ISO 639-3มาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัวอักษรละติน[1] รายละเอียดมาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานในชุดเดียวกับ ISO 639 ที่มีความพยายามจะกำหนดสัญลักษณ์แทนภาษาให้มีความครอบคลุมภาษาต่าง ๆ มาตรฐานที่ถูกกำหนดเป็นส่วนที่ 3 ในมาตรฐาน ISO 639 โดยมีความแตกต่างจากมาตรฐานในส่วนที่ 1 คือ ISO 639-1 และ ส่วนที่ 2 คือ ISO 639-2 ซึ่งเน้นไปที่ภาษาที่มีการใช้กันเป็นภาษาหลักหรือมีการใช้บ่อย ๆ ในขณะที่ ISO 639-3 ถูกสร้างขี้นเพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานในทุกลักษณะงานเท่าที่เป็นไปได้ โดยจะใช้รหัสตัวอักษรละตินสามตัวแทนชื่อภาษานั้น ๆ ซึ่งครอบคลุมไปถึงภาษาที่ปรากฏอยู่แล้วในสองมาตรฐานแรก ซึ่งเป็นภาษาที่พบใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาษาที่ไม่มีการใช้แล้ว ภาษาโบราณ และภาษาที่สร้างขึ้น โดยกลุ่มบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุผลบางประการ โดยกลุ่มคนเหล่านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องทางวัฒนธรรม หรือบางทีที่เรียกกันทั่วไปว่าเรียกว่าภาษาประดิษฐ์ ตัวอย่างภาษาประดิษฐ์ที่พอรู้จักกันโดยทั่วไป เช่น เอสเปรันโต (Esperanto) และ อิดอ (Ido) ทำให้มาตรฐานส่วนที่ 3 ครอบคลุมภาษาที่คนส่วนใหญ่ไม่มีความคุ้นเคยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มาตรฐานส่วนนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาที่ตั้งขึ้นจากสมมุติฐาน เช่น ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม (Proto-Indo-European) หรือที่เรียกกันว่า PIE มาตรฐาน ISO 639-3 มีความเฉพาะเจาะจงกว่า ISO 639-1 และ 639-2 คือระบุรหัสสำหรับภาษาที่ถูกเรียกเป็นภาษาถิ่นและไม่มีรหัสเฉพาะใน ISO 639-1 และ 639-2 ด้วย รหัสสามตัวอักษรของ ISO 639-3 นั้นจะมีแค่แบบเดียวสำหรับหนึ่งภาษา คือแบบที่เรียกว่า T code ของ ISO 639-2 (ใน ISO 639-2 บางภาษาจะมีรหัสสองแบบ คือแบบ B code และ T code) มาตรฐานล่าสุดของ ISO 639-3 คือ ISO 639-3:2007[1] ตัวอย่าง
ดูเพิ่ม
อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น |