กฤษดา สุโกศล แคลปป์
กฤษดา สุโกศล แคลปป์ (เกิด 26 ธันวาคม พ.ศ. 2513) ชื่อเล่น น้อย เป็นนักร้องนำวงพรู นักแสดงชาวไทย นอกเหนือจากผลงานการแสดงเขายังเป็นผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยามร่วมกับครอบครัว กมลา สุโกศล หลังห่างหายไปถึงสิบสองปี น้อยก็กลับมาในฐานะศิลปินเดี่ยว โดยได้ศิลปินมาช่วยแต่งเพลงอย่าง บอย โกสิยพงษ์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และ ตรัย ภูมิรัตน[1] ประวัติและการศึกษากฤษดา เป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน และเป็นน้องชายของสุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์ จบปริญญาตรีด้านมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยบอสตัน[2] จากนั้นใช้ชีวิตนักแสดงตามเวทีและสถานที่เล็ก ๆ ในนิวยอร์ก เรียนการแสดง เล่นละครเวทีไปด้วยและทำงานเสิร์ฟอาหารไปด้วยอยู่ 3 ปี จึงกลับประเทศไทย จากนั้นก็ได้ฟอร์มวงพรู[3] มีผลงานการแสดงภาพยนตร์ไทยอย่าง คนกราบหมา (2540) หัวใจทรนง (2547) ทวารยังหวานอยู่ (2547) และ 13 เกมสยอง (2549)[4] ซึ่งจากเรื่องนี้เองทำให้กฤษดาได้รับรางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2549[5] ผลงานภาพยนตร์
ผลงานพิเศษน้อย วงพรูได้ร้องเพลง "เหนื่อยใจ" ในอัลบั้ม Ford & Friends Sing Stone อัลบั้มรวมเพลงจากคอนเสิร์ต “Ford & Friends Let’s Sing Stone and 90th’s Memory” โดยได้คัดเลือกจากบทเพลงดังในอดีตที่ดีที่สุด ของค่าย Stone Entertainment ที่นำมาทำใหม่[6] ธุรกิจผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยามน้อย วงพรูได้เป็นผู้บริหารกิจการโรงแรม เดอะ สยาม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ (3/2 ถ.ขาว วชิรพยาบาล ดุสิต ดุสิต, กรุงเทพมหานคร 10300) ตั้งใกล้กับสะพานซั้งฮี้ ซึ่งโรงแรมได้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยมีผลตอบรับค่อนข้างดี และยังได้ลงนิตยสารเมืองนอก Travel + Leisure และได้ Top 20 โรงแรมของโลกและได้รับโหวตให้เป็น number one city hotel of the world โดยถูกออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังระดับโลก บิล เบนส์เล การตกแต่งจะใช้โทนสีขาว และดำแซมด้วยเฟอร์นิเจอร์สมัยโบราณ ผสานกลิ่นตะวันตก เข้ากับความคลาสสิกและอบอุ่น อ่อนโยนแบบไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ห้องพัก ทั้งหมดมี 39 ห้องมีพื้นที่ใช้สอยเริ่มต้น 80-160 ตร.ม. ภายในมีเตียงขนาดใหญ่เพดานสูง แต่ละห้องตกแต่งโดยธีม ที่แตกต่างกัน ประดับด้วยเฟอร์นิเจอร์หรู งานศิลปะ และวัตถุโบราณ แฝงมนต์สเน่ห์และกลิ่นอายอารยธรรมร่วมสมัย โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก สระว่ายน้ำแบบอินฟินิตี้, ฟิตเนส และเวทีมวยไทย พร้อมเทรนเนอร์ส่วนตัว, โยคะกลางแจ้ง, ห้องสมุด, ห้องฉายภาพยนตร์ สไตล์ย้อนยุค, ห้องประชุมสัมมนา, แกลเลอรี่วัตถุโบราณหายาก (ของสะสมส่วนตัวของน้อย วงพรู), ท่าเรือส่วนตัว พร้อมสปีดโบ๊ต และไวไฟฟรี[7] รางวัล
ครอบครัวน้อย วงพรูสมรสกับนางเมลานี สุโกศล แคลปป์เป็นลูกครึ่งฮ่องกง - อังกฤษเป็นคุณครูโรงเรียนนานาชาติและมีลูกสองคน (ลูกครึ่งจีน-สิงคโปร์) ชื่อว่า ฟินน์และโรซี่[8][9] อาการบาดเจ็บน้อย วงพรู เคยต้องรักษาอาการบาดเจ็บจากขามาแล้วสองครั้ง และทุกครั้งมันจะเกิดในช่วงสำคัญ ครั้งแรกเกิดขึ้นโชว์หนึ่งก่อนคอนเสิร์ต Pru & Modern Dog – ทุกสิ่ง (For Fat Live Pru & Modern Dog) ซึ่งเขาโลดโผนกับโชว์จนตกเวที อีกครั้งคือช่วงก่อนอัลบั้มชุดที่สอง (Zero) น้อยไปเล่นกีฬาแล้วหัวเข่าหักจนต้องใส่เฝือกโปรโมตอัลบั้มนั้นในช่วงแรก โดยน้อยกำลังอยู่ในช่วงรักษาอาการเส้นประสาทที่ขาอักเสบ ซึ่งต้องฟื้นฟูและบำบัดโดยการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electrical Stimulation โดยคาดว่าจะหายในราวสี่เดือน[10] จุดยืนทางการเมืองน้อย วงพรู เป็นหนึ่งในศิลปินที่สนับสนุนการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 [11] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |