กรมหลวงราชานุรักษ์, กรมหลวงประชานุรักษ์ หรือ กรมหลวงประชาบดี[1] เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
พระประวัติ
กรมหลวงราชานุรักษ์มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าทองสุก (คำให้การชาวกรุงเก่า)[2][3][4] หรือเจ้าท้าวทองสุก (คำให้การขุนหลวงหาวัด)[5] ไม่ปรากฏข้อมูลว่าผู้ใดเป็นพระชนกชนนี มีเพียง คำให้การชาวกรุงเก่า ที่ระบุเพียงว่าพระองค์เป็นพระอัครชายาเดิมในเจ้าฟ้าสุรินทรกุมารตั้งแต่ยังเป็นพระมหาอุปราช เมื่อเจ้าฟ้าสุรินทรกุมารเสวยราชย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระภูมินทราธิราชจึงตั้งเจ้าฟ้าทองสุกขึ้นเป็นกรมหลวงราชานุรักษ์ พระอัครมเหสี[6][7]
ใน คำให้การชาวกรุงเก่า และ คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุตรงกันว่าพระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา 6 พระองค์ ได้แก่[2][3][5]
- เจ้าฟ้าหญิงเทพ
- เจ้าฟ้าหญิงปทุมมา (ประทุม)
- เจ้าฟ้าชายนรินทร์ (นเรนทร์)
- เจ้าฟ้าชายอภัย
- เจ้าฟ้าชายปรเมศ (ปรเมศร์)
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 ภาคปกิรณกะ ส่วนที่ 1. กรุงเทพฯ : หอพระสมุดวชิรญาณ. 2467, หน้า 84-7
"...อนึ่งชื่อเจ้ากรมข้างในว่า กรมหลวงประชาบดี ในแผ่นดินทรงปลา แลกรมหลวงอภัยนุชิต กรมหลวงพิพิธมนตรี ในแผ่นดินบรมโกษฐ แลกรมหลวงบาทบริจาริก ในแผ่นดินเจ้าตากไม่มีคำนำนาม..."
- ↑ 2.0 2.1 คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 547
- ↑ 3.0 3.1 ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 113
- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ 1-9. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2552, หน้า 16
- ↑ 5.0 5.1 คำให้การขุนหลวงหาวัด, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 747
- ↑ คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 622-623
- ↑ ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 173
- บรรณานุกรม
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2559. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-87-4
|
---|
กรมพระ | | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
|