แผนที่ของกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียนในยุโรปในปัจจุบัน
ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม หรือ โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (อังกฤษ : Proto-Indo-European หรือ PIE )[ 1] คือภาษาสืบสร้าง ซึ่งเป็นภาษาจากสมมุติฐานที่คาดว่าบรรพบุรุษของอินโด-ยูโรเปียน เคยพูดภาษาเดียวกัน
ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมคือภาษาดั้งเดิม ที่เป็นที่สนใจมากที่สุด รวมถึงเข้าใจมากที่สุดอีกด้วย งานส่วนใหญ่ของนักภาษาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 มักจะเป็นเรื่องการสืบสร้างภาษานี้ และภาษาลูกหลานเช่น ภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม และมักจะใช้วิธีการเปรียบเทียบ เช่นเดียวกับที่ปัจจุบันใช้กัน วิธีการนี้ทำให้สามารถเข้าใจภาษาในหลายหลายอย่าง ถึงแม้จะไม่เคยมีการจดบันทึกภาษานี้ในประวัติศาสตร์เลยก็ตาม
ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมประมาณว่าเคยพูดเป็นภาษาเดียวกันระหว่าง 4500 ถึง 2500 ปีก่อนคริสตกาล[ 2] ในยุคหินใหม่ ถึงแม้จะประมาณไปไกลหลายพันปี แต่ตามสมมติฐานคุร์กัน บ้านเกิดของภาษานี้น่าจะอยู่ในทุ่งหญ้าสเตปป์พอนติก-แคสเปียน ในยุโรปตะวันออก การสืบสร้างภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมยังให้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมของผู้พูดอีกด้วย
ภาษาลูกหลาน
สัณฐานวิทยา
ราก
ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมเป็นภาษาที่มีการผัน หมายถึงมีการผันหน่วยคำต่าง ๆ เพื่อแสดงหน้าที่ในภาษาแตกต่างกัน และภาษานี้มีการสร้างหน่วยคำจากการใช้หน่วยคำเติม แสดงว่ารากคำต่าง ๆ ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม คือ คำรวมกับหน่วยคำเติมเป็นหัวคำ แล้วนำหัวคำมาผันรุปตามหน้าที่นั้น ๆ ในประโยค
การเปลี่ยนส่วนของคำ
หน่วยคำภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมจำนวนมากมี e เป็นสระแท้ การเปลี่ยนส่วนของคำของภาษานี้มักจะเปลี่ยน e สั้นเป็น o สั้น เปลี่ยน e ยาว (ē) เป็น o ยาว (ō ) หรือไม่มีสระเลย การแปลงสระนี้มีความเกี่ยวข้องทั้งการผันคำนามและกริยา
คำนาม
ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมมีการผันคำนาม 8-9 รูปแบบคือ
กรรตุการก คือการผันที่แสดงถึงประธานของกริยา เช่น They ใน They ate ในภาษาอังกฤษ
กรรมการก คือการผันที่แสดงถึงกรรมตรงของกริยา
สัมพันธการก คือการผันที่แสดงถึงคำนามที่ไปดัดแปลงคำนามอื่น (เช่นแสดงความเป็นเจ้าของ)
สัมปทานการก คือการผันที่แสดงถึงกรรมรอง ของกริยา เช่น Jacob in Maria gave Jacob a drink ในภาษาอังกฤษ ถ้าเทียบกับภาษาไทย ภาษาไทยจะใช้บุพบท แก่... , เพื่อ... , ให้... หรือ ต่อ... เพื่อแสดงเช่น เขาให้ของแก่แม่ของเขา แม่ของเขา คือกรรมรอง
กรณการก คือการผันที่แสดงถึงเครื่องมือ หรือด้วย หรือหมายถึง เครื่องมือต่าง ๆ เช่นในภาษาไทย เขาเดินด้วยขา ขา คือเครื่องมือ
