ประเทศอังกฤษ
อังกฤษ (อังกฤษ: England, ออกเสียง: /ˈɪŋ(g)lənd/) เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร[4][5][6] มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ย ๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน พ.ศ. 1609 ปัจจุบัน ลอนดอนเป็นเขตมหานครใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร และพื้นที่เมืองใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปเมื่อวัดด้วยเกณฑ์ส่วนใหญ่ ประชากรอังกฤษมีอยู่ราว 56 ล้านคน คิดเป็น 84% ของประชากรสหราชอาณาจักร และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ภาคตะวันออกเฉียงใต้และเขตเมืองขยายในภาคมิดแลนด์ส ภาคตะวันตกเฉียงเหนือและยอร์กเชอร์ ซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งหลังจาก พ.ศ. 1827 รวมเวลส์เข้าไปด้วยนั้น เป็นรัฐอธิปไตยกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 เมื่อพระราชบัญญัติสหภาพมีผลใช้บังคับตามเงื่อนไขซึ่งตกลงกันในสนธิสัญญาสหภาพเมื่อปีก่อน ส่งผลให้มีการรวมทางการเมืองกับราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และสถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[7][8] พ.ศ. 2344 บริเตนใหญ่รวมกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ผ่านพระราชบัญญัติสหภาพอีกฉบับหนึ่งกลายเป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พ.ศ. 2465 รัฐอิสระไอร์แลนด์ได้รับการสถาปนาเป็นอาณาจักรแยกต่างหาก แต่ Royal and Parliamentary Titles Act 1927 รวมไอร์แลนด์เหนือเข้ากับสหราชอาณาจักรอีกครั้ง และสถาปนาสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือปัจจุบันอย่างเป็นทางการ ประเทศอังกฤษถือเป็นต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษ, ระบบกฎหมายแบบอังกฤษ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของกฎหมายในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก รวมถึงกีฬาฟุตบอล และแองกลิคัน นอกจากนี้ ระบอบการปกครองของอังกฤษหรือที่รู้จักกันในชื่อระบบเวสต์มินสเตอร์ยังได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย[9] การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษในศตวรรษที่ 18 ส่งผลให้อังกฤษกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก อังกฤษเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดสองแห่งในโลกซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (ก่อตั้งใน พ.ศ. 1639) และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (ก่อตั้งใน พ.ศ. 1752) โดยทั้งสองแห่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก[10][11] ภูมินามวิทยาคำว่า "อิงแลนด์" (England) มาจากชื่อ เอ็งกลาลันด์ หมายถึง "ดินแดนแห่งแองเกิล"[12] ซึ่งชาวแองเกิลเป็นชนเผ่าหนึ่งในบรรดาชนเผ่าเยอรมันหลายเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนนี้ ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 6 ภูมิศาสตร์ที่ตั้งในเชิงภูมิศาสตร์ อังกฤษกินพื้นที่ถึงสองในสามของเกาะบริเตนใหญ่ทางตอนกลางและทางใต้ รวมทั้งเกาะนอกชายฝั่ง เช่น ไอล์ออฟไวท์และไอล์สออฟซิลลี มีพรมแดนติดกับประเทศอื่น ๆ อีกสองประเทศของสหราชอาณาจักร: ทางเหนือติดสกอตแลนด์ และทางตะวันตกติดเวลส์ อังกฤษอยู่ใกล้ทวีปยุโรปมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของแผ่นดินใหญ่ของสหราชอาณาจักร มันถูกแยกออกจากฝรั่งเศส (Hauts-de-France) ด้วยช่องว่างทะเล 21 ไมล์ (34 กม.) แม้ว่าทั้งสองประเทศจะเชื่อมต่อกันด้วยอุโมงค์ช่องแคบใกล้โฟล์คสโตน อังกฤษยังมีชายฝั่งทะเลไอริช ทะเลเหนือ และมหาสมุทรแอตแลนติก[13][14] ท่าเรือต่าง ๆ ของลอนดอน ลิเวอร์พูล และนิวคาสเซิลตั้งอยู่บนแม่น้ำเทมส์ เมอร์ซีย์ และไทน์ตามลำดับ ที่ 220 ไมล์ (350 กม.) แม่น้ำเวิร์นเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดที่ไหลผ่านอังกฤษและลงสู่บริสตอลแชนเนลและมีชื่อเสียงในเรื่อง Severn Bore (น้ำขึ้นน้ำลง) ซึ่งสามารถสูงถึง 2 เมตร (6.6 ฟุต) อย่างไรก็ตาม แม่น้ำที่ยาวที่สุดในอังกฤษทั้งหมดคือแม่น้ำเทมส์ ซึ่งมีความยาว 215 ไมล์ (346 กม.) มีทะเลสาบหลายแห่งในอังกฤษ ที่ใหญ่ที่สุดคือวินเดอร์เมียร์ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของอังกฤษประกอบด้วยเนินเขาและที่ราบต่ำ[15] โดยมีภูมิประเทศเป็นที่สูงและเป็นที่ราบสูงทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของประเทศ พื้นที่สูงทางตอนเหนือ ได้แก่ Pennines ซึ่งเป็นที่ราบสูงที่แบ่งระหว่างตะวันออกและตะวันตก เทือกเขา Lake District ใน Cumbria และ Cheviot Hills ที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ จุดที่สูงที่สุดในอังกฤษที่ 978 เมตร (3,209 ฟุต) คือ Scafell Pike ใน Lake District ภูมิอากาศเนื่องจากประเทศอังกฤษจัดเป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะ ดังนั้นจึงมีอากาศเปลี่ยนแปลงมากและมีฝนตกอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งสภาพภูมิอากาศทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษจะมีอากาศหนาวมากกว่าทางอังกฤษ ตอนใต้ เดือนที่ฝนตกน้อย คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคม 1-4 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิสูงสุดในช่วงเดือนกรกฎาคม 18 องศาเซลเซียส ประเทศอังกฤษ มีทั้งหมด 4 ฤดูกาล ได้แก่:[16][17] ฤดูร้อน (Summer): จะอยู่ในระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคมซึ่งสภาพในช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและแสงแดดจัดจ้าซึ่งอาจจะมีบางวันที่อุณหภูมิจะเย็นลง ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn): จะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน – พฤศจิกายนอุณหภูมิในช่วงนี้จะเริ่มเย็นขึ้นเรื่อย ๆ ใบไม้เริ่มมีการเปลี่ยนสีและร่วงหล่นซึ่งสภาพอากาศจะไม่หนาวมากเพราะในช่วง เดือนกันยายนจัดว่าอากาศจะยังคงความอบอุ่นซึ่งอุณหภูมิจะเริ่มเปลี่ยนแปลง จริง ๆ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ฤดูหนาว (Winter): จะอยู่ในระหว่างเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์โดยสภาพอากาศในช่วงนี้จัดได้ว่ามีสภาพอากาศที่หนาวมากที่สุดมี หิมะตกในบางพื้นที่ซึ่งระยะเวลากลางคืนจะยาวกว่ากลางวันและมืดเร็วกว่าปกติ ฤดูใบไม้ผลิ (Spring): จะอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ถือว่าเป็นฤดูกาลที่มีสภาวะ อากาศที่แปรปรวนและอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันก็จะมีอากาศที่อบอุ่นไปด้วยแสงแดดในช่วงเช้าแต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นหนาวเย็นหรือฝนตกในช่วงบ่ายๆ ประวัติศาสตร์มนุษย์โบราณได้เข้ามาตั้งรกรากบริเวณแคว้นอังกฤษหลายพันปีก่อนคริสตกาล จากนั้นถัดมาเป็นจูเลียสซีซาร์ ชาวโรมันยึดครองอังกฤษประมาณ ค. ศ. 43 และปกครองอังกฤษไปจนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน[18] Angles, Saxons และ Jutes เริ่มอพยพเข้ามาและสร้างอาณาจักร Anglo Saxon Kingdom ขึ้นในศตวรรษที่ 7 หลังจากการยึดครอง ไวกิงชาวเดนมาร์คเริ่มมาอังกฤษและเข้าควบคุมทางการทหาร ในศตรรรษที่ 11 วิลเฮล์มผู้พิชิตยึดพื้นที่ได้จนถึงชายฝั่งทางตอนใต้ของอังกฤษและพิชิตแผ่นดินพร้อมกับกองทัพเร่ร่อน สงคราม 'ร้อยปี' กับฝรั่งเศสเริ่มขึ้นในศตวรรษต่อมา ความขัดแย้งระหว่างรัชทายาทกับราชบัลลังก์ และราชวงศ์กับคริสตจักรก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ในศตวรรษที่ 16 เรื่องการสมรสของ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 นำไปสู่การยุติความสัมพันธ์ของคริสตจักรโรมันคาทอลิก รัฐสภาเสนอชื่อเฮนรีที่ 8 ขึ้นเป็นผู้นำของคริสตจักรแห่งอังกฤษ อังกฤษยังมีอาณานิคมนับเป็นของตนเองอีกนับไม่ถ้วน อาณานิคมเหล่านี้ตั้งอยู่บนชายฝั่งอเมริกา บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) รวมทั้งในแคนาดาและออสเตรเลีย อังกฤษพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 เมืองอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใน Midlands และเป็นส่วนในการช่วยผลักดันการค้าระหว่างประเทศ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีมหาอำนาจมากที่สุดในโลกในช่วงเวลาเวลา ค. ศ. 1837 ถึง 1901 อังกฤษเป็นหนึ่งในพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองและมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะ นาซีเยอรมนี (Nazi Germany)[19][20] การปกครองพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและสัญลักษณ์ของประเทศ[21] (ปัจจุบันประมุขคือ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์) โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายต่างๆ[22] และแม้จะไม่มีอำนาจใด ๆ ทางการเมือง แต่ก็ทรงใช้อำนาจการบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีได้ นอกจากนี้ ทรงมีอำนาจในการเรียกประชุม หรือ ยุบสภา ตลอดจนให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์ก็มีสิทธิที่จะได้รับทราบถึงนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้าเฝ้าถวายรายงานทุกสัปดาห์บทบาทที่สำคัญทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ การกล่าวพระราชดำรัสต่อที่ประชุมรัฐสภาในการเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งถือว่าพระราชดำรัสดังกล่าวเป็นการแถลงนโยบายของรัฐบาล รัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษ เป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร[23][24] อันเนื่องมาจากการที่ประเทศอังกฤษมีประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองที่มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ คือ อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งหมายถึง หลักการปกครองต่างๆ ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่ สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี ดังนั้น จึงมีความยืดหยุ่น สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กล่าวมานี้ทำให้รัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อยๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงที่ละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางมากขึ้น เรื่อยมาจนเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 20[25] นิติบัญญัติรัฐสภาของอังกฤษมีความเป็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เมื่อมีบทบัญญัติแมคนาคาร์ตา ซึ่งทำให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงรับฟังคำปรึกษาหรือจากขุนนาง และผู้นำชุมชน การเข้าเฝ้าเพื่อให้คำปรึกษานั้นจึงเป็นที่มาของการเกิดรัฐสภาอังกฤษ ในระยะแรกเริ่มรัฐสภาจะมีกษัตริย์เข้าร่วมประชุมด้วยเสมอ แต่ในสมัยต่อมาบทบาทของพระมหากษัตริย์ในรัฐสภาเป็นเพียง พิธีการ เท่านั้น จากวิวัฒนาการความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทำให้สถาบันทางการเมืองของอังกฤษมีความมั่นคง และมีเสถียรภาพ รัฐสภาจึงเป็นสถาบันหลักที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของระบบการเมือง และการปกครองของอังกฤษ เป็นสถาบันที่ขาดไม่ได้ในระบอบการเมืองอังกฤษและได้กลายเป็นแบบอย่างของการปกครองแบบรัฐสภาในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รัฐสภาสหราชอาณาจักรมี อำนาจ หลักในการบัญญัติกฎหมายขึ้น เพื่อบังคับแก่กิจการทั้งปวง รวมทั้งบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองให้มีผลเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรด้วย ฝ่ายบริหารองค์กรสูงสุดของฝ่ายบริหารในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอังกฤษ คือ รัฐบาลซึ่งทำหน้าที่หลักรับผิดชอบในการบริหารงานของประเทศ[26] โดยมีนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เป็นหัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีอื่น ๆ ทั้งหมด ก็ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี กล่าวคือ กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลตามธรรมเนียมปฏิบัตินั้น หัวหน้าพรรคการเมือง ซึ่งได้จำนวนที่นั่งข้างมากในสภาสามัญชน และได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาสามัญชนหัวหน้าพรรคนั้น จะได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ให้เป็น นายกรัฐมนตรี (Prime Minister)และได้รับมอบหมายให้จัดตั้งคณะรัฐบาล[27][28] นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการสรรหาบุคคลเป็นรัฐมนตรี (Minister) เพื่อประกอบขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี (Cabinet) โดยเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีส่วนใหญ่ในสมัยปัจจุบัน มักเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปกติจะถูกเลือกจากบุคคลในพรรคของตนเพื่อเสถียรภาพทางการเมืองโดยนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาจากการยอมรับในตัวรัฐมนตรี ของสมาชิกรัฐสภา สมาชิกพรรค และประชาชน รวมถึงการให้โอกาสแก่นักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีความสามารถได้เป็นรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจำเป็นต้องแต่งตั้งรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกของสภาขุนนางด้วย เพื่อเป็นโฆษกในการอธิบายนโยบาย และการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลต่อสภาขุนนาง หน้าที่ของนายกรัฐมนตรี อย่างเช่น รายงานกิจการงานฝ่ายบริหารต่อองค์พระประมุข รวมทั้งเป็นประธานของคณะรัฐมนตรีควบคุมงานของทุกกระทรวง ตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งของกระทรวงต่าง ๆ และอนุมัติการตัดสินใจที่สำคัญของกระทรวงต่าง ๆ ในกรณีที่ไม่ต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นต้น เศรษฐกิจเศรษฐกิจของอังกฤษเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมีพลวัตมากที่สุดในโลก[31][32] โดยมีจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 28,100 ปอนด์หรือ 36,000 ดอลลาร์ กระทรวงการคลังมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายการเงินสาธารณะและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล มักถูกมองว่าเป็นเศรษฐกิจแบบตลาดผสม โดยได้นำหลักการตลาดเสรีมาใช้หลายอย่าง[33] แต่ยังคงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านสวัสดิการสังคมขั้นสูงไว้ได้ สกุลเงินอย่างเป็นทางการในอังกฤษคือปอนด์สเตอร์ลิงซึ่งมีรหัส ISO 4217 คือ GBP การเก็บภาษีในอังกฤษค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของยุโรป โดยในปี 2014 อัตราภาษีส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานอยู่ที่ 20% จากรายได้ที่ต้องเสียภาษีซึ่งสูงกว่าค่าเผื่อปลอดภาษีส่วนบุคคลถึง 31,865 ปอนด์ (ปกติ 10,000 ปอนด์) เศรษฐกิจของอังกฤษเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสหราชอาณาจักรซึ่งมี จีดีพี และ พีพีพี ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[34] อังกฤษเป็นผู้นำในภาคเคมี และเภสัชกรรม และในอุตสาหกรรมทางเทคนิคที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบินและอวกาศ อุตสาหกรรมอาวุธ และด้านการผลิตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ลอนดอนซึ่งเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ตลาดหลักทรัพย์หลักของสหราชอาณาจักรและใหญ่ที่สุดในยุโรป[35][36] เป็นศูนย์กลางทางการเงินของอังกฤษ โดยมีบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 100 แห่งจาก 500 แห่งในยุโรปตั้งอยู่ที่นั่น ลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และในปี 2014 นั้นใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แมนเชสเตอร์เป็นภาคส่วนบริการทางการเงินและวิชาชีพที่ใหญ่ที่สุดนอกลอนดอน และเป็นเมืองหลวงของไพรเวทอิควิตี้ระดับกลางของยุโรป เช่นเดียวกับศูนย์กลางเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตแห่งหนึ่งของยุโรป[37] ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี 1694 โดยนาย William Paterson นายธนาคารชาวสก็อต เป็นธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในฐานะนายธนาคารเอกชนของรัฐบาลอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นสถาบันของรัฐ ธนาคารมีการผูกขาดในเรื่องของธนบัตรในอังกฤษและเวลส์ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในส่วนอื่น ๆ ของสหราชอาณาจักรก็ตาม รัฐบาลได้มอบความรับผิดชอบให้คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารในการบริหารนโยบายการเงินของประเทศและกำหนดอัตราดอกเบี้ย ท่าเรือลอนดอน ยังถือเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่สหราชอาณาจักร[38] ตั้งอยู่บนฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน ครั้งหนึ่งเคยเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นท่าเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจาก Grimsby & Immingham ณ ปี 2555 ท่าเรือสามารถรองรับเรือสำราญ เรือข้ามฟากโรลออนโรลออน และสินค้าทุกประเภทที่โรงงานขนาดใหญ่ในภาคตะวันออก เช่นเดียวกับท่าเรือในยุโรปในประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันหลายแห่งเช่น แอนต์เวิร์ป และ รอตเตอร์ดัม[39] แม้ว่าอังกฤษจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีเทคโนโลยีเป็นลำดับต้นๆ แต่การเกษตรยังถือเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานยุโรป สองในสามของการผลิตเกิดจากการทำปศุสัตว์ ส่วนอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพาะปลูก พืชผลหลักที่ปลูกคือข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง หัวบีตน้ำตาล อังกฤษยังคงเป็นอุตสาหกรรมการประมงที่สำคัญแม้ว่าอุตสาหกรรมการประมงจะลดลงมาก มีชื่อเสียงในการจับปลาเฮอริ่ง และยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ดีบุก หินปูน แร่เหล็ก เกลือ ดินเหนียว ชอล์ก ยิปซั่ม ตะกั่ว และซิลิกา การท่องเที่ยวการท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญในชีวิตทางเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษ ในปี 2018 สหราชอาณาจักรมีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดเป็นลำดับที่ 10 ของโลก และอังกฤษมีมรดกโลกที่ได้รับการรับรองโดยยูเนสโก 17 แห่ง (รวมสหราชอาณาจักร) โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมากมาย เช่น[40][41][42] 1. The Palace of Westminster & Big Ben (พระราชวังเวสต์มินสเตอร์และบิกเบน) พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เป็นสถานที่ประชุมของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันในฐานะอาคารรัฐสภาเป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดในลอนดอนซึ่งเป็นมรดกโลกและเป็นหนึ่งในอาคารที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ในส่วนของหอนาฬิกาบิกเบน (Big Ben) เป็นสถานที่สำคัญในลอนดอนที่มีชื่อเสียงก้องโลกและเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศอังกฤษ โดยแต่เดิมนั้นคำว่าบิ๊กเบนเป็นชื่อของระฆังในหอนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุด ระฆังนี้เรียกอีกอย่างว่ามหาระฆังหรือเดอะเกรทเบลล์ 2. London Eye (ลอนดอนอาย) ลอนดอนอาย (London Eye) หรือ มิลเลเนียมวีล (Millennium Wheel) เป็นชิงช้าสวรรค์ที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 135 เมตร (443 ฟุต) ซึ่งในอดีตเคยเป็นชิงช้าสวรรค์ก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก 3. Westminster Abbey (เวสต์มินเตอร์แอบบีย์) เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่าง ค.ศ. 1546-56 แอบบีย์ได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหาร ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แอบบีย์นี้ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวง (Royal Peculiar)โดยส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุดของ วิหารเวสต์มินสเตอร์ แอบบีย์ คือ มุมนักกวี (Poets' Corner)[43][44] 4.Buckingham Palace (พระราชวังบักกิงแฮม) เป็นพระราชวังที่เป็นที่ประทับเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษ ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ใช้สำหรับการเลี้ยงรับรองของรัฐและยังเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของกรุงลอนดอน และยังเป็นที่รวมพลังใจทั้งในการฉลองและในยามคับขันของชาวอังกฤษ 5.สโตนเฮนจ์ เป็นอนุสรณ์สถาน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลางทุ่งราบกว้างใหญ่บนที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในบริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ ตัวอนุสรณ์สถานประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง แท่งหินบางอันตั้งขึ้น บางอันวางนอนลง และบางอันก็ถูกวางซ้อนกัน สโตนเฮนจ์และบริเวณโดยรอบได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในปี ค.ศ. 1986 และยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางอีกด้วย ประชากรศาสตร์ประชากรอังกฤษจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของสหราชอาณาจักร คิดเป็น 84% ของจำนวนทั้งหมด หลักฐานทางพันธุกรรมบางอย่างชี้ให้เห็นว่า 75–95% ของชาวอังกฤษสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษในยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งแต่เดิมมาจากคาบสมุทรไอบีเรีย และ 5% จากแองเกิลและแอกซอน และองค์ประกอบสำคัญของสแกนดิเนเวีย (ไวกิ้ง) จากการสำรวจสำมะโนครัวของประเทศอังกฤษในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ประเทศอังกฤษมีประชากร 58,789,194 คน โดยมากเป็นอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป และอันดับ 21 ของโลก ในปีพ.ศ. 2547 สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการจำนวนประชากรที่ 59,834,300 คน และ เพิ่มเป็น 60.2 ล้านคน ในอีกสองปีต่อมา โดยการเพิ่มจำนวนประชากรส่วนใหญ่มาจากการอพยพเข้าประเทศ อัตราการเกิดที่สูงขึ้นและอายุขัยที่ยาวนานขึ้นประเทศอังกฤษมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ประมาณหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดอาศัยอยู่ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีสภาพทางเศรษฐกิจที่ดี และส่วนใหญ่เป็นเขตเมืองหรือชานเมือง ประชากรประมาณ 7.5 ล้านคนอาศับอยู่ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรสูงถึง 99% เป็นผลมาจากการศึกษาของรัฐ ทั่วประเทศ การศึกษาภาคบังคับมีสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 5 ถึง 16 ปี จำนวนประชากรของสหราชอาณาจักรแบ่งตามเชื้อสาย
ภาษาประเทศอังกฤษไม่มีภาษาราชการ ภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่คือภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์มานิกตะวันตก พัฒนามาจากภาษาอังกฤษโบราณ ภาษาท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ภาษาสกอต และภาษากลุ่มแกลิกและบริทโทนิก (เป็นกลุ่มภาษาย่อยของกลุ่มภาษาเคลติก) เช่นภาษาเวลส์ ภาษาคอร์นิช ภาษาไอริช และภาษาสกอตติชแกลิก ภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จากอิทธิพลของจักรวรรดิบริเตนในอดีตและสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองที่สอนกันมากที่สุดในโลก ภาษากลุ่มเคลติกของ ประเทศอังกฤษก็มีพูดกันในกลุ่มเล็กๆหลายแห่งในโลก เช่น ภาษาแกลิกในประเทศแคนาดา และภาษาเวลส์ในประเทศอาร์เจนตินา ศาสนาคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอื่นได้แก่ ศาสนาพุทธ ฮินดู ยิว อิสลามและซิกข์ ประมาณ 23% ของประชากรไม่มีการยึดถือ ศาสนาใดๆเป็นหลัก ศาสนาหลักคือ ศาสนาคริสต์ แต่อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรยังมีสังคมที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ เป็นสังคมที่เปิดกว้างและยอมรับศาสนาอื่นๆ ด้วย ในปัจจุบัน มีชาวอังกฤษหันมานับถือพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานในวารสารทางสายกลางของพุทธสมาคมลอนดอน ระบุว่า มีสมาคมองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจัดตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษประมาณ 30 แห่ง เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่ชนชาวอังกฤษ จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษค่อยๆ เป็นปึกแผ่นมั่นคงและก้าวหน้าไปโดยลำดับ โดยมีการก่อสร้าง วัดพุทธปทีป ในกรุงลอนดอน[46][47] การศึกษาระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษแบ่งเป็น 4 ระดับใหญ่ๆ ดังนี้[48][49][50][51] 1. ระดับประถมศึกษา (Primary Education: Key Stage 1-3): รับนักเรียนอายุ ตั้งแต่ 5-14 ปี โดย Pre-Preparatory School (เตรียมประถมศึกษา) จะรับเด็กอายุ 5-7 ปี และ Preparatory School (ประถมศึกษา) รับเด็กอายุ 7-14 ปี 2.ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education: Key Stage 4): รับนักเรียนอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป และเรียนได้จนถึงอายุ 18-19 ปี การศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของอังกฤษมีทั้งโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนของเอกชน ซึ่งการขึ้นชั้นเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นการขึ้นชั้นเรียนโดยอัตโนมัติ ไม่มีการสอบตก และหลังจากที่จบการศึกษาเมื่ออายุ 16 ปีแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ของอังกฤษจะกำหนดให้มีการวัดความรู้ ความสามารถของเด็ก โดยการจัดสอบของคณะกรรมการอิสระ ซึ่งมีการสอบประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี ผลการสอบดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป การสอบนี้มี 2 ประเภท คือ GCSE (General Certificate of Secondary Education) Year 10-11 นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตร IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) สำหรับนักเรียนที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองอย่างแพร่หลายทั่วโลก ใช้เกณฑ์เดียวกันกับ GCSE ทุกประการ 3.ระดับอาชีวศึกษา (Further Education): การศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนที่มีอายุ 16 ปีและไม่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่ต้องการเรียนต่อเพื่อเอาคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างๆ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คุณวุฒิวิชาชีพมี 2 ประเภท คือ GNVQ (General National Vocational Qualification) และ NVQs (National Vocational Qualifications) เป็นการศึกษาสายอาชีพและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเฉพาะ โดยผู้ว่าจ้างสหภาพแรงงานและผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา 4.ระดับอุดมศึกษา (Higher Education): การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และ College of Higher Education หลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น Undergraduate Course หลักสูตรปริญญาตรี First Degree (Bachelor’s degree) หลักสูตรส่วนใหญ่ 3 ปี ยกเว้นบางสาขา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ (4 ปี) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี), ทันตแพทยศาสตร์ (5 ปี), สัตวแพทยศาสตร์ (5 ปี), แพทยศาสตร์ (6 ปี) ปริญญาที่ให้ ได้แก่ Bachelor of Arts (B.A.) Bachelor of Sciences (B.Sc.) Bachelor of Education (B.Ed.) Bachelor of Engineering (B.Eng.) Postgraduate Course หลักสูตรที่สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป 1. Postgraduate Certificate/Postgraduate Diploma หลักสูตร 6 เดือน ถึง 9 เดือน รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2. Master Degree หลักสูตร 1 – 2 ปี รับผู้สำเร็จปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง การเรียนระดับนี้มีทั้งหลักสูตรปริญญาโทแบบเข้าชั้นเรียน (Taught Master) และปริญญาโทแบบทำวิจัย (Master by Research) หลักสูตรปริญญาเอก Doctoral degree or Doctor of Philosophy เป็นหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยการทำวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนใหญ่การศึกษาระดับนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ปริญญาที่ให้คือ Ph.D. หรือ D.phil. นอกจากนี้ยังมี New Route to PhD ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการศึกษาปริญญาเอก ใช้เวลาศึกษา 4 ปี โดย 30 – 40% ของหลักสูตรจะเป็นการเรียนแบบ Taught course และ 60 – 70% จะเป็นการทำวิจัย ประเทศอังกฤษมีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกมากมาย อาทิ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, มหาวิทยาลัยบริสทอล, คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน, มหาวิทยาลัยลีดส์ และ มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ เป็นต้น โดยแต่ละสถาบันล้วนผลิตนักศึกษาที่มีความสามารถทางวิชาการระดับโลกมายาวนาน[52][53][54] วัฒนธรรมดนตรีนับเป็นช่วงเวลาหลายศตวรรษที่ศิลปินสัญชาติอังกฤษได้ผลิตผลงานเพลงที่สามารถครองใจของผู้คนทั้งโลก หลายๆ วงกลายเป็นวงระดับตำนานของโลก แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ผลงานของพวกเขาก็ยังคงเป็นที่จดจำและมีผู้คนจำนวนมากฟังผลงานของพวกเขาอยู่ในปัจจุบัน วงตำนานระดับโลกอย่าง The Beatles และ The Rolling Stones ครองใจแฟนเพลงทั่วโลกมาหลายทศวรรษ กีฬาอังกฤษมีมรดกทางกีฬาที่แข็งแกร่ง กีฬาที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษ ได้แก่ ฟุตบอล, คริกเก็ต, รักบี้, เทนนิส, มวย, แบดมินตัน, สควอช, ฮอกกี้, สนุกเกอร์, บิลเลียด, ปาเป้า, เทเบิลเทนนิส, โบลิ่ง, เน็ตบอล, การแข่งม้าพันธุ์ดี การแข่งสุนัขเกรย์ฮาวด์ และการล่าสุนัขจิ้งจอก มันช่วยพัฒนากอล์ฟ เรือใบ และรถสูตรหนึ่ง ฟุตบอลกีฬาฟุตบอล ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ[55][56][57] ทั้งยังเป็นกีฬาประจำชาติด้วย ก่อนจะมีการเล่นอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก โดยในอังกฤษเรียกว่า ฟุตบอล โดยแทบไม่ใช้คำว่า ซอกเกอร์ อย่างในบางประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกาเป็นต้น โดยมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ เป็นแห่งแรกของอังกฤษและของโลก เมื่อ ค.ศ. 1857 ปัจจุบันอังกฤษมีลีกการแข่งขันพรีเมียร์ลีกซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีสโมสรชั้นนำมากมาย อาทิ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, แมนเชสเตอร์ซิตี, เชลซี, อาร์เซนอล, ลิเวอร์พูล, นิวคาสเซิลยูไนเต็ด, ท็อตนัมฮอตสเปอร์ และ ลีดส์ยูไนเต็ด ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ เป็นหนึ่งในทีมเก่าแก่ที่สุดในโลก[58][59][60] โดยทีมชาติอังกฤษเป็นไม่กี่ทีมที่ไม่มีสิทธิในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษไม่ถือว่าเป็นประเทศ อังกฤษได้จัดตั้งทีมชาติขึ้นมาพร้อม ๆ กับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือเอฟเอ และพร้อม ๆ กับทีมชาติสกอตแลนด์ ในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1870 เคยชนะเลิศฟุตบอลโลกหนึ่งสมัยในฟุตบอลโลก 1966 ซึ่งพวกเขาเป็นเจ้าภาพ และรองชนะเลิศฟุตบอลยูโรหนึ่งสมัยในปี 2020 ปัจจุบันลงเล่นในสนามเวมบลีย์ในกรุงลอนดอน รักบี้
อาหารClassic British Fish and Chips[61] ฟิชแอนด์ชิปส์ หรือเมนูปลาทอดทานคู่กับเฟรนฟรายส์ทอดที่นิยมกันทั่วโลกก็เป็นเมนูสุดคลาสสิคของชาวอังกฤษที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โดยชาวยิวที่นำเอาเมนูเข้ามาสู่อังกฤษจนทำให้เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน Traditional Yorkshire Pudding เป็นอีกหนึ่งเมนูสุดคลาสสิคของอังกฤษที่เป็นที่นิยมทานกันอย่างกว้าวขวาง แต่เมนูพุดดิ้งของอังกฤษนั้นจะแตกต่างจากพุดดิ้งที่เป็นขนมหวาน เพราะพุดดิ้งในที่นี่คือการนำแป้งอบแล้วเสริฟคู่กับเนื้อราดด้วยน้ำเกรวี่ สกอน (Scone) สกอน เป็นขนมอบชนิดหนึ่งว่ากันว่ามีต้นตำรับมาจากประเทศอังกฤษ ตัวขนมทำจากแป้งสาลี ไข่ เนย น้ำตาล นมสด บางครั้งใส่ผลไม้อบแห้งลงไป นิยมกินคู่กับชาร้อน หรือกินเป็นอาหารเช้า สโคนส่วนใหญ่มักมีรสชาติไม่หวาน นิยมทานคู่กับวิปครีม อ้างอิง
ดูเพิ่ม |