Share to:

 

Plasmodium falciparum

Plasmodium falciparum
มาโครกามีโตไซต์ (ซ้าย) กับ ไมโครกามีโตไซต์ (ขวา) ของ P. falciparum
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
เคลด: Diaphoretickes
Diaphoretickes
เคลด: TSAR
เคลด: SAR
SAR
Infraregnum: Alveolata
ไฟลัม: เอพิคอมเพล็กซา
Apicomplexa
ชั้น: Aconoidasida
Aconoidasida
อันดับ: Haemospororida
วงศ์: Plasmodiidae
สกุล: พลาสโมเดียม

Welch, 1897
สปีชีส์: Plasmodium falciparum
ชื่อทวินาม
Plasmodium falciparum
Welch, 1897
ชื่อพ้อง[1]
  • Oscillaria malariae Laveran, 1881
  • Plasmodium malariae Marchiafava and Celli, 1885
  • Laverania malariae Feletti and Grassi, 1890
  • Ematozoo falciforme Antolisei and Angelini, 1890
  • Haemamoeba immaculata Grassi, 1891
  • Haemamoeba laverani Labbe, 1894
  • Haematozoon falciforme Thayer and Hewetson, 1895
  • Haematozoon falciparum Welch, 1897
  • Haemosporidium sedecimanae Lewkowicz, 1897
  • Haemosporidium undecimanae Lewkowicz, 1897
  • Haemosporidium vigesimotertianae Lewkowicz, 1897

Plasmodium falciparum เป็นโปรโตซัวเซลล์เดียว และเป็นปรสิตในมุนษย์สปีชีส์หนึ่งในสกุล Plasmodium ที่ก่อโรคมาลาเรียในมนุษย์ที่รุนแรงที่สุด[2] ปรสิตนี้สามารถติดต่อผ่านทางยุง Anopheles เพศเมีย และก่อโรคมาลาเรียรูปที่รุนแรงที่สุด คือมาลาเรียฟาลซิปารัม (falciparum malaria) ซึ่งพบได้ 50% ของผู้ป่วยมาลาเรียทั้งหมด[3][4] P. falciparum มักถูกเรียกขานว่าเป็นปรสิตที่รุนแรงที่สุดในมนุษย์ ด้วยยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้ที่ 405,000 รายในปี 2018 นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวกับการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด (บูร์กิทท์ส์ลิมฟอมา) และจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A

สปีชีส์นี้มีวิวัฒนาการมาจากปรสิต Laverania ซึ่งพบในกอริลลาราว 10,000 ปีก่อน[5] ออลๆอนส์ ละเวรานเป็นบุคคลแรกที่สามารถระบุเชื้อในปี 1880 และตั้งชื่อว่า Oscillaria malariae ต่อมาในปี 1896 โรนอลด์ รอสส์ ค้นพบว่าเชื้อสามารถติดต่อผ่านทางยุง ในปี 1898 จีโอฟานนี บัตติสตา กรัสซีได้พิสูจน์การติดต่อเชื้ออย่างสมบูรณ์จากยุงอะโนเฟเลสมาสู่มนุษย์ และในปี 1897 วิลเลียม เอช. เวลช์ ได้รังสรรค์ชื่อ Plasmodium falciparum ที่ซึ่ง ICZN ได้นำมาใช้อย่างเป็นทางการในปี 1954

P. falciparum มีหลายรูปตลอดวงชีวิต ระยะที่ติดต่อในมนุษย์ซึ่งค่อสปอรอซอยต์จะพบในต่อมน้ำลายของยุง สปอโรซอยต์จะโตและเพิ่มจำนวนภายในตับและกลายเป็นเมโรซอยต์ (merozoites) ซึ่งจะโจมตีเซลล์เม็ดเลือดแดง (RBCs) เพื่อสร้างทรอฟอซอยต์ (trophozoites), ไชซอนต์ (schizonts) และกามีโตไซต์ (gametocytes) ที่ซึ่งอาการของโรคมาลาเรียจะเริ่มแสดง สำหรับในยุง กามีโตไซต์จะเกิดการสืบพันธุ์อาศัยเพศกับไซโกต ซึ่งจะกลายเป็นโอโอคีเนต (ookinete) ซึ่งต่อมาจะก่อร่างเป็นโอโอไซต์ ซึ่งจะสร้างสปอรอซอยต์ (sporozoites) ไปติดเชื้อต่อไป

อ้างอิง

  1. Coatney GR, Collins WE, Warren M, Contacos PG (1971). "22 Plasmodium falciparum (Welch, 1897)". The primate malarias. Division of Parasitic Disease, CDC. p. 263.
  2. Rich, S. M.; Leendertz, F. H.; Xu, G.; Lebreton, M.; Djoko, C. F.; Aminake, M. N.; Takang, E. E.; Diffo, J. L. D.; Pike, B. L.; Rosenthal, B. M.; Formenty, P.; Boesch, C.; Ayala, F. J.; Wolfe, N. D. (2009). "The origin of malignant malaria". Proceedings of the National Academy of Sciences. 106 (35): 14902–14907. Bibcode:2009PNAS..10614902R. doi:10.1073/pnas.0907740106. PMC 2720412. PMID 19666593.
  3. Perkins, D. J.; Were, T.; Davenport, G. C.; Kempaiah, P.; Hittner, J. B.; Ong'Echa, J. M. (2011). "Severe malarial anemia: Innate immunity and pathogenesis". International Journal of Biological Sciences. 7 (9): 1427–1442. doi:10.7150/ijbs.7.1427. PMC 3221949. PMID 22110393.
  4. Perlmann, P; Troye-Blomberg, M (2000). "Malaria blood-stage infection and its control by the immune system". Folia Biologica. 46 (6): 210–8. PMID 11140853.
  5. Loy, Dorothy E.; Liu, Weimin; Li, Yingying; Learn, Gerald H.; Plenderleith, Lindsey J.; Sundararaman, Sesh A.; Sharp, Paul M.; Hahn, Beatrice H. (2017). "Out of Africa: origins and evolution of the human malaria parasites Plasmodium falciparum and Plasmodium vivax". International Journal for Parasitology. 47 (2–3): 87–97. doi:10.1016/j.ijpara.2016.05.008. PMC 5205579. PMID 27381764.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya