Tendinopathy เป็นโรคเอ็น ชนิดหนึ่งที่ทำให้เจ็บ บวม หรือพิการ [ 3] [ 1]
มักจะเจ็บมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว[ 6]
มักเป็นที่ไหล่ (rotator cuff tendinitis, biceps tendinitis) ข้อศอก (tennis elbow, golfer's elbow) ข้อมือ สะโพก เข่า (jumper's knee, popliteus tendinopathy) หรือข้อเท้า (Achilles tendinitis)[ 3] [ 7] [ 2]
โรคอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือทำอะไรซ้ำ ๆ[ 3]
เหตุเกิดที่มีน้อยกว่าอื่น ๆ รวมทั้งการติดเชื้อ ข้ออักเสบ โรคเกาต์ โรคไทรอยด์ เบาหวาน และการใช้ยาปฏิชีวนะ กลุ่ม quinolone[ 8] [ 9]
กลุ่มเสี่ยงรวมทั้งกรรมกร นักดนตรี และนักกีฬา [ 10]
การวินิจฉัย ปกติจะอาศัยอาการ การตรวจร่างกาย และบางครั้ง ภาพจากอุปกรณ์ [ 4]
ในไม่กี่อาทิตย์หลังการบาดเจ็บ อาการบวมก็จะมีน้อยหรือไม่มีเลย โดยปัญหาพื้นฐานจะเป็นเพราะเส้นใยฝอย (fibrils) ของเส้นเอ็นอ่อนแอหรือเสียหาย[ 11]
การรักษาอาจรวมการพักผ่อน ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ การเข้าเฝือก หรือใช้อุปกรณ์ยึด และกายภาพบำบัด [ 5]
การรักษาที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการฉีดยาสเตอรอยด์ หรือการผ่าตัด [ 5]
คนไข้ชนิดใช้งานเกินประมาณ 80% จะหายดีเป็นปกติใน 6 เดือน[ 2]
โรคค่อนข้างจะสามัญ[ 3]
ผู้สูงอายุ มีปัญหามากกว่า[ 10]
เป็นโรคที่ทำให้คนขาดงานมาก[ 2]
อาการ
อาการรวมทั้งกดแล้วเจ็บ บวม เจ็บ มักเกิดเมื่อออกกำลังหรือเมื่อขยับอวัยวะ[ 12]
เหตุ
เหตุเกิดรวมทั้งการบาดเจ็บ หรือการทำกิจกรรมซ้ำ ๆ[ 3]
กลุ่มเสี่ยงรวมกรรมกร นักดนตรี และนักกีฬา [ 10]
เหตุเกิดที่มีน้อยกว่ารวมทั้งการติดเชื้อ ข้ออักเสบ โรคเกาต์ โรคไทรอยด์ และเบาหวาน [ 9]
วิธีรักษาที่ได้ผลรวมทั้งกายภาพบำบัดและ/หรือการผ่าตัด[ 13]
โรคอ้วน โดยเฉพาะคือภาวะเนื้อเยื่อไขมันมาก (adiposity) อาจทำให้เสี่ยงโรคมากขึ้น[ 14]
ยาปฏิชีวนะ กลุ่ม quinolone ทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเอ็นอักเสบและเส้นเอ็นฉีกเพิ่มขึ้น[ 15]
งานทบทวนเป็นระบบ ปี 2013 พบว่าอัตราการเกิดเอ็นบาดเจ็บของผู้ใช้ยา fluoroquinolones
อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0.08-0.2 [ 16]
เป็นยาที่มักมีผลต่อเส้นเอ็นรับน้ำหนักในอวัยวะส่วนล่าง โดยเฉพาะเอ็นร้อยหวาย ซึ่งมักฉีกในคนไข้ในอัตราถึงร้อยละ 30-40 [ 17]
ประเภท
Achilles tendinitis
Calcific tendinitis
Patellar tendinitis (jumper's knee)
พยาธิสรีรภาพ
จนถึงปี 2016 ความเข้าใจทางพยาธิสรีรวิทยาของโรคก็ยังไม่ดี
แม้การอักเสบ จะเป็นปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างเนื้อเยื่อ การทำงานของเส้นเอ็น และความเจ็บก็ยังไม่ชัดเจน
มีแบบจำลองที่แข่งกันหลายอย่างซึ่งก็ยังไม่ได้ทดสอบความสมเหตุผลอย่างบริบูรณ์ และก็ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จอีกด้วย[ 18] [ 19]
กลไกระดับโมเลกุลของการอักเสบรวมทั้งการปล่อยสารทำให้อักเสบกลุ่มไซโตไคน์ เช่น IL-1β ซึ่งลดการแสดงออก ของ collagen mRNA กลุ่ม 1 ในเซลล์เอ็น (tenocyte) ซึ่งทำให้สารเคลือบเซลล์ (extracellular matrix) ของเอ็นเสื่อม[ 20]
งานทบทวนอย่างเป็นระบบ ปี 2020 พบว่า แม้จะมีสารบ่งชี้การอักเสบ (inflammatory marker) ในงานศึกษาที่ได้ทบทวนถึง 2 ใน 3 แต่ความต่าง ๆ กันของข้อมูล และการไร้งานศึกษาที่เทียบกันได้จึงหมายความว่า
ไม่สามารถสรุปในงานศึกษานี้ได้ว่าโรคมีพยาธิสรีรภาพที่เหมือน ๆ กัน[ 21]
ในทางทฤษฎี ปัจจัยของโรคมีหลายอย่างรวมทั้งเอ็นยืดเกิน (tensile overload), ความเสียหายของเซลล์เส้นเอ็นที่มีหน้าที่สังเคราะห์คอลลาเจน , การขาดเลือดเพราะรับน้ำหนักเกิน, เส้นประสาทงอก (neural sprouting), ความเสียหายเพราะเย็นหรือร้อนเกิน และการตอบสนองแบบปรับตัวของร่างกายต่อแรงอัด
โดยการขยับเลื่อนของมัดใยเส้นเอ็น (fascicle) ต่าง ๆ และแรงเฉือน (shear force) ที่ผิวของ (interface) มัดใยเส้นเอ็นอาจเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิด tendinopathy และทำให้เส้นเอ็นฉีกได้ง่าย[ 22]
เหตุเกิดที่ยอมรับกันมากที่สุดสำหรับสภาวะนี้ก็คือ การใช้อวัยวะมากเกินบวกกับปัจจัยภายในและภายนอก ซึ่งขัดขวางกระบวนการรักษาตัวเองตามธรรมชาติ โดยอาจทำให้ล้มเหลวได้อย่างสิ้นเชิง
โรคมีผลเป็นเซลล์ตาย (cellular apoptosis), สารเคลือบเซลล์ผิดระเบียบ (matrix disorganization) และเส้นเลือดงอก (neovascularization)[ 23]
ลักษณะคลาสสิกของ "tendinosis" (โรคเอ็น, เส้นเอ็นผิดปกติ) ก็คือผิวเส้นเอ็น (collagenous matrix) เสื่อม, เซลล์เกิดมากผิดปกติ (hypercellularity) และเส้นเลือดเกิดมากผิดปกติ (hypervascularity) โดยไม่มีเซลล์ที่อักเสบ
ดังนั้น จึงเป็นลักษณะที่คัดค้านชื่อผิดดั้งเดิมว่า "tendinitis" (เส้นเอ็นอักเสบ)[ 24] [ 25]
สำหรับโรคข้อศอกเทนนิสเรื้อรัง สิ่งที่ตรวจพบทางจุลกายวิภาครวมทั้งเนื้อเยื่อแกรนูเลชัน, เส้นใยที่ฉีกออก (microrupture) และเอ็นเสื่อม โดยไม่มีการอักเสบที่เคยคิดว่ามี
ดังนั้น จึงอาจเรียกว่าเป็น lateral elbow tendinopathy หรือ tendinosis ได้ดีกว่า lateral epicondylitis[ 26]
มีโรคข้อศอกเทนนิสที่มีเนื้อเยื่อผิดปกติแต่ไม่อักเสบ ดังนั้น จึงเรียกได้ด้วยว่า angio-fibroblastic tendinosis[ 27]
จานเพาะเส้นเอ็นที่ผิดปกติพบว่า มีการผลิตคอลลาเจนแบบ 3 (type III collagen) เพิ่ม[ 28] [ 29]
การดูภาพอัลตราซาวนด์ ตามยาว (longitudinal sonogram) ของปุ่มข้อศอกด้านข้างพบว่า common extensor tendon หนาขึ้นและมีความต่าง ๆ กัน ซึ่งเป็นลักษณะของ tendinosis โดยภาพแสดงการเกาะแคลเซียม, รอยฉีกที่เส้นเอ็น และความผิดปกติที่ชัดเจนของปุ่มกระดูก lateral epicondyle
แม้มักจะใช้คำว่า "epicondylitis" สำหรับภาวะโรคนี้ แต่สภาพทางจุลพยาธิวิทยาก็ไม่แสดงการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นโรคแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
งานศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาแสดงว่า สภาวะโรคนี้เป็นผลของความเสื่อมสภาพของเส้นเอ็น (tendon degeneration) คือ เนื้อเยื่อปกติธรรมดาจะถูกแทนที่ด้วยคอลลาเจนที่ไม่เป็นระเบียบ
ดังนั้น สภาวะโรคจึงควรเรียกว่า tendinosis หรือ tendinopathy ไม่ใช่ tendinitis[ 30]
อัลตราซาวนด์แบบ Colour Doppler แสดงการเปลี่ยนแปลงของเส้นเอ็นโดยโครงสร้าง บริเวณที่มีเส้นเลือด (vascularity) และบริเวณที่สะท้อนเสียงน้อย (hypo-echoic area) จะเป็นส่วนที่เจ็บของ common extensor tendon[ 31]
tendinopathy ที่เกิดจากการรับน้ำหนักเกินโดยไม่ฉีก (load-induced, non-rupture) ในมนุษย์สัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราโปรตีนคอลลาเจน III:I,
กับการเปลี่ยนเส้นฝอยคอลลาเจนแบบขนาดใหญ่ไปเป็นขนาดเล็ก,
กับการงอ (buckling) ของมัดใยคอลลาเจนที่สารเคลือบเอ็น (extracellular matrix)
และกับการงอของเซลล์เส้นเอ็น (tenocyte) รวมทั้งตัวนิวเคลียส [ 32]
วินิจฉัย
ภาพแสดงเส้นเอ็นอันเสบ (tendonitis) และการฉีกของเส้นเอ็น (tendon rupture)
อาการจะต่าง ๆ กันรวมทั้งเจ็บปวด ขยับข้อต่อไม่สะดวก ชาหรือร้อนรอบ ๆ ข้อต่อในที่ที่เส้นเอ็นอักเสบ
ในบางกรณี จะมีอาการบวม ร้อน และแดง โดยอาจจะเห็นเป็นปม ๆ ที่ข้อต่อ
ปกติจะเจ็บเพิ่มขึ้นในช่วงทำกิจกรรมและหลังกิจกรรม โดยเอ็นและข้อต่ออาจขยับได้ไม่สะดวกในวันต่อไปเพราะกล้ามเนื้อเกร็งเพราะการขยับเอ็น
คนไข้จำนวนมากรายงานความเครียดในชีวิตโดยสัมพันธ์กับการเริ่มเจ็บ ซึ่งอาจมีผลต่ออาการ[ต้องการอ้างอิง ]
การสร้างภาพทางแพทย์
อาจดูภาพอัลตราซาวด์เพื่อตรวจความตึงของเนื้อเยื่อและลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ[ 33]
วิธีนี้เริ่มนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะราคาไม่แพง ปลอดภัย และทำได้เร็ว
และสามารถใช้สร้างภาพเนื้อเยื่อ โดยคลื่นเสียงจะสามารถให้ข้อมูลทางกายภาพอื่น ๆ ของเนื้อเยื่อ[ 34]
การรักษา
การรักษาปัญหาเส้นเอ็นโดยมากเป็นเชิงอนุรักษ์
มักใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs), ให้พักผ่อน และให้ค่อย ๆ เพิ่มออกกำลังกาย
การพักผ่อนจะช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเอ็นเสียหายเพิ่มขึ้น
การประคบน้ำแข็ง การใช้ผ้ารัด และการยกอวัยวะขึ้นสูงก็มักจะแนะนำด้วย
กายภาพบำบัด อาชีวบำบัด และการใช้อุปกรณ์พยุงก็ช่วยได้เหมือนกัน
โรคชนิดใช้งานเกินปกติจะฟื้นตัวในเบื้องต้นใน 2-3 วัน โดยจะฟื้นสภาพอย่างบริบูรณ์ใน 3-6 เดือน [ 2]
Tendinosis ใช้เรียกภาวะเมื่อระยะการฟื้นสภาพเฉียบพลันได้ยุติแล้ว คือใน 6-8 อาทิตย์ แต่ก็ยังมีส่วนที่หายยังไม่ดีพอ
ดังนั้น การรักษา tendinitis จึงอาจลดความเสี่ยงการเกิด tendinosis ซึ่งหายได้ช้ากว่า[ต้องการอ้างอิง ]
มีหลักฐานเบื้องต้นว่า การยิงแสงเลเซอร์พลังต่ำ (low-level laser therapy) อาจช่วยรักษา tendinopathy[ 35]
แต่ผลของการรักษาด้วยการนวดแบบ deep transverse friction massage (การกดเส้นแบบลึก) เพื่อรักษาข้อศอกเทนนิส หรือ lateral knee tendinitis ก็ยังไม่ชัดเจน[ 36]
ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์
ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) อาจใช้ช่วยบรรเทาความปวดได้[ 2]
แต่ก็ไม่ช่วยให้หายโรคในระยะยาว[ 2]
ยาแก้ปวดชนิดอื่น ๆ เช่น พาราเซตามอล อาจใช้ได้ดีเท่า ๆ กัน[ 2]
ยาฉีดสเตอรอยด์
การฉีดสเตอรอยด์ไม่พบว่ามีประโยชน์เพื่อรักษา tendonitis ในระยะยาว แต่ก็พบว่าแก้ปวดและทำให้ใช้ชีวิตได้ดีกว่าการรักษาอย่างอื่น ๆ ในระยะสั้น ยกเว้นยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์[ 37]
แต่ไม่ปรากฏว่ามีประโยชน์ต่อ tendinitis ที่เอ็นหุ้มข้อไหล่ (rotator cuff)[ 38]
ยาฉีดยังอาจมีผลลบอื่น ๆ อีก[ 39]
ยาฉีดชนิดอื่น
การใช้ยาฉีดอื่น ๆ เป็นปกติเพื่อรักษา Achilles tendinopathy ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ
ยาฉีดเช่น autologous blood, platelet-rich plasma, deproteinised haemodialysate, aprotinin, polysulphated glycosaminoglycan, skin derived fibroblasts[ 40]