อปาทานการก คือการผันที่บ่งชี้การเคลื่อนที่ เคลื่อนย้าย หรือแยกตัวออกจากบางอย่าง ถ้าเทียบกับภาษาไทย ภาษาไทยใช้บุพบท จาก... , ออกจาก... เพื่อแสดงเช่น เขาย้ายบ้านออกจากเมือง เมือง จะมีการผัน
อธิกรณการก คือการผันที่บ่งชี้สถานที่ต่าง ๆ ถ้าเทียบกับภาษาไทย คำหลังคำบุพบทที่บอกสถานที่เช่น บน หรือ ใต้ จะมีการผัน เช่น หนังสืออยู่บนโต๊ะ โต๊ะ จะมีการผัน
สัมโพธนการก คือการผันสิ่งที่ถูกเรียกขาน เช่น "I don't know, John" "John" จะถูกผัน
allative ไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย คือการผันที่แสดงการเคลื่อนที่ เคลื่อนย้าย หรือแยกตัวเข้า พบเฉพาะในกลุ่มภาษาอานาโตเลียเท่านั้น
และมีเพศสามเพศได้แก่ เพศชาย เพศหญิง และเพศกลาง
คำสรรพนาม
ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมนั้นสามารถสืมหาคำสรรพนามได้ยาก เนื่องจากภาษาหลัง ๆ ได้มีการแปลงเป็นหลายแบบ ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมมีบุรุษสรรพนาม ในบุรุษที่ 1 และ 2 ในขณะที่บุรุษที่ 3 มีการใช้นิยมสรรพนาม (เช่น นี่ นั่น โน่น) แทน บุรุษสรรพนามของภาษานี้แต่ละอย่างเป็นเอกลักษณ์ตัวมันเอง และบางตัวมีการใช้สองแบบ เป็นเรื่องชัดเจนในบุรุษสรรพนามที่ 1 แบบเอกพจน์ ที่แบบแรกจะเก็บไว้ในขณะแบบที่ 2 มีไว้สำรองซึ่งปรากฏในภาษาอังกฤษทั้งสองแบบคือ I และ me และยังมีการผันกรรมการก สัมพันธการก และสัมปทานการกสองแบบอีกด้วย[ 6]
บุรุษสรรพนาม[ 6]
ที่ 1
ที่ 2
เอกพจน์
พหูพจน์
เอกพจน์
พหูพจน์
กรรตุการก
*h₁eǵ(oH/Hom)
*wei
*tuH
*yuH
กรรมการก
*h₁mé, *h₁me
*nsmé, *nōs
*twé
*usmé, *wōs
สัมพันธการก
*h₁méne, *h₁moi
*ns(er)o-, *nos
*tewe, *toi
*yus(er)o-, *wos
สัมปทานการก
*h₁méǵʰio, *h₁moi
*nsmei, *ns
*tébʰio, *toi
*usmei
กรณการก
*h₁moí
*nsmoí
*toí
*usmoí
อปาทานการก
*h₁med
*nsmed
*tued
*usmed
อธิกรณการก
*h₁moí
*nsmi
*toí
*usmi
คำกริยา
คล้ายกับคำนาม ล้วนมีผลกับเสียงสระ การแบ่งกริยาภาษานี้แบ่งตามวิธีพื้นฐานมุมมองทางไวยากรณ์
คำกริยาสามารถแบ่งรูปแบบได้เป็น
นามธรรม คือคำกริยาแสดงสภาวะที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด, ความสัมพันธ์, ประสาทสัมผัส, สภาวะความเป็นอยู่ และการวัดหรือการประมาณค่าต่าง ๆ
ไม่สมบูรณ์ คือคำกริยาที่ยังไม่สมบูรณ์ มีการดำเนินการอยู่ ทำซ้ำ หรือประจำวัน
สมบูรณ์ คือคำกริยาที่ยังสมบูรณ์แล้ว สามารถมองได้การกระทำ
คำกริยามีวาจก สองแบบคือ
กรรตุวาจก (active voice) ประโยคที่ประธานกระทำกริยาหลักกับกรรมที่ถูกกระทำ
มัธยกรรมวาจก (mediopassive voice) คือวาจกสำหรับมัธยวาจก (middle voice) และกรรมวาจก (passive voice) (ประโยคที่ประธานที่ถูกกระทำกับกรรมที่กระทำ)
คำกริยามีบุรุษอยู่สามแบบ (ที่ 1, ที่ 2, ที่ 3)
คำกริยามีจำนวนอยู่สามแบบ
ด้านล่างคือการผันคำกริยาตามคำลงท้ายที่เป็นไปได้จาก Sihler ซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
