Share to:

 

ทรอย

นครทรอย
Ἴλιος
𒌷𒃾𒇻𒊭 Wiluša
ทรอยตั้งอยู่ในภูมิภาคมาร์มารา
ทรอย
แสดงที่ตั้งภายในภูมิภาคมาร์มารา
ทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
ทรอย
ทรอย (ประเทศตุรกี)
ที่ตั้งฮีซาร์ลึก จังหวัดชานักคาแล ประเทศตุรกี
ภูมิภาคTroad
พิกัด39°57′27″N 26°14′20″E / 39.95750°N 26.23889°E / 39.95750; 26.23889
ส่วนหนึ่งของHistorical National Park of Troia
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
เว็บไซต์https://whc.unesco.org/en/list/849/
ประเภทวัฒนธรรม
ขึ้นเมื่อ1998 (ครั้งที่ 22)
เลขอ้างอิง849
UNESCO Regionยุโรปและอเมริกาเหนือ

ทรอย (อังกฤษ: Troy; ตุรกี: Troya; กรีก: Τροία; ฮิตไทต์: 𒋫𒊒𒄿𒊭 Truwiša/Taruiša) หรือ อีเลียน (กรีก: Ίλιον, ฮิตไทต์: 𒌷𒃾𒇻𒊭 Wiluša)[1][a][2][3][4] เป็นนครสมัยโบราณที่ตั้งอยู่ในฮีซาร์ลึก ประเทศตุรกี โดยเป็นที่รู้จักจากการเป็นฉากในสงครามโทรจันในตำนานกรีก แหล่งโบราณคดีเปิดต่อสาธารณชนในฐานะสถานที่ท่องเที่ยว และได้รับการบรรจุเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1998

ทรอยถูกทำลายและสร้างใหม่หลายครั้งในช่วงที่มีการครอบครอง 4000 ปี ทำให้พื้นที่นี้แบ่งออกเป็นชั้นทางโบราณคดี 9 ชั้น แต่ละชั้นคือนครที่สร้างบนซากของนครยุคก่อนหน้า นักโบราณคดีเรียกชั้นเหล่านี้ด้วยตัวเลขโรมัน โดยทรอย 1 (Troy I) มีอายุเก่าสุด ส่วนทรอย 9 (Troy IX) มีอายุใหม่สุด

มีผู้เข้าตั้งถิ่นฐานในทรอยครั้งแรกประมาณ 3600 ปีก่อน ค.ศ. และเติบโตเป็นนครป้อมปราการขนาดเล็กประมาณ 3000 ปีก่อน ค.ศ. (ทรอย 1) ในบรรดาชั้นเก่า ๆ ทรอย 2 มีชื่อเสียงในด้านความมั่งคั่งและสถาปัตยกรรมอันโอ่อ่า ในช่วงยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย ทรอยได้รับการเรียกขานเป็นวีลูซาและเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิฮิตไทต์ ชั้นสุดท้าย (ทรอย 8-9) เป็นนครสมัยกรีกและโรมันที่ทำหน้าที่สถานที่ท่องเที่ยวและศูนย์กลางทางศาสนา เนื่องจากความเกี่ยวโยงกับตำนาน

ไฮน์ริช ชลีมันน์กับแฟรงก์ แคลเวิร์ตเริ่มต้นการขุดค้นแหล่งโบราณคดีนี้ใน ค.ศ. 1871 ทั้งสองพบส่วนหลงเหลือของที่อยู่อาศัยยุคแรกจำนวนมาใต้ซากนครสมัยคลาสสิก บางชั้นมีลักษณะคล้ายทรอยในวรรณกรรม ทำให้นักวิชาการบางคนสรุปว่ามีความจริงส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้ตำนาน การขุดค้นในระยะหลังโดยผู้อื่นเพิ่มความเข้าใจสมัยใหม่ในพื้นที่นี้ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างตำนานและความเป็นจริงยังไม่เป็นที่กระจ่าง และไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนสำหรับการโจมตีนครของชาวกรีก[5][6](ppxiv, 180–812)

ชื่อ

ในภาษากรีกโบราณ นครนี้ได้รับการเรียกขานเป็นทั้ง Troia (Τροία) และ Ilion (Ἴλιον) หรือ Ilios (Ἴλιος) หลักฐานทางMetricalจากอีเลียดและโอดิสซีย์เสนอแนะว่าชื่อหลังเคยออกเสียงเป็น Wilios ชื่อเหล่านี้น่าจะสืบได้ถึงยุคสัมฤทธิ์ ตามบันทึกของชาวฮิตไทต์ที่เนียกนครในอานาโตเลียตะวันตกเฉียงเหนือว่า 𒌷𒃾𒇻𒊭 Wilusa หรือ 𒋫𒊒𒄿𒊭 Truwisa ซึ่งมักระบุเป็นที่ตั้งของฮีซาร์ลิก (Hisarlik)[1][b][2][3][4] ในตำนานกรีก ชื่อนี้มีต้นตอจากชื่อของ Tros ผู้ก่อตั้งอาณาจักร กับ Ilus พระราชโอรส[7][8]

ในภาษาละติน นครนี้ได้รับการเรียกขานเป็น Troia หรือ Ilium ส่วนในภาษาตุรกีโดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ Troya หรือ Truva

ชั้นทางโบราณคดี

ในตำนาน

ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 แสดงการปล้นสะดมทรอยในตำนาน

งานวรรณกรรมหลักที่มีฉากในทรอยคือ อีเลียด มหากาพย์กรีกโบราณที่เล่าเรื่องช่วงปีสุดท้ายของสงครามโทรจัน ใน อีเลียด กล่าวถึงทรอยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่ร่ำรวยและมีอำนาจ ส่วนในบทกวีกล่าวถึงเมืองนี้ว่าเหมือนจะเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคที่สามารถเรียกพันธมิตรมากมายมาปกป้องได้[c] ตัวนครได้รับการบรรยายว่าตั้งอยู่บนเนินเขาสูงชัน ซึ่งได้รับการปกป้องด้วยกำแพงหินลาดขนาดมหึมา หอคอยทรงสี่เหลี่ยม และประตูไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถปิดได้ ถนนในนครกว้างและได้รับการวางแผนมาอย่างดี บนยอดเนินคือวิหารอะธีนาและพระราชวังพระเจ้าไพรอัม (King Priam's palace) ที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีห้องรอบ ๆ ลานภายในจำนวนมาก[6](pp 59–61)[10]

ใน อีเลียด ฝ่ายอาเคียนตั้งค่ายใกล้ปากแม่น้ำสคาแมนเดอร์[11]ที่พวกเขาจอดเรือไว้ ตัวนครอยู่บนเนินเขาตรงข้ามที่ราบสคาแมนเดอร์ ซึ่งเป็นที่ที่มีการสู้รบเป็นส่วนใหญ่

สถานะปัจจุบัน

ฝั่งตะวันตกของสันเขาทรอย ถนนจาก Tevfikiye มาจากทางขวา

รัฐบาลตุรกีจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติที่ทรอยในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1996 กินพื้นที่ 136 ตารางกิโลเมตร (53 ตารางไมล์) ซึ่งรวมทรอยและบริเวณใกล้เคียง โดยมีจุดศูนย์กลางที่ทรอย[12] จุดประสงค์ของอุทยานคือปกป้องสถานที่ทางประวัติศาสตร์และอนุสรณ์สถานภายในอุทยาน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค จากนั้นใน ค.ศ. 1998 อทยานนี้ได้รับเลือกให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก

หมายเหตุ

  1. "Troy or Ilios (or Wilios) is most probably identical with Wilusa or Truwisa... mentioned in the Hittite sources[1]
  2. "Troy or Ilios (or Wilios) is most probably identical with Wilusa or Truwisa ... mentioned in the Hittite sources[1]
  3. "And Troy prevails by armies not her own".[9](line 160)
    "Assemble all the united bands of Troy; / In just array let every leader call / The foreign troops: this day demands them all."[9](lines 974–976)

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Korfmann, Manfred O. (2007). Winkler, Martin M (บ.ก.). Troy: From Homer's Iliad to Hollywood epic. Oxford, England: Blackwell Publishing Limited. p. 25. ISBN 978-1-4051-3183-4.
  2. 2.0 2.1 Burney, Charles (2004). "Wilusa". Historical dictionary of the Hittites. Metuchen, NJ: Scarecrow Press. p. 311. ISBN 978-0-8108-4936-5.
  3. 3.0 3.1 Beekes, R.S.P. (2009). Etymological Dictionary of Greek. Brill. p. 588.
  4. 4.0 4.1 Said, Suzanne; Webb, Ruth (2011). Homer and the Odyssey. Oxford University Press. p. 77.
  5. Jablonka, Peter (2011). "Troy in regional and international context". ใน Steadman, Sharon; McMahon, Gregory (บ.ก.). The Oxford Handbook of Ancient Anatolia. Oxford University Press. p. 725. doi:10.1093/oxfordhb/9780195376142.013.0032. Since neither inscriptions confirming the Iliad nor definite proof for a violent destruction by invaders from Greece have been discovered at Troy...
  6. 6.0 6.1 Bryce, T. (2005). The Trojans and their Neighbours. Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-34959-8.
  7. Diodorus Siculus. Bibliotheca historica. 4.75.3.
  8. Virgil. Aeneid. 6.637-678.
  9. 9.0 9.1 "Book II". Iliad. แปลโดย Pope, A.
  10. Smith, William, บ.ก. (2020) [1854]. "Ilium". Dictionary of Greek and Roman Geography. Perseus Digital Library.
  11. Cenker, Işil Cerem; Thys-Şenocak, Lucienne (2008). Shopes, Linda; Hamilton, Paula (บ.ก.). Oral History and Public Memories. Philadelphia, PA: Temple University Press. p. 76. ISBN 978-1-59213-141-9.
  12. "The Historical National Park of Troy". Ministry of Culture and Tourism. 3 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya