Share to:

 

ไอเซยาห์ เบอร์ลิน

ไอเซยาห์ เบอร์ลิน
เซอร์ ไอเซยาห์ เบอร์ลิน
เกิด6 มิถุนายน ค.ศ. 1909(1909-06-06)
ริกา, ประเทศลัตเวีย
เสียชีวิต5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997(1997-11-05) (88 ปี)
ออกซฟอร์ด, ประเทศอังกฤษ
สัญชาติลัตเวีย
อาชีพนักปรัชญา

เซอร์ ไอเซยาห์ เบอร์ลิน (Isaiah Berlin, 6 มิถุนายน ค.ศ. 1909 - 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997) เป็นนักทฤษฎีสังคมและการเมืองชาวอังกฤษ-รัสเซีย เป็นนักปรัชญาการเมือง และนักประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา เบอร์ลินเป็นที่รู้จักกันดีจากงานเขียนของเขาเรื่อง "มโนทัศน์เรื่องเสรีภาพสองแบบ" (Two Concepts of Liberty) การบุกเบิกคุณค่าพหุนิยม และสำรวจแนวคิดและผลกระทบของนักคิดที่ต่อต้านยุคเรืองปัญญา[1]

ประวัติ

เบอร์ลิน เกิดในกรุงริกา ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ในปี ค.ศ. 1909 ครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ที่ประเทศรัสเซียเมื่อเขาอายุ 6 ขวบ และที่เมืองเปโตรกราด ปี ค.ศ. 1917 เบอร์ลินได้เห็นเหตุการณ์ปฏิวัติทั้งสองครั้ง ทั้งการปฏิวัติสังคมนิยมประชาธิปไตย และการปฏิวัติเดือนตุลาคม ในปี ค.ศ. 1921 เขาและพ่อแม่อพยพไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เบอร์ลินเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเซนต์ปอลในกรุงลอนดอน และวิทยาลัยคอร์ปัส คริสตี มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

การทำงาน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เบอร์ลินได้เข้ารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวสารและข้อมูลโดยประจำอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก วอชิงตัน มอสโกว และเลนินกราด ตามลำดับ การทำงานของเขาเป็นที่พอใจและได้รับคำชมจากวินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีขณะนั้น[2] หลังเสร็จสิ้นสงครามแล้ว เบอร์ลินมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด โดยดำรงตำแหน่งตำแหน่งศาสตราจารย์ชิชิลีด้านทฤษฎีการเมืองและสังคม (Chichele Professor of Social and Political Theory) เป็นประธานผู้ก่อตั้งวิทยาลัยวูล์ฟสัน มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[3] เขายังดำรงตำแหน่งประธานของบริติชอะคาเดมี (British Academy) อีกด้วย

ผลงานเขียน

เมาริซ์ เบารา (Maurice Bowra) ได้เขียนไว้ว่า "เหมือนกับพระเยซูเจ้าและโสกราตีส เบอร์ลินไม่ได้เขียนอะไรนัก ทว่าเขาคิดและพูดมากและก็มีผลอิทธิพลอย่างมหาศาล"[4] ในช่วงชีวิตของเบอร์ลินมีผลงานที่เขาตีพิมพ์น้อย จนกระทั่งเมื่อได้พบกับเฮนรี ฮารดี้ ซึ่งเป็นลูกศิษย์และสนใจในการรวบรวมผลงานที่ตีพิมพ์ของเขาเพื่อเผยแพร่ ฮารดี้พบว่า เบอร์ลินมีผลงานที่ร่างไว้ หรือที่กระจัดกระจายอยู่มาก[5]

หนังสือที่โด่งดังของเบอร์ลินมีอาทิ ชีวประวัติคาร์ล มาร์กซ์ นักคิดรัสเซีย มโนทัศน์และทฤษฎีการเมืองเรื่องเสรีภาพ และประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานตีพิมพ์จดหมายของเขาโดยในปี ค.ศ. 2014 เฮนรี ฮารดี้ได้เผยแพร่จดหมายของเบอร์ลินเล่มที่สี่ ซึ่งเป็นเล่มสุดท้ายในชุดจดหมายออกมา

รางวัล

เบอร์ลินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวินในปี ค.ศ. 1971 และได้รับรางวัลเยรูซาเล็ม (Jerusalem Prize) สำหรับการปกป้องเสรีภาพพลเมืองตลอดชีวิตของเขาในปี ค.ศ. 1979[6]

งานเขียนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย

  • แด่ศตวรรษของเรา: ความเรียงสามชิ้นของไอเซยา เบอร์ลิน (Messages to Our Century: Three Essays of Isaiah Berlin) แปลโดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ชยางกูร ธรรมอัน และธรณ์เทพ มณีเจริญ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, 2561).[7]

อ้างอิง

  1. "Isaiah Berlin"
  2. "The wrong Berlin"
  3. ""Sir Isaiah Berlin, Founding President"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-13. สืบค้นเมื่อ 2018-02-11.
  4. https://www.halbanpublishers.com/conversations-with-isaiah-berlin/ "Conversations with Isaiah Berlin"]
  5. "Henry Hardy on Isaiah Berlin"
  6. "BBC - Jerusalem Prize recipients"
  7. [berlin.wolf.ox.ac.uk/lists/translations/three-essays.pdf "แด่ศตวรรษของเรา - The Isaiah Berlin Virtual Library"]
Kembali kehalaman sebelumnya