อนึ่ง จนถึงปี 2014 ก็ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอเพื่อสนับสนุนการรักษาการบาดเจ็บด้วย platelet-rich plasma ที่เนื้อเยื่ออ่อนของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก เช่น เอ็นยึดบาดเจ็บ กล้ามเนื้อฉีก เอ็นกล้ามเนื้อฉีก และ tendinopathy[ 41]
พยากรณ์โรค
tendinosus เพราะใช้งานเกินปกติจะฟื้นตัวในเบื้องต้นใน 2-3 เดือน และคนไข้ 80% จะฟื้นสภาพอย่างบริบูรณ์ใน 3-6 เดือน [ 2]
วิทยาการระบาด
การบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่เป็นเหตุและ tendinopathy ที่เป็นผล เป็นกรณีคนไข้ถึง 30% สำหรับแพทย์กีฬา และแพทย์กล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ[ 42]
แม้โรคจะเห็นได้บ่อยสุดในนักกีฬาไม่ว่าจะบาดเจ็บหรือไม่ แต่ก็เริ่มสามัญยิ่ง ๆ ขึ้นสำหรับผู้ไม่ใช่นักกีฬาและกลุ่มบุคคลที่ไม่มีกิจกรรมมาก
ยกตัวอย่างเช่น ในงานศึกษากลุ่มประชากรทั่วไป คนไข้โดยมากผู้มีโรคที่เอ็นร้อยหวายไม่สัมพันธ์โรคของตนกับกิจกรรมทางกีฬา[ 43]
งานศึกษาปี 1996 พบว่า อุบัติการณ์การเกิดโรค tendinopathy ที่เอ็นร้อยหวายในกลุ่มประชากรทั่วไปเพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่าเมื่อเทียบช่วงปี 1979-1986 กับช่วงปี 1987-1994 [ 44]
ส่วนอุบัติการณ์โรคที่ rotator cuff อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0.3-5.5 และความชุกของโรคต่อปีอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0.5-7.4 [ 45]
ศัพท์
คำว่า tendinitis ใช้กันอย่างสามัญมาก แต่ก็มักจะทำให้เข้าใจผิด
เพราะคำต่อท้ายว่า "-itis" บ่งการอักเสบ (inflammation)
ซึ่งเป็นการตอบสนองเฉพาะที่ของร่างกายต่อความเสียหายที่เนื้อเยื่อโดยเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และโปรตีนเลือด อนึ่ง เส้นเลือดรอบ ๆ ส่วนที่บาดเจ็บจะขยายขนาด[ 46]
เทียบกับเส้นเอ็นปกติที่จะไม่ค่อยมีเส้นเลือด[ 47]
คอร์ติโคสเตอรอยด์ เป็นยาที่ช่วยลดการอักเสบ
อาจมีประโยชน์ลดความเจ็บปวดของโรค tendinopathy แบบเรื้อรัง ช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น และลดอาการบวมในระยะสั้น
แต่ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคอีกในระยะยาว[ 48]
ปกติจะฉีดกับยาชา คือลิโดเคน
งานวิจัยยังพบด้วยว่าเส้นเอ็นจะไม่แข็งแรง หลังจากฉีดคอร์ติโคสเตอรอยด์
tendinitis ปัจจุบันยังเป็นวินิจฉัยที่สามัญ แม้งานวิจัยจะแสดงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า อาการที่เรียกว่า tendinitis ปกติจะเป็น tendinosis[ 49]
โรคอื่น ๆ ที่คล้ายกันทางกายวิภาค แต่จัดว่าต่างกันก็คือ
งานวิจัย
การใช้แผ่นแปะแบบ glyceryl trinitrate เพื่อส่งยาไนตริกออกไซด์ ที่บริเวณที่เจ็บมากที่สุดพบว่าสามารถลดความเจ็บปวดและทำให้ใช้อวัยวะที่เป็นปัญหาได้ดีขึ้น[ 57]
วิธีการรักษาที่มีอนาคตอย่างหนึ่งก็คือ การให้ออกกำลังแบบ eccentric ซึ่งอาศัยการเกร็งกล้ามเนื้อเมื่อกำลังยืดกล้ามเนื้ออยู่[ 58]
สัตว์อื่น ๆ
Bowed tendon เป็นคำเรียกอาการอักเสบ (tendinitis) และอาการเสื่อม (degeneration) ของเส้นเอ็นที่เกิดในม้า มักพบที่เอ็น superficial digital flexor tendon ในขาหน้า
Mesenchymal stem cell ที่ได้มาจากไขกระดูกหรือไขมันของม้า มักจะใช้รักษาเส้นเอ็นของม้า[ 59]
เชิงอรรถและอ้างอิง
↑ 1.0 1.1
"Tendinopathy MeSH Browser" . US National Library of Medicine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10
Wilson, JJ; Best, TM (Sep 2005). "Common overuse tendon problems: A review and recommendations for treatment" (PDF) . American Family Physician . 72 (5): 811–8. PMID 16156339 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-04-02 .
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7
"Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑ 4.0 4.1 "Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑ 5.0 5.1 5.2 "Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑ "Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑
"Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑
"Fluoroquinolones and risk of Achilles tendon disorders: case-control study" . British Medical Journal (ภาษาอังกฤษ). 2002-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21 .
↑ 9.0 9.1
"Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑ 10.0 10.1 10.2 "Tendinitis" . National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases (ภาษาอังกฤษ). 2017-04-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18 .
↑ Khan, KM; Cook, JL; Kannus, P; Maffulli, N; Bonar, SF (2002-03-16). "Time to abandon the "tendinitis" myth: Painful, overuse tendon conditions have a non-inflammatory pathology" . BMJ . 324 (7338): 626–7. doi :10.1136/bmj.324.7338.626 . PMC 1122566 . PMID 11895810 .
↑ Rees, JD; Maffulli, N; Cook, J (Sep 2009). "Management of tendinopathy" . Am J Sports Med . 37 (9): 1855–67. doi :10.1177/0363546508324283 . PMID 19188560 . S2CID 1810473 .
↑ Nirschl, RP; Ashman, ES (2004). "Tennis elbow tendinosis (epicondylitis)". Instr Course Lect . 53 : 587–98. PMID 15116648 .
↑ Gaida, JE; Ashe, MC; Bass, SL; Cook, JL (2009). "Is adiposity an under-recognized risk factor for tendinopathy? A systematic review". Arthritis Rheum . 61 (6): 840–9. doi :10.1002/art.24518 . PMID 19479698 .
↑ "FDA advises restricting use of fluoroquinolones for certain infections; warns about disabling side effects that can occur" . U.S. Food and Drug Administration . 2016-07-26. สืบค้นเมื่อ 2024-02-14 .
↑ Stephenson, AL; Wu, W; Cortes, D; Rochon, PA (September 2013). "Tendon Injury and Fluoroquinolone Use: A Systematic Review". Drug Safety . 36 (9): 709–21. doi :10.1007/s40264-013-0089-8 . PMID 23888427 . S2CID 24948660 .
↑ Bolon, Brad (2017-01-01). "Mini-Review: Toxic Tendinopathy". Toxicologic Pathology . 45 (7): 834–837. doi :10.1177/0192623317711614 . ISSN 1533-1601 . PMID 28553748 . Any tendon may be affected, but fluoroquinolones, glucocorticoids, and statins most frequently affect large load-bearing tendons in the lower limb, especially the calcaneal (“Achilles”) tendon—which ruptures in approximately 30 to 40% of cases.
↑
Millar, NL; Murrell, GA; McInnes, IB (2017-01-25). "Inflammatory mechanisms in tendinopathy - towards translation". Nature Reviews. Rheumatology . 13 (2): 110–122. doi :10.1038/nrrheum.2016.213 . PMID 28119539 . S2CID 10794196 .
↑
Cook, JL; Rio, E; Purdam, CR; Docking, SI (October 2016). "Revisiting the continuum model of tendon pathology: what is its merit in clinical practice and research?" . British Journal of Sports Medicine . 50 (19): 1187–91. doi :10.1136/bjsports-2015-095422 . PMC 5118437 . PMID 27127294 .
↑ Millar, Neal L.; Murrell, George A. C.; McInnes, Iain B. (2017-01-25). "Inflammatory mechanisms in tendinopathy - towards translation". Nature Reviews. Rheumatology . 13 (2): 110–122. doi :10.1038/nrrheum.2016.213 . ISSN 1759-4804 . PMID 28119539 . S2CID 10794196 .
↑ Jomaa, George; Kwan, Cheuk-Kin; Fu, Sai-Chuen; Ling, Samuel Ka-Kin; Chan, Kai-Ming; Yung, Patrick Shu-Hang; Rolf, Christer (2020). "A systematic review of inflammatory cells and markers in human tendinopathy" . BMC Musculoskeletal Disorders . 21 (1). doi :10.1186/s12891-020-3094-y . ISSN 1471-2474 . PMC 7006114 . PMID 32028937 .
↑ Sun, Yu‐Long; Wei, Zhuang; Zhao, Chunfeng; Jay, Gregory D.; Schmid, Thomas M.; Amadio, Peter C.; An, Kai‐Nan (2015). "Lubricin in human achilles tendon: The evidence of intratendinous sliding motion and shear force in achilles tendon". Journal of Orthopaedic Research . 33 (6): 932–937. doi :10.1002/jor.22897 . ISSN 0736-0266 .
↑ Charnoff, Jesse; Naqvi, Usker (2017). "Tendinosis (Tendinitis)" . StatPearls . Treasure Island (FL): StatPearls Publishing. PMID 28846334 .
↑
Fu, SC; Rolf, C; Cheuk, YC; Lui, PP; Chan, KM (2010). "Deciphering the pathogenesis of tendinopathy: a three-stages process" . Sports Med Arthrosc Rehabil Ther Technol . 2 : 30. doi :10.1186/1758-2555-2-30 . PMC 3006368 . PMID 21144004 .
↑
Abate, M; Silbernagel, KG; Siljeholm, C; Di Iorio, A; De Amicis, D; Salini, V; Werner, S; Paganelli, R (2009). "Pathogenesis of tendinopathies: inflammation or degeneration?" . Arthritis Research & Therapy . 11 (3): 235. doi :10.1186/ar2723 . PMC 2714139 . PMID 19591655 .
↑ du Toit, C; Stieler, M; Saunders, R; Bisset, L; Vicenzino, B (2008). "Diagnostic accuracy of power Doppler ultrasound in patients with chronic tennis elbow". British Journal of Sports Medicine . 42 (11): 572–576. doi :10.1136/bjsm.2007.043901 . hdl :10072/22142 . ISSN 0306-3674 . PMID 18308874 . S2CID 3274396 .
↑ Nirschl, RP (October 1992). "Elbow tendinosis/tennis elbow" . Clin Sports Med . 11 (4): 851–70. doi :10.1016/S0278-5919(20)30489-0 . PMID 1423702 .
↑
Maffulli, N; Ewen, SW; Waterston, SW; Reaper, J; Barrass, V (2000). "Tenocytes from ruptured and tendinopathic achilles tendons produce greater quantities of type III collagen than tenocytes from normal achilles tendons. An in vitro model of human tendon healing". Am J Sports Med . 28 (4): 499–505. doi :10.1177/03635465000280040901 . PMID 10921640 . S2CID 13511471 .
↑
Ho, JO; Sawadkar, P; Mudera, V (2014). "A review on the use of cell therapy in the treatment of tendon disease and injuries" . J Tissue Eng . 5 : 2041731414549678. doi :10.1177/2041731414549678 . PMC 4221986 . PMID 25383170 .
↑ McShane, JM; Nazarian, LN; Harwood, MI (October 2006). "Sonographically guided percutaneous needle tenotomy for treatment of common extensor tendinosis in the elbow" . J Ultrasound Med . 25 (10): 1281–9. doi :10.7863/jum.2006.25.10.1281 . PMID 16998100 . S2CID 22963436 .
↑ Zeisig, Eva; Öhberg, Lars; Alfredson, Håkan (2006). "Sclerosing polidocanol injections in chronic painful tennis elbow-promising results in a pilot study". Knee Surgery, Sports Traumatology, Arthroscopy . 14 (11): 1218–1224. doi :10.1007/s00167-006-0156-0 . ISSN 0942-2056 . PMID 16960741 . S2CID 23469092 .
↑ Pingel, Jessica; Lu, Yinhui; Starborg, Tobias; Fredberg, Ulrich; Langberg, Henning; Nedergaard, Anders; Weis, MaryAnn; Eyre, David; Kjaer, Michael; Kadler, Karl E. (2014). "3‐ D ultrastructure and collagen composition of healthy and overloaded human tendon: evidence of tenocyte and matrix buckling" . Journal of Anatomy . 224 (5): 548–555. doi :10.1111/joa.12164 . ISSN 0021-8782 . PMC 3981497 . PMID 24571576 .
↑ Duenwald, S; Kobayashi, H; Frisch, K; Lakes, R; Vanderby, R (February 2011). "Ultrasound echo is related to stress and strain in tendon" . J Biomech . 44 (3): 424–9. doi :10.1016/j.jbiomech.2010.09.033 . PMC 3022962 . PMID 21030024 .
↑ Duenwald-Kuehl, S; Lakes, R; Vanderby, R (June 2012). "Strain-induced damage reduces echo intensity changes in tendon during loading" . J Biomech . 45 (9): 1607–11. doi :10.1016/j.jbiomech.2012.04.004 . PMC 3358489 . PMID 22542220 .
↑ Tumilty, S; Munn, J; McDonough, S; Hurley, DA; Basford, JR; Baxter, GD (February 2010). "Low level laser treatment of tendinopathy: a systematic review with meta-analysis". Photomedicine and Laser Surgery . 28 (1): 3–16. doi :10.1089/pho.2008.2470 . PMID 19708800 . S2CID 10634480 .
↑ Loew, Laurianne M; Brosseau, Lucie; Tugwell, Peter; Wells, George A; Welch, Vivian; Shea, Beverley; Poitras, Stephane; De Angelis, Gino; Rahman, Prinon (2014-11-08). "Deep transverse friction massage for treating lateral elbow or lateral knee tendinitis" . Cochrane Database of Systematic Reviews . 2014 (11): CD003528. doi :10.1002/14651858.cd003528.pub2 . ISSN 1465-1858 . PMC 7154576 . PMID 25380079 .
↑ Gaujoux-Viala, C; Dougados, M; Gossec, L (December 2009). "Efficacy and safety of steroid injections for shoulder and elbow tendonitis: a meta-analysis of randomised controlled trials" . Ann. Rheum. Dis . 68 (12): 1843–9. doi :10.1136/ard.2008.099572 . PMC 2770107 . PMID 19054817 . Conclusions: Steroid injections are well tolerated and more effective for tendonitis in the short-term than pooled other treatments, though similar to NSAIDs. No long-term benefit was shown.
↑ Mohamadi, A; Chan, JJ; Claessen, FM; Ring, D; Chen, NC (January 2017). "Corticosteroid Injections Give Small and Transient Pain Relief in Rotator Cuff Tendinosis: A Meta-analysis" . Clinical Orthopaedics and Related Research . 475 (1): 232–243. doi :10.1007/s11999-016-5002-1 . PMC 5174041 . PMID 27469590 .
↑ Dean, BJ; Lostis, E; Oakley, T; Rombach, I; Morrey, ME; Carr, AJ (February 2014). "The risks and benefits of glucocorticoid treatment for tendinopathy: a systematic review of the effects of local glucocorticoid on tendon". Seminars in Arthritis and Rheumatism . 43 (4): 570–6. doi :10.1016/j.semarthrit.2013.08.006 . PMID 24074644 .
↑ Kearney, RS; Parsons, N; Metcalfe, D; Costa, ML (2015-05-26). "Injection therapies for Achilles tendinopathy" (PDF) . The Cochrane Database of Systematic Reviews . 2015 (5): CD010960. doi :10.1002/14651858.CD010960.pub2 . PMC 10804370 . PMID 26009861 .
↑ Moraes, Vinícius Y; Lenza, Mário; Tamaoki, Marcel Jun; Faloppa, Flávio; Belloti, João Carlos (2014-04-29). "Cochrane Database of Systematic Reviews" . Cochrane Database Syst Rev . 2014 (4): CD010071. doi :10.1002/14651858.cd010071.pub3 . PMC 6464921 . PMID 24782334 .