Sihler (1995) [ 7]
Athematic
Thematic
เอกพจน์
ที่ 1
*-mi
*-oh₂
ที่ 2
*-si
*-esi
ที่ 3
*-ti
*-eti
ทวิพจน์
ที่ 1
*-wos
*-owos
ที่ 2
*-th₁es
*-eth₁es
ที่ 3
*-tes
*-etes
พหูพจน์
ที่ 1
*-mos
*-omos
ที่ 2
*-te
*-ete
ที่ 3
*-nti
*-onti
เลข
สามารถสืบสร้างได้ตามนี้
Sihler [ 7]
หนึ่ง
*Hoi-no-/*Hoi-wo-/*Hoi-k(ʷ)o-; *sem-
สอง
*d(u)wo-
สาม
*trei- (ระดับเต็ม), *tri- (ระดับศูนย์)
สี่
*kʷetwor- (ระดับ-o ), *kʷetur- (ระดับศูนย์) (ดูเพิ่มเติมที่กฎ kʷetwóres )
ห้า
*penkʷe
หก
*s(w)eḱs ; อาจจะมาจาก *weḱs
เจ็ด
*septm̥
แปด
*oḱtō , *oḱtou หรือ *h₃eḱtō , *h₃eḱtou
เก้า
*(h₁)newn̥
สิบ
*deḱm̥(t)
100, *ḱm̥tóm น่าจะมีความหมายเริ่มแรกว่าจำนวนใหญ่[ 8]
อ้างอิง
↑ https://indo-european.info/indo-european-lexicon.pdf
↑ Powell, Eric A. "Telling Tales in Proto-Indo-European" . Archaeology . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-02-12. สืบค้นเมื่อ 2017-07-30 .
↑ 6.0 6.1 Beekes, Robert; Gabriner, Paul (1995). Comparative Indo-European linguistics: an introduction . Amsterdam: J. Benjamins Publishing Company. pp. 147 , 212–217, 233, 243. ISBN 978-1556195044 .
↑ 7.0 7.1 Sihler, Andrew L. (1995). New comparative grammar of Greek and Latin . New York u.a.: Oxford Univ. Press. ISBN 0-19-508345-8 .
↑ Lehmann, Winfried P (1993), Theoretical Bases of Indo-European Linguistics , London: Routledge, pp. 252–55, ISBN 0-415-08201-3
บรรณานุกรม
Anthony, David W.; Ringe, Don (2015). "The Indo-European Homeland from Linguistic and Archaeological Perspectives". Annual Review of Linguistics . 1 (1): 199–219. doi :10.1146/annurev-linguist-030514-124812 .
Bomhard, Allan (2019). "The Origins of Proto-Indo-European: The Caucasian Substrate Hypothesis" . Journal of Indo-European Studies (ภาษาอังกฤษ). 47 (1 & 2, Spring/Summer 2019).
Fortson, Benjamin W. (2004). Indo-European language and culture: an introduction . Malden, Mass: Blackwell. ISBN 1405103159 . OCLC 54529041 .
Mallory, J. P. (1989). In Search of the Indo-Europeans: Language, Archaeology, and Myth (ภาษาอังกฤษ). Thames and Hudson. ISBN 9780500050521 .
Mallory, JP ; Adams, DQ (2006), The Oxford Introduction to Proto-Indo-European and the Proto-Indo-European World , Oxford: Oxford University Press , ISBN 9780199296682
Meier-Brügger, Michael (2003), Indo-European Linguistics , New York: de Gruyter, ISBN 3-11-017433-2
Szemerényi, Oswald (1996), Introduction to Indo-European Linguistics , Oxford
"Voiceless high vowels and syncope in older Indo-European" (PDF) . Martin Kümmel, department of Indo-European linguistics, University of Jena .