Share to:

 

พรรคพลังคนกีฬา

พรรคพลังคนกีฬา
หัวหน้าวิรุณ เกิดชูกุล
เลขาธิการภูธน เพชรพิฆาฏ
นโยบายพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
คำขวัญรวมพลังคนกีฬา พัฒนาการเมืองไทย
ก่อตั้ง28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ถูกยุบ10 มกราคม พ.ศ. 2563 (10 ปี)[1]
ที่ทำการ51/50 หมู่บ้านนีโอคลาสสิคโฮม เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
เว็บไซต์
www.thailandsportparty.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคพลังคนกีฬา (อังกฤษ: Sport Party of Thailand ตัวย่อ: S.P.O.T. พ.ก.) เป็นพรรคการเมืองไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552[2] โดยมีนายวนัสธนา สัจจกุล เป็นหัวหน้าพรรค และนายวิรุณ เกิดชูกุล เป็นเลขาธิการพรรค โดยมีนโยบายหลักเพื่อพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ

นโยบายพรรค

พรรคพลังคนกีฬา จัดตั้งขึ้นโดยมีนโยบายสำคัญ 11 ข้อ คือ[3]

  1. หล่อหลอมให้เยาวชนของชาติภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย ไม่แยกสี ไม่แยกภาค ไม่แยกศาสนา อยู่ใต้ร่มธงไตรรงค์ผืนเดียวกัน และมีองค์พระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน
  2. หล่อหลอมให้เยาวชนของชาติเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี มีน้ำใจนักกีฬาและปลอดยาเสพติด
  3. พัฒนากีฬาไทยให้ทัดเทียมกับประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่น
  4. ส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
  5. สร้างสถานที่เล่นกีฬา ออกกำลังกายให้ครบทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทุกตำบล และทุกหมู่บ้าน
  6. จัดหาอุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์ออกกำลังกายให้เหมาะสมตามความต้องการของท้องถิ่น
  7. ตั้งกองทุนกีฬาประจำตำบลเพื่อให้ชุมชนมีต้นทุนในการทำกิจกรรมกีฬา
  8. สนับสนุนให้นักกีฬาไทยมีโอกาสไปฝึกซ้อม และแข่งขันต่างประเทศ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองและประเทศชาติ
  9. จัดให้มีกิจกรรมกีฬา ทั้งเพื่อการออกกำลังกาย และการแข่งขันสำหรับผู้สูงอายุ
  10. จัดให้มีกิจกรรมกีฬา ทั้งเพื่อการออกกำลังกาย และการแข่งขันสำหรับคนพิการ
  11. เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถจากภาคประชาชนเข้ามาบริหารประเทศในตำแหน่งรัฐมนตรี

แกนนำพรรค

การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง

พรรคพลังคนกีฬา ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เป็นครั้งแรก โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 36 ประกอบด้วยผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 103 คน ซึ่งพรรคพลังคนกีฬา ได้นำเสนอนโยบายการให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อยุติปัญหาทางการเมือง โดยเสนอให้นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายวนัสธนา สัจจกุล หัวหน้าพรรคฯ จะขอเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะได้ใช้กีฬาสร้างความปรองดองในชาติ[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียวในสภาผู้แทนราษฎร

พรรคพลังคนกีฬาสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563[5]

อ้างอิง

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง พรรคพลังคนกีฬาสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
  2. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ เก็บถาวร 2010-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ณ วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคพลังคนกีฬา
  4. "สมัครปาร์ตี้ลิสต์วันสุดท้ายเพิ่มอีก 8 พรรคการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคพลังคนกีฬาสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
Kembali kehalaman sebelumnya