การทัพทางทหารของก๊กมินตั๋งในช่วง ค.ศ. 1926–1928
การกรีธาทัพขึ้นเหนือ ส่วนหนึ่งของ สมัยขุนศึก ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เจียงกำลังตรวจตราทหารในกองทัพ; กองทัพปฏิวัติแห่งชาติเดินทัพขึ้นเหนือ; หน่วยปืนใหญ่ของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติในสมรภูมิ; พลเรือนกำลังแสดงการสนับสนุนต่อกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ; ชาวนาที่อาสาเข้าร่วมการกรีธาทัพ; ทหารกองทัพปฏิวัติแห่งชาติกำลังเตรียมพร้อมสำหรับเปิดฉากโจมตีวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1926 – 29 ธันวาคม ค.ศ. 1928(2 ปี และ 173 วัน) สถานที่ ทางตอนใต้ถึงตอนเหนือของประเทศจีน
ผล
กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ชนะ
คู่สงคราม
รัฐบาลชาตินิยม
สนับสนุนโดย: สหภาพโซเวียต โคมินเทิร์น
รัฐบาลเป่ย์หยาง
สนับสนุนโดย: ญี่ปุ่น ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจียง ไคเชก เฟิง ยฺวี่เสียง หลี่ จงเหริน ไป้ ช่งฉี่ เหอ อิ้งชิน หยาน ซีชาน จาง ฟาขุย ลี จี้เชิน ถาน หยานไข่ เฉิง เฉียน เติ้ง เหยี่ยนต๋า โจว เอินไหล เย่ ถิ่ง มีฮาอิล โบโรดิน วาซีลี บลูย์เฮียร์
จาง จั้วหลิน † จาง เสฺวเหลียง จาง จงชาง หยาง ยฺหวี่ติ๋ง อู๋ เป้ย์ฝู ซุน ฉฺวันฟาง ฉู่ ยฺวี่ปู้ กำลัง
ป. 100,000 นาย (กรกฎาคม ค.ศ. 1926)ป. 264,000 นาย (ธันวาคม ค.ศ. 1926)ป. 700,000 นาย (ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1927)ป. 1,000,000 นาย (ค.ศ. 1928)
ป. 700,000–1,000,000 นาย (ค.ศ. 1926)ป. 190,000–250,000 นาย (ธันวาคม ค.ศ. 1928)
เสียชีวิต 366,000-953,000 นาย โดยประมาณ (รวมผู้ที่มิใช่พลรบ)[ 12]
เส้นทางการกรีธาทัพขึ้นเหนือ
การกรีธาทัพขึ้นเหนือ เป็นการทัพทางทหารที่เปิดฉากขึ้นโดยกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ของก๊กมินตั๋ง เพื่อต่อต้านรัฐบาลเป่ย์หยาง และขุนศึกตามภูมิภาคอื่น ๆ ใน ค.ศ. 1926 จุดประสงค์ของการทัพในครั้งนี้คือการรวมจีนเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งประเทศได้แตกแยกเป็นฝ่ายต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการปฏิวัติซินไฮ่ การกรีธาทัพขึ้นเหนือนำโดยนายพล เจียง ไคเชก และได้แบ่งระยะการรบออกเป็นสองช่วงเวลา โดยระยะการรบครั้งแรกสิ้นสุดลงเพราะเกิดการแตกแยกทางการเมืองของสองขั้วก๊กมินตั๋งใน ค.ศ. 1927 ระหว่างขั้วฝ่ายขวา ในหนานจิง ที่นำโดยเจียง กับขั้วฝ่ายซ้าย ในอู่ฮั่น ที่นำโดยวาง จิงเว่ย์ ซึ่งการแตกแยกนี้นำไปสู่แรงจูงใจต่อเหตุการณ์กวาดล้างคอมมิวนิสต์ในเซี่ยงไฮ้ ของเจียง อันถือเป็นการยุติลงของแนวร่วมที่หนึ่ง ต่อมาเจียง ไคเชก ได้ลาออกจากการเป็นผู้บัญชาการกองทัพปฏิวัติแห่งชาติและลี้ภัยตนเองไปญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1927 เพื่อพยายามแก้ไขรอยร้าวจากความแตกแยกนี้
ระยะการรบครั้งที่สองของการกรีธาทัพเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1928 เมื่อเจียงกลับมาเป็นผู้บัญชาการทหารอีกครั้งหนึ่ง โดยประมาณเดือนเมษายน ค.ศ. 1928 กองกำลังชาตินิยมเดินทัพเข้าสู่แม่น้ำหวง ด้วยความช่วยเหลือจากขุนศึกพันธมิตร เช่น หยาน ซีชาน และเฟิง ยฺวี่เสียง กองกําลังชาตินิยมจึงได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อกองทัพเป่ย์หยาง เมื่อกองกำลังชาตินิยมเข้าใกล้กรุงปักกิ่ง มากขึ้นทุกที จาง จั้วหลิน ผู้นำก๊กเฟิ่งเทียน ที่ตั้งมั่นอยู่ในแมนจูเรีย จึงพยายามหลบหนีและถูกลอบสังหาร หลังจากนั้นไม่นาน จาง เสฺวเหลียง ผู้เป็รบุตรชายของจาง จั้วหลิน จึงสืบตำแหน่งผู้นำก๊กเฟิ่งเทียนต่อมา และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1928 เขาได้ประกาศว่าแมนจูเรียจะยอมรับอำนาจ ของรัฐบาลชาตินิยมในหนานจิง ทำให้ดินแดนส่วนสุดท้ายของจีนอยู่ภายใต้การควบคุมของก๊กมินตั๋งในที่สุด การกรีธาทัพจึงถือว่าเป็นผลสำเร็จและจีนกลับมารวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยทศวรรษหนานจิง
อ้างอิง
↑ Rummel, R. J. (2017). "Genocide and Mass Murder Since 1900". China's Bloody Century . p. 74.
บรรณานุกรม
Boorman, Howard L.; Cheng, Joseph K. H.; Krompart, Janet (1967). Biographical Dictionary of Republican China (ภาษาอังกฤษ). New York: Columbia University Press. ISBN 9780231089579 .
Brandt, Conrad (1958). Stalin's Failure in China: 1924-1927 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. OCLC 222139243 .
Chang, Ch’i-yün (1953). Tang-shih kai-yao [Outline of the party's history] (ภาษาจีน). Taipei: Central Committee on Culture Supply Association.
Chiang, Kai-shek (Madame) (1978). Conversations with Mikhail Borodin (ภาษาอังกฤษ). London: Free Chinese Centre.
Fenby, Jonathan (2004). Generalissimo: Chiang Kai-shek and the China He Lost . London: Simon & Schuster. ISBN 0743231449 .
Fischer, Louis (1930). The Soviets in World Affairs: A History of Relations Between the Soviet Union and the Rest of the World (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2. London: J. Cape. OCLC 59836788 .
Gao, James Z. (2009). Historical Dictionary of Modern China (1800-1949) (ภาษาอังกฤษ). Lanham, Maryland: Scarecrow Press. ISBN 9780810863088 .
Hsi-Sheng, Ch'I (1976). Warlord Politics in China: 1916 - 1928 (ภาษาอังกฤษ). Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 9780804766197 .
Jacobs, Dan N. (1981). Borodin: Stalin's Man in China (ภาษาอังกฤษ). Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. ISBN 0-674-07910-8 .
Jordan, Donald A. (1976). The Northern Expedition: China's National Revolution of 1926-1928 (ภาษาอังกฤษ). Honolulu: University Press of Hawaii. ISBN 9780824803520 .
Jowett, Philip S. (2013). China's Wars. Rousing the Dragon 1894–1949 . Oxford : Osprey Publishing . ISBN 9781782004073 .
Jowett, Philip S. (2014). The Armies of Warlord China 1911–1928 . Atglen , Pennsylvania: Schiffer Publishing . ISBN 9780764343452 .
Jowett, Philip S. (2017). The Bitter Peace. Conflict in China 1928–37 . Stroud : Amberley Publishing. ISBN 9781445651927 .
Kwong, Chi Man (2017). War and Geopolitics in Interwar Manchuria. Zhang Zuolin and the Fengtian Clique during the Northern Expedition . Leiden : Brill Publishers . ISBN 9789004339125 .
Kotkin, Stephen (2014). Stalin: Paradoxes of Power, 1878–1928 . London: Allen Lane. ISBN 978071399944-0 .
Malmassari, Paul (2016) [1st pub. 1989]. Armoured Trains . แปลโดย Roger Branfill-Cook. Barnsley : Seaforth Publishing (Pen and Sword Books ). ISBN 9781848322622 .
Mitter, Rana (2000). The Manchurian Myth: Nationalism, Resistance, and Collaboration in Modern China . Berkeley ; Los Angeles : University of California . ISBN 9780520923881 .
Smith, Stephen Anthony (2000). A Road Is Made: Communism in Shanghai, 1920-1927 . Honolulu : University of Hawaii Press . ISBN 9780824823146 .
Taylor, Jay (2009). The Generalissimo . Cambridge, MA : Harvard University Press. ISBN 9780674033382 .
Tolley, Kemp (2000). Yangtze Patrol: The U.S. Navy in China . Annapolis, Maryland: Naval Institute Press. ISBN 1-55750-883-6 .
Wang, Zheng (2014). Never Forget National Humiliation: Historical Memory in Chinese Politics and Foreign Relations . New York, NY: Columbia University Press. ISBN 9780231148917 .
Wilbur, C. Martin (1983). The Nationalist Revolution in China, 1923-1928 . Cambridge , England: Cambridge University Press. ISBN 9780521318648 .
Wilbur, Clarence Martin; How, Julie Lien-ying (1989). Missionaries of Revolution: Soviet Advisers and Nationalist China, 1920-1927 (ภาษาอังกฤษ). Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. ISBN 9780674576520 .
Worthing, Peter (2016). General He Yingqin: The Rise and Fall of Nationalist China . Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN 9781107144637 .
หนังสืออ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น