งเป็น "สำนักโรงเรียนสาธิต" เดิมการบริหารงานของโรงเรียนสาธิตเป็นหน่วยงานย่อยสังกัดคณะครุศาสตร์ จากการบริหารงานพบว่าไม่มีความคล่องตัวในการบริหารงานจึงแยกโรงเรียนสาธิตออกจากคณะครุศาสตร์และจัดตั้งเป็นส่วนงานภายในเรียกว่า "สำนักโรงเรียนสาธิต" ประกอบด้วยศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนประถมสาธิต และโรงเรียนมัธยมสาธิต โดยให้มีการบริหารและจัดการภายในหน่วยงานเองโดยใช้งบรายได้ของโรงเรียน

16 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ให้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นเป็นส่วนงานภายในที่มีฐานะเทียบเท่าคณะแทนสำนักโรงเรียนสาธิต เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบริหารจัดการ โดยโรงเรียนสาธิตประกอบด้วยศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัน โรงเรียนประถมสาธิต และมัธยมสาธิตโดยมี นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ
ลำดับ ภาพถ่าย รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
0 นายเอ ซี ตั้งแต่ 17 มีนาคม 2439[3](ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนราชวิทยาลัย)
1
พระยาประมวญวิชาพูล
พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2458[3] - พ.ศ. 2470[4](ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ)
2 พระวิเศษศุภวัตร์ (เทศสุนทร กาญจนะศัพท์) พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2481[5]

(ยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับ ผู้อำนวยการระหว่างปี พ.ศ. 2481-พ.ศ.2547)

เจียมศักดิ์ คงสงค์[6] ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2547

สิ้นสุดวาระ พ.ศ. 2550

ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2550

16 ตุลาคม 2558[7] - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563[8] - พ.ศ. 2564

สิริชัย เอี่ยมสอาด ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก

อาคาร

โรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ ประกอบด้วยอาคารเรียนหลัก 3 หลัง ได้แก่

  1. อาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18)
    อาคารประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) อาคาร 18 ในปัจจุบันเป็นอาคารเรียนหลักของโรงเรียนสาธิตบ้านสมเด็จ
    อาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นอาคารเรียนหลังหลักมีทั้งหมด 12 ชั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้ง ห้องประชุม ห้องเกียรติยศ ห้องนันทนาการ ห้องกีฬา ต่าง ๆ ยิมเนเซียม ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นต้น เดิมอาคาร 18 เป็นอาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารไม้สูง 2 ชั้น แต่ภายหลังปีพ.ศ. 2558 ได้มีการรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นอาคารเรียนหลักหลังใหม่ที่ทันสมัยและใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต โดยอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) เปิดใช้งานครั้งแรก ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560
  2. อาคารสุริยาคาร (อาคาร 19)
    อาคารสุริยาคาร (อาคาร 19)
  3. อาคารวิทยาศาสตร์ (อาคาร 20)
    อาคารวิทยาศาสตร์ (อาคาร 20)
  4. บ้านเอกะนาค

สิ่งอำนวยความสะดวกและการเรียนรู้

  1. ห้องประชุมใหญ่
  2. โรงยิมเนเซียม
  3. ห้องนาฏศิลป์
    • ห้องนาฏศิลป์ ตั้งอยู่ที่ ปีกขวา ชั้น 11 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องเรียนรวมสำหรับรายวิชานาฏศิลป์ มีการติดตั้งกระจกเงาไว้ภายในตัวห้อง อาจารย์ผู้ดูแล: อาจารย์ธัญพิสิษฐ์ พันธ์ทองดี
  4. ห้องดนตรี
    • ห้องดนตรี ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 11 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) ห้องดนตรีประกอบด้วยห้องดนตรีสากลและห้องดนตรีไทย ห้องดนตรีสากล เป็นห้องเรียนรวมรายวิชาดนตรีสากล มีเครื่องดนตรีเพรียบพร้อมและหลังเวลาเลิกเรียนนักเรียนสามารถมาจองห้องดนตรีเพื่อฝึกซ้อมได้อีกด้วย ภายในห้องดนตรียังมีห้องซ้อมเดี่ยวอีก 2 ห้อง และห้องเก็บของ ในส่วนของห้องดนตรีไทยมีเครื่องดนตรีไทยเพรียบพร้อมให้นักเรียนได้ใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างคล่องตัว
  5. ห้องอเนกประสงค์
    • ห้องอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 10 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) ห้องอเนกประสงค์ เป็นห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศสามารถใช้ได้ในหลายโอกาส เช่น การเรียนและการแสดงลีลาศ การเรียนในภาคทฤษฏีของรายวิชาพลศึกษา การนับผลและประกาศผลการเลือกตั้งประธานนักเรียน การสัมมนาในกลุ่มเล็ก ๆ เช่น ในระดับชั้น หรือ การเรียนรวม เป็นต้น
  6. ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
    • ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 9 ห้องริมสุด ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องทำงานของอาจารย์ฝ่ายภาษาต่างประเทศทั้งหมด และสำหรับให้นักเรียนมาติดต่อกับอาจารย์ฝ่ายภาษาต่างประเทศ
  7. ห้องปฏิบัติการ iPad
    • ห้องปฏิบัติการ iPad ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ติดกับห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้น 9 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) ห้องปฏิบัติการ iPad เป็นห้องเรียนให้นักเรียนใช้ iPad ในการเรียนรู้
  8. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
    • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 8 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับการเรียนรู้รายวิชาคอมพิวเตอร์ มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยระบบปฏิบัติการ Windows และเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนทุกคน นักเรียนสามารถจองการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการทำงานได้ อีกทั้งยังมีบริการพิมพ์เอกสารด้วยตนเองอีกด้วย
  9. ห้องชมรมหุ่นยนตร์
    • ห้องชมรมหุ่นยนตร์ ตั้งอยู่ที่ปีกขวา ติดกับห้องปฏิบัติการภาษา และห้องน้ำชาย ชั้น 8 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องของชมรมหุ่นยนต์ที่นักเรียนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานได้ทั้งเพื่อการเรียนรู้ หรือเพื่อใช้งานอุปกรณ์ในห้องเช่น สว่าน หรือเครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นต้น
  10. ห้องปฏิบัติการภาษา
    • ห้องปฏิบัติการภาษา ตั้งอยู่ที่ ปีกขวา ชั้น 8 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องสำหรับการเรียนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของการฟัง โดยนอกจากการใช้เป็นห้องเรียนรวมแล้วห้องปฏิบัติการภาษายังนำไปใช้เพื่อการทดสอบระดับภาษาอังกฤษ (CEFR) ประจำปีของนักเรียนอีกด้วย
  11. ห้องสมุด
    • ห้องสมุด ตั้งอยู่ที่ ปีกขวา ชั้น 7 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) ห้องสมุดมีหนังสือให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้มากมาย และยังมีกระดานโปรเจกเตอร์ ลำโพง โต็ะ และเก้าอี้อ่านหนังสือ สำหรับงานสัมมนา หรืองานประชุมวิชาการ อาจารย์ผู้ดูแล: อาจารย์ยุพาวดี นุตะมาน
  12. ห้องแนะแนว
    • ห้องแนะแนว ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 7 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) อยู่ติดกับห้องเกียรติยศ ห้องแนะแนวเป็นห้องสำหรับรายวิชาแนะแนว สำหรับการแนะแนวการเรียนต่อ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษาต่าง ๆ อาจารย์ผู้ดูแล: อาจารย์ยุพาวดี นุตะมาน
  13. ห้องเกียรติยศ
  14. ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
    • ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 6 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องทำงานของอาจารย์ฝ่ายสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งหมด และสำหรับให้นักเรียนมาติดต่อกับอาจารย์ฝ่ายสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  15. ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
    • ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ห้องริมสุด ชั้น 5 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องทำงานของอาจารย์ฝ่ายสุขศึกษาและพลศึกษาทั้งหมด และสำหรับให้นักเรียนมาติดต่อกับอาจารย์ฝ่ายสุขศึกษาและพลศึกษา
  16. ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
    • ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ห้องริมสุด ชั้น 4 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องทำงานของอาจารย์ฝ่ายภาษาไทยทั้งหมด และสำหรับให้นักเรียนมาติดต่อกับอาจารย์ฝ่ายภาษาไทย
  17. ห้องการเรียนรู้ Gifted Program
  18. ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
    • ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ ปีกซ้าย ชั้น 3 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) เป็นห้องทำงานของอาจารย์ฝ่ายคณิตศาสตร์ทั้งหมด และสำหรับให้นักเรียนมาติดต่อกับอาจารย์ฝ่ายคณิตศาสตร์
  19. ห้องชมรมบอร์ดเกมส์
  20. ห้องเรียน
    • ห้องเรียน ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3, 4, 5, 6, 9, 10 ของอาคารพระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญ-หลง) (อาคาร 18) ห้องเรียนมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอและทันสมัย ได้แก่
      • โปรเจคเตอร์ พานาโซนิค รุ่น PT-TX312 พร้อมฉากรับภาพ
      • ลำโพงสเตอริโอแบบคู่สำหรับเชื่อมต่อสื่อหรือไมโครโฟน
      • แอมพลิไฟเออร์สำหรับจัดการเสียงออกและขยายเสียง
      • เต้ารับรวมจุดอยู่ที่ด้านหน้าห้องเพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อ ได้แก่ HDMI, LAN, RJ11, VGA, 3.5 mm Audio Connector, 6.5 mm Audio Connector
      • ปลั๊กไฟฟ้าโดยรอบห้องสำหรับนักเรียนและอาจารย์
      • เครื่องปรับอากาศแบบคู่
      • พัดลมระบายอากาศ
      • บอร์ดคู่สำหรับติดประกาศ
      • ล็อกเกอร์สำหรับนักเรียน
  21. ห้องวิชาการ ห้องธุรการ และห้องผู้บริหาร
  22. ห้องประชาสัมพันธ์
  23. ห้องพยาบาล
  24. ลิฟท์
  25. ห้องประชุม (ชั้น 1)
  26. ลานอเนกประสงค์ (ชั้น 1)
  27. สนามบาสเกตบอล
  28. สนามเปตอง
  29. ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  30. ห้องปฏิบัติการเคมี
  31. ห้องปฏิบัติการชีววิทยา
  32. ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
  33. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
  34. ห้องคหกรรม
  35. ห้องพระ

หลักสูตร

  • มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3)
    1. สายการเรียนปกติ
      • สายการเรียนปกติ ประกอบด้วย 3 ห้องเรียน ต่อ 1 ระดับชั้น นักเรียนโดยประมาณ 120 คน ต่อระดับชั้น
    2. Gifted Program
      • Gifted Program ประกอบด้วย 1 ห้องเรียน ต่อ 1 ระดับชั้น นักเรียนโดยประมาณ 40 คน ต่อระดับชั้น
  • มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.4 - ม.6)
    1. สายการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
      • สายการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ห้องเรียน ต่อ 1 ระดับชั้น นักเรียนโดยประมาณ 80 คน ต่อระดับชั้น
    2. สายการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
      • สายการเรียนภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 1 ห้องเรียน ต่อ 1 ระดับชั้น นักเรียนโดยประมาณ 40 คน ต่อระดับชั้น
    3. สายการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน
      • สายการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน ประกอบด้วย 1 ห้องเรียน ต่อ 1 ระดับชั้น นักเรียนโดยประมาณ 40 คน ต่อระดับชั้น
    4. สายการเรียนพลศึกษา
      • สายการเรียนพลศึกษา ประกอบด้วย 1 ห้องเรียน ต่อ 1 ระดับชั้น นักเรียนโดยประมาณ 40 คน ต่อระดับชั้น

อ้างอิง

  1. จำลอง ศรีเมือง - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า (kpi.ac.th)
  2. "Surakan Dahlan". www.facebook.com.
  3. 3.0 3.1 ประวัติโรงเรียน – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (bsru.ac.th)
  4. ปรีดี พนมยงค์ ทนายความคณะผดุงธรรม และการอภิวัฒน์ 2475 | สถาบันปรีดี พนมยงค์ PRIDI BANOMYONG INSTITUTE : Pridi.or.th
  5. พระยาวิเศษศุภวัตร์ (เทศสุนทร กาญจนะศัพท์) (พ.ศ.๒๔๗๓–๒๔๘๐) – ห้องเกียรติประวัติ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา (bsru.ac.th)
  6. พระประธานประจำโรงเรียน – โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (bsru.ac.th)
  7. ประวัติโรงเรียน (bansomdej.ac.th)
  8. "Facebook". www.facebook.com.
Kembali kehalaman sebelumnya