ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2| designer = โมะโตะมุ โทะริยะมะ | released =
| genre = งาน
| modes = artseiko
| ratings = CERO: B ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 (ญี่ปุ่น: ファイナルファンタジーXIII-2; อังกฤษ: Final Fantasy XIII-2) เป็นเกมสมมติบทบาท ภาคต่อของไฟนอลแฟนตาซี XIII พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์เอนิกซ์ สำหรับเครื่องเล่นเกม เพลย์สเตชัน 3 และ เอกซ์บอกซ์ 360 วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555 ระบบการต่อสู้ในภาคนี้คล้ายคลึงกับภาค XIII แต่มีการเพิ่มนาฬิกาม็อกเพื่อเพิ่มโอกาสการโจมตีก่อน การปรับแต่งรูปแบบการโจมตี และสามารถนำมอนสเตอร์เข้าเป็นพวกได้โดยใช้คริสตัลที่ตกระหว่างการต่อสู้ นอกจากนี้ในระหว่างการต่อสู้กับบอสบางตัวยังมีช่วงที่ต้องกดปุ่มต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความเสียหายแก่ศัตรู และยังมีโอกาสได้ไอเท็มพิเศษหากทำได้ครบตามที่เกมกำหนด ส่วนระบบพัฒนาตัวละครนั้นจะยังใช้ระบบคริสตัลเลียมเช่นเดิม แต่จะสามารถเดินไปได้ทุกสถานะภาพ (Role) ตั้งแต่เริ่มเกม และเมื่อเลเวลอัพสามารถเลือกได้ว่าจะเพิ่มค่าสถานะด้านใด ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ยังเพิ่มระบบไลฟ์ทริกเกอร์ เป็นการตอบคำถามในการดำเนินเริ่อง อันจะส่งผลไปยังการได้ไอเท็มพิเศษ รวมถึงเป็นการกำหนดฉากจบของเกมด้วย ส่วนการเดินทางในไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 นั้น จะใช้เกทในแต่ละสถานที่ข้ามห้วงเวลา โดยใช้โอพาร์ท หรืออาร์ทิแพกต์ในภาคภาษาอังกฤษในการเปิดเกท โดยทางเชื่อมระหว่างแต่ละเกทนั้น เรียกว่า ฮิสทอเรีย ครักซ์ เปรียบเสมือนแผนที่ของเกม ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ยังนับเป็นไฟนอลแฟนตาซีภาคหลักภาคแรกที่เพิ่มระบบการเซฟอัตโนมัติเมื่อถึงเหตุการณ์สำคัญ การปรับระดับความยากของเกมระหว่างการเล่น และเพิ่มส่วนขยายจากระบบออนไลน์ (Downloadable Content) ในภาคนี้ เซร่าห์ ฟารอน น้องสาวของไลท์นิ่ง ตัวละครหลักในภาค XIII จะเป็นผู้ดำเนินเรื่องหลัก ส่วนพี่สาวจะเป็นเพียงผู้ดำเนินเรื่องในช่วงแรกและบรรยายแทรกในบางช่วงเท่านั้น เซร่าห์จะเดินทางไปพร้อมกับ โนเอล ไครส์ ชายผู้ข้ามเวลาจากอนาคต เพื่อค้นหาปริศนาการหายตัวไปอย่างกะทันหันของพี่สาวหลังจากจบเกมในภาค XIII การตอบรับไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 ได้รับคะแนนเต็มจากนิตยสารญี่ปุ่น แฟมิซือ และ เด็งเงคิเพลย์สเตชัน นิตยสารเด็งเงคิให้เรทของเกมนี้อยู่ที่ เรทเอส ซึ่งเป็นเรทสูงสุดที่มีอยู่ของนิตยสารนี้[1] ในช่วงสัปดาห์แรกของการเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่น ไฟนอลแฟนตาซี XIII-2 สามารถทำยอดจำหน่าย 524,000 ชุด ซึ่งเป็นเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 3 อันดับท็อปของตาราง ในขณะที่เวอร์ชันเอ็กซ์บ็อกซ์อยู่ในลำดับที่ 48 ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยมีลูกค้าเอ็กซ์บ็อกซ์ 360 เป็นจำนวนน้อยในประเทศญี่ปุ่น โดยจำนวนหน่วยซื้อ ได้รับการบันทึกว่ามีจำนวนน้อยกว่าภาคก่อนที่ยอดจำหน่าย 1.5 ล้านหน่วยในสัปดาห์แรกของการเปิดตัว[2] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |