Share to:

 

ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน

การสังหารชาวยิวที่ Ivanhorod ยูเครน ปี 1942 ภาพที่เห็นนั้นคือผู้หญิงคนหนึ่งได้ทำการปกป้องเด็กด้วยร่างกาย ก่อนที่จะถูกขับไล่ยิงด้วยปืนไรเฟิลในระยะประชิด

ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน[a] (เยอรมัน: Einsatzgruppen, "กำลังรบเฉพาะกิจ" [1] "deployment groups") [2] เป็นหน่วยทีมสังหารของกองกำลังกึ่งทหารหน่วยเอสเอสของนาซีเยอรมนีที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่ โดยส่วนใหญ่เป็นการยิงเป้า ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–45) ไอน์ซัทซ์กรุพเพินมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่เหล่าปัญญาชน รวมถึงสมาชิกของพระนักบวช และมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการขั้นตอนสุดท้ายที่ถูกเรียกว่าการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Final solution to the Jewish question; Die Endlösung der Judenfrage) ในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี เหยื่อเกือบทั้งหมดที่ถูกสังหารโดยไอน์ซัทซ์กรุพเพิ่นคือพลเรือน โดยเริ่มต้นจากกลุ่มปัญญาชนและเหล่านักบวช ก่อนจะก้าวไปยังนักการเมืองโซเวียตคอมมิสซาร์ ชาวยิวและชาวยิปซี ซึ่งถูกข้อกล่าวหาว่า ได้เข้าร่วมกับกลุ่มพลพรรค (partisans) ตลอดทั่วยุโรปตะวันออก

ภายใต้การนำของไรซ์ฟือเรอร์-เอสเอสไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และการกำกับดูแลของไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ไอน์ซัทซ์กรุพเพินได้ปฏิบัติการในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1939 และปฏิบัติการบาร์บารอสซา (การรุกรานสหภาพโซเวียต) ได้เริ่มปฏิบัติการจากโปแลนด์ภายใต้การยึดครองในเดือน มิถุนายน ปี ค.ศ. 1941 ไอน์ซัทซ์กรุพเพินได้ทำงานร่วมมือกันกับกองพันตำรวจออโป (Orpo-Ordnungspolizei) ในแนวรบด้านตะวันออกเพื่อปฏิบัติการตั้งแต่การสังหารเพียงไม่กี่คนต่อการปฏิบัติการซึ่งกินเวลานานกว่าสองวันหรือมากกว่า เช่น การสังหารหมู่ที่เบบี้ ยาร์ (Babi Yar) ด้วยชาวยิวเสียชีวิตจำนวน 33,771 คน และการสังหารหมู่ที่รัมบูล่า (Rumbula) (ด้วยประมาณ 25,000 คนถูกฆ่าตายในสองวันจากการยิงเป้า) ตามคำสั่งของผู้นำนาซี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กองทัพเวร์มัคท์ได้ร่วมมือกับไอน์ซัทซ์กรุพเพินและจัดเตรียมการส่งกำลังบำรุงจากการปฏิบัติการของพวกเขา นักประวัติศาสตร์ ที่ชื่อว่า Raul Hilberg ได้ประเมินว่า ระหว่างปี ค.ศ. 1941–1945 ไอน์ซัทซ์กรุพเพินและกองกำลังเสริมที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทำการสังหารผู้คนไปกว่าสองล้านคนรวมทั้งชาวยิว 1.3 ล้านคน ชาวยิวจำนวนทั้งหมดที่ถูกสังหารในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์โดยนาซี ด้วยจำนวนประมาณ 5.5 ถึง 6 ล้านคน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง ผู้นำระดับอาวุโสจำนวน 24 คนในหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพินถูกจับกุมและดำเนินคดีในการพิจารณาคดีไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ในปี ค.ศ. 1947–48 โดยข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและสงคราม ได้มีการพิพากษาโทษประหารชีวิตไปจำนวนสิบสี่คนและสองคนได้ถูกจำคุกตลอดชีวิต ส่วนผู้นำของไอน์ซัทซ์กรุพเพินอีกสี่คนได้พยายามต่อสู้คดีในภายหลังและถูกพิพากษาโทษจากประเทศอื่น ๆ

หมายเหตุ

  1. Singular: Einsatzgruppe; Official full name: Einsatzgruppen der Sicherheitspolizei und des SD

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Browning, Christopher R. (1998) [1992]. "Ordinary Men: Reserve Police Battalion 101 and the Final Solution in Poland" (PDF). London; New York: Penguin. Archived (PDF) from the original on 19 October 2013. Retrieved 2 January 2015.
  • Browning, Christopher; Matthäus, Jürgen (2004). The Origins of the Final Solution: The Evolution of Nazi Jewish Policy, September 1939 – March 1942. Comprehensive History of the Holocaust. Lincoln: University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-1327-2.
  • Caron, Jean-Christoph (22 December 2007). "Erwin Rommel: Auf der Jagd nach dem Schatz des "Wüstenfuchses"". Spiegel Online (in German) : 2. Retrieved 9 September 2016.
  • Conze, Eckart; Frei, Norbert; Hayes, Peter; Zimmermann, Moshe (2010). Das Amt und die Vergangenheit : deutsche Diplomaten im Dritten Reich und in der Bundesrepublik (in German). Munich: Karl Blessing. ISBN 978-3-89667-430-2.
  • Craig, William (1973). Enemy at the Gates: The Battle for Stalingrad. Old Saybrook, CT: Konecky & Konecky. ISBN 1-56852-368-8.
  • Crowe, David (2007) [2004]. Oskar Schindler: The Untold Account of his Life, Wartime Activities and the True Story Behind the List. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-00253-5.
  • Dams, Carsten; Stolle, Michael (2012) [2008]. Die Gestapo: Herrschaft und Terror im Dritten Reich. Becksche Reihe (in German). Munich: Beck. ISBN 978-3-406-62898-6.
  • Edeiken, Yale F. (22 August 2000). "Introduction to the Einsatzgruppen". Holocaust History Project. Retrieved 10 January 2013.
  1. LEO Dictionary.
  2. Encyclopædia Britannica.
Kembali kehalaman sebelumnya