กระสวยอวกาศโคลัมเบีย
กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Orbiter Vehicle Designation: OV-102) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงของนาซา ซึ่งภารกิจแรกในเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) จนมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นเหนือรัฐเท็กซัสขณะกลับสู่โลก หลังภารกิจครั้งที่ 28 เสร็จสิ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต ประวัติการสร้างยานโคลัมเบียเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ที่ ในเมือง Palmdale รัฐแคลิฟอร์เนีย โคลัมเบียเป็นชื่อตั้งตามหลังจากเรือใบ honored Columbia ของฐานเรือใบเมืองBoston โดยกัปตันเรือ Robert Grey ชาวอเมริกันได้ทำการเดินทางสำรวจแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือและเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้เรือใบสำรวจของโลก และชื่อจากโมดูลสั่งการของยานอพอลโล 11 หลังสร้างยานเสร็จยานได้ถูกส่งมาที่ศูนย์อวกาศจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 สู่การเตรียมยิงปล่อยครั้งแรก ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2524 ในระหว่างเตรียมทดสอบ ground ได้มีสองคนงานเกิดการสลบจากการขาดอากาศขณะที่กำลังทำการล้างไนโตรเจน จนทำให้ทั้งสองเสียชีวิต ในปี พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ยานโคลัมเบียได้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจลำกับสอง (STS-9 ในตอนนั้นมีนักท่องอวกาศหกคน หนึ่งในนั้นเป็นนักท่องอวกาศต่างชาติบนกระสวยอวกาศคือ Ulf Merbold และเมื่อมีการนำดิสคัฟเวอรีและ แอตแลนติสเข้ามาร่วม โคลัมเบียจึงไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาสามปี โคลัมเบียได้กลับสู่อวกาศในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2529 ซึ่งถูกปล่อยในเที่ยวบิน STS-61-C ในภารกิจนี้มี Dr. Franklin R. Chang-Diaz กับ Bill Nelson สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ลองไปอวกาศด้วย ต่อมาของภารกิจกระสวยถูกให้ชาเลนเจอร์ปฏิบัติ โดยกำหนดวันปล่อยในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986) 10 วันหลังเที่ยวบิน STS-61-C ถึงสู่โลก ภารกิจสิ้นสุดเมื่อเกิดการระเบิดหลังจากปล่อย จนเป็นปัญหากับตารางเวลากระสวยของนาซายุ่งเหยิง และโคลัมเบีย จึงไม่ได้บินอีกครั้งตั้งแต่ 2532 (ในเที่ยวบิน STS-28) ซิ่งหลังจากมันกลับเข้าที่โรงเก็บกระสวยอวกาศ เที่ยวบิน STS-93 ถูกปล่อยในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) โดยมีผู้สั่งการคือ Lt. Col. Eileen Collins เที่ยวบินกระสวยอวกาศโคลัมเบียใช้ปฏิบัติภารกิจมาแล้ว 28 ครั้ง รวมเวลาในอวกาศ 300.74 วัน โคจรรอบโลก 4,808 รอบ เป็นระยะเดินทางรวม 201,497,772 กิโลเมตร โคลัมเบียไม่ได้ถูกใช้งานเทียบท่าสถานีอวกาศใน โครงการกระสวยอวกาศ–เมียร์ (Shuttle-Mir) และโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ เช่นเดียวกับ ชาเลนเจอร์ ซึ่งประสบอุบัติเหตุก่อน และกระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ ซึ่งยังไม่เคยถูกใช้งานในอวกาศ ขณะที่กระสวยดิสคัฟเวอรี แอตแลนติส และ เอนเดฟเวอร์ เคยใช้ติดต่อกับสถานีอวกาศทั้งหมด เครื่องหมายภารกิจ
เที่ยวบินสุดท้าย
ดูเพิ่มวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กระสวยอวกาศโคลัมเบีย อ้างอิง |