Share to:

 

ฮิตไทต์

จักรวรรดิฮิตไทต์

Ḫa-at-tu-ša / 𒄩𒀜𒌅𒊭
ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล–ประมาณ 1190 ปีก่อนคริสตกาล
ตราพระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้ายของHittites
ตราพระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 2 กษัตริย์องค์สุดท้าย
จักรวรรดิฮิตไทต์ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด (ประมาณ 1350–1322 ปีก่อนคริสตกาล)
จักรวรรดิฮิตไทต์ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด
(ประมาณ 1350–1322 ปีก่อนคริสตกาล)
เมืองหลวงฮัตทูซา, ทาร์ฮันทัชชา (สมัยพระเจ้ามูวาทัลลีที่ 2)
ภาษาทั่วไปภาษาฮิตไทต์, ภาษาฮัตติก, ภาษาลูเวีย, ภาษาแอกแคด
ศาสนา
ศาสนาฮิตไทต์
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อาณาจักรเก่า)
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (อาณาจักรกลางและใหม่)[1]
กษัตริย์ 
• ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าลาบาร์นาที่ 1 (แรก)
• ประมาณ 1210–1190 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 2 (สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์
• ก่อตั้ง
ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ประมาณ 1190 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
กึลเทเป
เอบลา
รัฐไซโร-ฮิตไทต์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของตุรกี
ซีเรีย
เลบานอน
ไซปรัส

ฮิตไทต์ (อักษรโรมัน: Hittites) เป็นชนอานาโตเลียที่ก่อตั้งอาณาจักรแรกในคูสซารา (ก่อน 1750 ปีก่อนคริสตกาล) ต่อมาในกึลเทเป (ประมาณ 1750–1650 ปีก่อนคริสตกาล) ก่อนจะสถาปนาจักรวรรดิที่มีศูนย์กลางที่ฮัตทูซาทางภาคกลางตอนเหนือของอานาโตเลีย (ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล)[2][3] จักรวรรดิฮิตไทต์รุ่งเรืองถึงขีดสุดช่วงกลางศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาลในสมัยพระเจ้าซัปปีลัลลีอูมาที่ 1 โดยครอบครองอานาโตเลียเกือบทั้งหมด ลิแวนต์ตอนเหนือและเมโสโปเตเมียตอนบน[4]

ระหว่างศตวรรษที่ 15–13 ก่อนคริสตกาล จักรวรรดิฮัตทูซา (หรือชื่อสมัยใหม่คือจักรวรรดิฮิตไทต์) ขัดแย้งกับจักรวรรดิอียิปต์ จักรวรรดิอัสซีเรียสมัยกลางและจักรวรรดิมีแทนีเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือตะวันออกใกล้ ที่สุดแล้วจักรวรรดิอัสซีเรียสมัยกลางขึ้นเป็นมหาอำนาจเด่นและผนวกดินแดนของจักรวรรดิฮิตไทต์จำนวนมาก ขณะที่ดินแดนส่วนที่เหลือถูกชาวฟรีเจียตีแตก ต่อมาเมื่อเกิดการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ (ประมาณ 1180 ปีก่อนคริสตกาล) จักรวรรดิฮิตไทต์สลายกลายเป็นรัฐย่อยอิสระที่เรียกว่ารัฐไซโร-ฮิตไทต์ ซึ่งบางส่วนดำรงอยู่จนถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลก่อนจะเสียให้จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ในสมัยคลาสสิก[5] หลังจากนั้นชาวฮิตไทต์ได้กระจัดกระจายและกลืนเข้ากับกลุ่มชนอื่น ๆ ในตุรกี ลิแวนต์และเมโสโปเตเมีย[6]

ภาษาฮิตไทต์เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอานาโตเลีย ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาฮิตไทต์และภาษาลูเวียเป็นหนึ่งในภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่เก่าแก่ที่สุด[7] ชาวฮิตไทต์เรียกภาษานี้ว่า nešili (ภาษาเนชา) และเรียกอาณาจักรของตนว่าอาณาจักรฮัตทูซา ตามชื่อฮัตเทียน กลุ่มชนพูดภาษาฮัตติก[8] ที่อาศัยอยู่ในอานาโตเลียกลางจนถึงต้นสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ฮิตไทต์เป็นคำเรียกสมัยใหม่ที่มาจากการระบุนามกลุ่มชนที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูโดยนักโบราณคดีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19[9]

เรื่องราวของฮิตไทต์ส่วนใหญ่มาจากข้อความอักษรรูปลิ่มที่บันทึกโดยชาวฮิตไทต์เอง และเอกสารการทูตและการค้ากับอาณาจักรอื่น เช่น อียิปต์โบราณ อัสซีเรีย บาบิโลเนียและตะวันออกกลาง การถอดรหัสข้อความดังกล่าวถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในการศึกษาภาษาอินโด-ยูโรเปียน การศึกษาฮิตไทต์เพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1920 เมื่อมีการก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีในปี ค.ศ. 1923 ในช่วงเวลาใกล้กันตุรกีได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมอานาโตเลียซึ่งจัดแสดงโบราณวัตถุและงานศิลปะฮิตไทต์

เดิมนักวิชาการเสนอว่าชาวฮิตไทต์พัฒนาการถลุงเหล็กช่วงปลายยุคสัมฤทธิ์และผูกขาดการผลิตเหล็กในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องผูกขาดการผลิตเหล็กของฮิตไทต์ถูกตั้งข้อสังเกตและไม่ได้รับการเห็นพ้องในวงวิชาการ[10] เนื่องจากเทคโนโลยีการถลุงเหล็กในอานาโตเลียช่วงปลายยุคสัมฤทธิ์/ต้นยุคเหล็กนั้นแพร่หลายไปยังภูมิภาคใกล้เคียงด้วย นอกจากนี้มีการพบเครื่องมือเหล็กในอานาโตเลียจำนวนใกล้เคียงกับที่พบในอียิปต์และที่อื่นในช่วงเวลาเดียวกัน[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Crime and Punishment in the Ancient World, p. 29, Israel Drapkin – 1989
  2. Kloekhorst & Waal 2019.
  3. Kloekhorst 2020.
  4. Mark, Joshua J. (May 20, 2014). "Suppiluliuma I". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
  5. "Neo-Hittites". Livius.org. October 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
  6. Ancient History Encyclopedia. "Sea Peoples." September 2009. Sea Peoples เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "2006-05-02 Hittite". 7 July 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2017. สืบค้นเมื่อ 19 December 2016.
  8. Ardzinba, Vladislav. (1974): Some Notes on the Typological Affinity Between Hattian and Northwest Caucasian (Abkhazo-Adygian) Languages. In: "Internationale Tagung der Keilschriftforscher der sozialistischen Länder", Budapest, 23–25. April 1974. Zusammenfassung der Vorträge (Assyriologica 1), pp. 10–15.
  9. Mark, Joshua J. (May 1, 2018). "Hittites". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ September 22, 2022.
  10. Muhly, James D. 'Metalworking/Mining in the Levant' in Near Eastern Archaeology ed. Suzanne Richard (2003), pp. 174–183
  11. Waldbaum, Jane C. From Bronze to Iron. Gothenburg: Paul Astöms Förlag (1978): 56–58.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฮิตไทต์
  • คู่มือการท่องเที่ยว ฮิตไทต์ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  • วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ฮิตไทต์
  • วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ฮิตไทต์
Kembali kehalaman sebelumnya