Share to:

 

ไบรอัน แมคแคลร์

ไบรอัน แมคแคลร์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ไบรอัน จอห์น แมคแคลร์[1]
วันเกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
สถานที่เกิด เบลส์ฮิลล์
ตำแหน่ง กองหน้า, กองกลาง
สโมสรเยาวชน
1980–1981 แอสตันวิลลา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1981–1983 มาเธอร์เวลล์ 40 (15)
1983–1987 กลาสโกว์ เซลติก 145 (99)
1987–1998 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 355 (88)
1998 มาร์เธอร์เวลล์ 11 (0)
รวม 551 (202)
ทีมชาติ
1983–1985 สกอตแลนด์ ยู-21 8 (2)
1986–1993 ทีมชาติสกอตแลนด์ 30 (2)
1990 สกอตแลนด์ บี 1 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ไบรอัน จอห์น แมคแคลร์ (อังกฤษ: Brian John Mcclair; เกิด 8 ธันวาคม 1963) เป็นโค้ชฟุตบอลและอดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวสกอตแลนด์ ในฐานะนักเตะ เขาเล่นในตำแหน่งกองหน้าตั้งแต่ปี 1980 ถึง 1998 โดยช่วงเวลาที่น่าจดจำที่สุดคือช่วงเวลาเกือบ 11 ปีที่เขาอยู่กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ระหว่างปี 1987 ถึง 1998 ซึ่งเขาคว้าแชมป์ไปทั้งหมด 14 รายการ รวมถึงแชมป์พรีเมียร์ลีก 4 สมัย เอฟเอคัพ 2 สมัย และยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพในปี 1991

รวมถึงเป็นผู้เล่นคนสำคัญของกลาสโกว์เซลติก และมาเธอร์เวลล์ ที่มาเธอร์เวลล์ เขาผสมผสานฟุตบอลเข้ากับการเรียนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์[2] เขามีชื่อเล่นว่า "ชอคซี" เนื่องจากนามสกุลของเขาคล้องจองกับ "เอแกลร์ช็อกโกแลต" อันโอชะ[3]

แมคแคลร์ลงเล่นให้ทีมชาติสกอตแลนด์ 30 นัดระหว่างปี 1986 ถึง 1993 และได้รับเลือกให้ติดทีมในยูโร 92

หลังจากแขวนสตั๊ดกับมาเธอร์เวลล์ในปี 1998 แมคแคลร์เริ่มต้นรับบทบาทโค้ชที่แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ก่อนจะกลับมาที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเขาใช้เวลา 9 ปีในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเยาวชน

ระดับสโมสร

เริ่มต้นอาชีพ

แมคแคลร์เริ่มต้นอาชีพของเขากับแอสตันวิลลาเมื่อออกจากโรงเรียนในปี ค.ศ. 1980 แต่ออกจากสโมสรหลังจากอยู่ได้เพียง 1 ฤดูกาล (ซึ่งฤดูกาลนั้นวิลลาเป็นแชมป์ฟุตบอลลีกครั้งสุดท้าย) โดยไม่เคยลงเล่นเลยแม้แต่นัดเดียว

จากนั้นเขาก็กลับไปสกอตแลนด์ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1981 และเซ็นสัญญากับมาเธอร์เวลล์[4] ในตอนแรกเขาเป็นกองกลาง แต่จ็อก วอลเลซ ผู้จัดการทีมในเวลานั้น เปลี่ยนให้เขาเป็นกองหน้า[5] แมคแคลร์ทำประตูในลีก 15 ประตูใน 2 ฤดูกาล รวมถึงแฮตทริกที่เฟอร์พาร์คในเกมชนะกลาสโกว์เรนเจอส์ 3–0 เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1983[6] และสองประตูในเกมชนะกลาสโกว์เซลติก 2–1 ในอีก 11 วันต่อมา[7]

กลาสโกว์เซลติก

ในเดือนพฤษภาคม 1983 บิลลี แมคนีล อดีตกัปตันทีมเซลติกที่นำสโมสรคว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพในปี 1967 ซึ่งขณะนั้นเขาเป็นผู้จัดการทีมของเซลติกได้เซ็นสัญญากับแมคแคลร์เข้าสู่สโมสรด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์ แม็คแคลร์เป็นผู้เล่นที่เซ็นสัญญาเข้ามาแทนที่ชาร์ลี นิโคลัสที่เพิ่งขายให้กับอาร์เซนอล[8] อย่างไรก็ตาม แมคแคลร์ไม่เคยเล่นให้กับแมคนีลเนื่องจาก แมคนีลลาออกในเดือนมิถุนายนและถูกแทนที่ด้วยเดวี่ เฮย์[8]

แมคแคลร์ทำประตูได้ในเกมเปิดตัวที่พบกับพาร์ทิค ธิสเซิล ซึ่งเซลติกชนะ 2–0 ที่เฟอร์ฮิลล์ในศึกกลาสโกว์คัพเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1983[9] แมคแคลร์จบฤดูกาลแรกที่เซลติกได้อย่างน่าประทับใจ โดยยิงได้ 32 ประตูและสร้างชื่อเสียงให้ตัวเองในฐานะผู้เล่นทีมชุดใหญ่ ยิง 4 ประตูใส่ดันดีในเกมชนะ 6–2 ในเดือนกันยายน[10][11] ประตูลากเข้าไปยิงในเกมชนะสปอร์ติงลิสบอน 5–0 ในยูฟ่าคัพ[12] และประตูในเกมเอาชนะเรนเจอส์ 3–2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษในลีกคัพรอบชิงชนะเลิศในเดือนมีนาคม 1984[13] เน้นความสามารถในการทำประตูของแมคแคลร์

ในฤดูกาลถัดมา โม จอห์นสตัน มาจากวอตฟอร์ด แม้ว่าพวกเขาจะมีบุคลิกที่ต่างกัน แต่แมคแคลร์และจอห์นสตันก็กลายเป็นคู่หูสุดอันตรายที่ทำประตูได้มากมายให้กับเซลติก[8][14] แมคแคลร์ยังคงยิงประตูให้เซลติกอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อจบฤดูกาลก็ได้รับเหรียญแชมป์เป็นครั้งแรก โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในเกมที่เซลติกชนะดันดียูไนเต็ด 2–1 ในนัดชิงสกอตติชคัพปี 1985[15]

แม้จะมีการแข่งขันจาก Alan McInally และ Mark McGhee แต่แมคแคลร์และจอห์นสตันยังคงเป็นผู้เล่นตัวจริงในแดนหน้าของเซลติก ประตูของพวกเขาช่วยให้เซลติกคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 1985–86; ชัยชนะ 5–0 ที่น่าจดจำเหนือเซนต์ เมียร์เรนที่เลิฟสตรีทในวันสุดท้ายของฤดูกาลโดยที่แมคแคลร์และจอห์นสตันทำคนละ 2 ประตู ขณะที่ฮาร์ทส์ที่เป็นคู่ปรับแย่งแชมป์แพ้ดันดี 0-2[16]

ฤดูกาล 1986–87 เป็นฤดูกาลสุดท้ายของแมคแคลร์ที่เซลติก แม้จะออกสตาร์ทฤดูกาลได้อย่างสดใส แต่ฟอร์มของทีมก็เริ่มแผ่วลงในช่วงฤดูหนาวและพวกเขาถูกทิ้งห่างถึง 9 แต้ม ซึ่งแชมป์ลีกในฤดูกาลนั้นคือเรนเจอส์ ลีกคัพนัดชิงชนะเลิศแพ้ให้กับเรนเจอส์ (แม้แมคแคลร์จะทำประตูได้)[17] และแพ้ในรอบ 4 ต่อฮาร์ตส์ในสกอตติชคัพในฐานะแชมป์เก่าทำให้เซลติกจบฤดูกาลโดยไม่มีถ้วยรางวัลใด ๆ แม้ว่าเซลติกจะขาดความสำเร็จ แต่แมคแคลร์ก็ประสบความสำเร็จในปีนั้น เขายิงได้ทั้งหมด 41 ประตู จบด้วยการเป็นดาวซัลโวสูงสุดในลีกด้วยจำนวน 35 ประตู และคว้าทั้งรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลสกอตและรางวัลผู้เล่นแห่งปีของสกอตแลนด์[18]

ใน 4 ฤดูกาลกับเซลติก แม็คแคลร์ลงเล่น 204 นัดในทุกรายการและยิงได้ 126 ประตู[19][20] เขาคว้าแชมป์สกอตติชคัพในปี 1985 และสกอตติชพรีเมียร์ดิวิชั่นในปี 1986[21]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

แมคแคลร์เข้าร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1987 ด้วยค่าตัว 850,000 ปอนด์ ในตอนแรกเซลติกต้องการ 2 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นค่าตัวที่จะทำให้เขาเป็นผู้เล่นที่มีค่าตัวแพงที่สุดในขณะนั้น ในขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเสนอเพียง 400,000 ปอนด์เท่านั้น

หลังจากแขวนสตั๊ด

หลังจากแขวนสตั๊ดเขาได้ไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมแบล็คเบิร์น โรเวอร์สในฤดูกาล 1998-99 และหลังจากนั้นก็ได้มาเป็น ผ.อ.ศูนย์ฝึกเยาวชนของทีมปีศาจแดงจนถึงปี ค.ศ. 2015

เกียรติประวัติ

กลาสโกว์ เซลติก
  • สกอตติช พรีเมียร์ลีก(1): 1985-86
  • สกอตติช คัพ(1): 1984-85
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ส่วนตัว

อ้างอิง

  1. "ไบรอัน แมคแคลร์". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2017.
  2. "Fashion Raiders: Brian McClair has been one of the Bhoys". Trendraiders.blogspot.co.uk. 3 August 2010. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
  3. "Choccy: Brian McClair The Manchester United striker earned his nickname not". The Independent. London. 17 August 2011. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
  4. "Brian McClair". สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.
  5. Quinn, John (28 April 1987). "Buy of the century". Evening Times. p. 38. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  6. Reynolds, Jim (4 January 1983). "A lesson in determination for Rangers". The Glasgow Herald. p. 14. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  7. Paul, Ian (17 January 1983). "Celtic victims of own fury". The Glasgow Herald. p. 18. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  8. 8.0 8.1 8.2 "The Celtic Underground". The Celtic Underground. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
  9. Reynolds, Jim (10 August 1983). "Celtic find a new striking partnership". The Glasgow Herald. p. 19. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  10. "Fitbastats". Fitbastats.com.
  11. Linklater, John (26 September 1983). "Amensia cure for 'keeper Kelly". The Glasgow Herald. p. 17. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  12. Paul, Ian (3 November 1983). "Celtic treat fans to a vintage display". The Glasgow Herald. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  13. "Celtic 2 – 3 Rangers, League Cup (25/03/1984)". Fitbastats. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.
  14. Cameron, Neil (5 April 2001). "Why Larsson will Choc up a record; He's as good as Mo and McClair". Daily Record. สืบค้นเมื่อ 20 March 2014.
  15. "Burns played on with a broken hand". The Glasgow Herald. 20 May 1985. p. 18. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  16. Paul, Ian (5 May 1986). "Celtic kep bargain – with a little help from Dundee". The Glasgow Herald. p. 10. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  17. Reynolds, Jim (27 October 1986). "Ten booked, one sent off in Rangers triumph". The Glasgow Herald. p. 9. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  18. "Scotland – Player of the Year". RSSSF. 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 9 March 2009.
  19. "Brian McClair". ManUtdZone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2006. สืบค้นเมื่อ 13 September 2006.
  20. Celtic player McClair, Brian, FitbaStats
  21. "Celtic Football Club Team Honours". Scottish Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2013. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
Kembali kehalaman sebelumnya