↑ McCormick, A; Charlton, J; Fleming, D (Jun 1995). "Assessing health needs in primary care. Morbidity study from general practice provides another source of information" . BMJ . 310 (6993): 1534. doi :10.1136/bmj.310.6993.1534d . PMC 2549904 . PMID 7787617 .
↑ de Jonge, S.; van den Berg, C.; de Vos, R. J.; van der Heide, H. J. L.; Weir, A.; Verhaar, J. A. N.; Bierma-Zeinstra, S. M. A.; Tol, J. L. (2011-10-01). "Incidence of midportion Achilles tendinopathy in the general population". British Journal of Sports Medicine . 45 (13): 1026–1028. doi :10.1136/bjsports-2011-090342 . ISSN 0306-3674 .
↑ Leppilahti, Juhana; Puranen, Jaakko; Orava, Sakari (1996). "Incidence of Achilles tendon rupture". Acta Orthopaedica Scandinavica . 67 (3): 277–279. doi :10.3109/17453679608994688 . ISSN 0001-6470 .
↑ Littlewood, Chris; May, Stephen; Walters, Stephen (2013-10-01). "Epidemiology of rotator cuff tendinopathy: a systematic review". Shoulder & Elbow (ภาษาอังกฤษ). 5 (4): 256–265. doi :10.1111/sae.12028 . ISSN 1758-5740 . S2CID 74208378 .
↑ "Inflammation" . The Free Dictionary .
↑ "avascular" . The Free Dictionary .
↑ Rees, J. D.; Stride, M.; Scott, A. (2013). "Tendons - time to revisit inflammation" . British Journal of Sports Medicine . 48 (21): 1553–1557. doi :10.1136/bjsports-2012-091957 . ISSN 0306-3674 . PMC 4215290 . PMID 23476034 .
↑ Bass, Lmt (2012). "Tendinopathy: Why the Difference Between Tendinitis and Tendinosis Matters" . International Journal of Therapeutic Massage & Bodywork: Research, Education, & Practice . 5 (1): 14–7. doi :10.3822/ijtmb.v5i1.153 . PMC 3312643 . PMID 22553479 .
↑ D'Agostino, MA; Olivieri, I (June 2006). "Enthesitis". Best Practice & Research Clinical Rheumatology . Clinical Rheumatology. 20 (3): 473–86. doi :10.1016/j.berh.2006.03.007 . PMID 16777577 .
↑ "Enthesitis". Enthesitis . The Free Dictionary . 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27 .
↑
Schett, G; Lories, RJ; D'Agostino, MA; Elewaut, D; Kirkham, B; Soriano, ER; McGonagle, D (November 2017). "Enthesitis: from pathophysiology to treatment". Nature Reviews Rheumatology (Review). 13 (12): 731–741. doi :10.1038/nrrheum.2017.188 . PMID 29158573 . S2CID 24724763 .
↑
Schmitt, SK (June 2017). "Reactive Arthritis". Infectious Disease Clinics of North America (Review). 31 (2): 265–277. doi :10.1016/j.idc.2017.01.002 . PMID 28292540 .
↑
"OrthoKids - Osgood-Schlatter's Disease" .
↑
"Sever's Disease" . Kidshealth.org. สืบค้นเมื่อ 2014-04-29 .
↑
Hendrix, CL (2005). "Calcaneal apophysitis (Sever disease)". Clinics in Podiatric Medicine and Surgery . 22 (1): 55–62, vi. doi :10.1016/j.cpm.2004.08.011 . PMID 15555843 .
↑ Murrell, GA (2007). "Using nitric oxide to treat tendinopathy" . Br J Sports Med . 41 (4): 227–31. doi :10.1136/bjsm.2006.034447 . PMC 2658939 . PMID 17289859 .
↑ Rowe, V; Hemmings, S; Barton, C; Malliaras, P; Maffulli, N; Morrissey, D (November 2012). "Conservative management of midportion Achilles tendinopathy: a mixed methods study, integrating systematic review and clinical reasoning". Sports Med . 42 (11): 941–67. doi :10.2165/11635410-000000000-00000 . PMID 23006143 .
↑ Koch, TG; Berg, LC; Betts, DH (2009). "Current and future regenerative medicine - principles, concepts, and therapeutic use of stem cell therapy and tissue engineering in equine medicine" . Can Vet J . 50 (2): 155–65. PMC 2629419 . PMID 19412395 .
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค ทรัพยากรภายนอก
ข้อต่อชนิดแคปซูลาร์
ข้อต่อชนิดไม่ใช่แคปซูลาร์
ไม่ใช่ข้อต่อ