Share to:

 

การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

สถานีรถไฟพนมเปญใน ค.ศ. 2009
รถไฟกัมพูชา

กัมพูชา มีเครือข่ายรถไฟเป็นระยะทาง 612 km (380 mi) จำนวน 2 เส้นทาง ซึ่งก่อสร้างในยุคอาณานิคมฝรั่งเศส เนื่องจากความยากลำบากของประชาชนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้การรถไฟอยู่ในสภาพทรุดโทรมค่อนข้างมาก

การพัฒนาที่ผ่านมา

การรถไฟในกัมพูชาได้รับการฟื้นฟูโดยรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งใช้เงินทุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย บริษัทใหญ่ของออสเตรเลีย 2 แห่ง ได้มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทางรถไฟ เพื่อทำให้เส้นทางรถไฟสายทรานส์อาเซียนนั้นเสร็จสมบูรณ์ให้เร็วที่สุด เส้นทางแรกที่ได้รับการเปิดใหม่ ซึ่งมีระยะทาง 117 km (73 mi) ระหว่างกรุงพนมเปญและจังหวัดกำปอตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ไปถึงเมืองเมืองพระสีหนุ และเปิดให้บริการเมื่อพฤษภาคม ค.ศ. 2011[1]

สายตะวันตกเชื่อมต่อกับชายแดนไทยที่เมืองปอยเปตซึ่งกำลังฟื้นฟู และมีทางรถไฟสายใหม่เชื่อมระหว่างกรุงพนมเปญกับนครโฮจิมินห์ ซึ่งกำลังวางแผน และเมื่อแล้วเสร็จ ทางรถไฟจะเชื่อมต่อจากสิงคโปร์ไปยังเมืองคุนหมิงได้สะดวก[2]

บริษัทรถไฟจีนแห่งหนึ่ง วางแผนที่จะสร้างทางรถไฟตัดผ่านกัมพูชา[3]

ประวัติ

ยุคล่าอาณานิคม

ในช่วงที่กัมพูชาถูกล่าอาณานิคมโดยฝรั่งเศส ได้มีการสร้างทางรถไฟสายแรกขึ้นมาโดยวิ่งจากพนมเปญปอยเปต ซึ่งเริ่มเปิดเดินรถในปี 2475 แต่ในช่วงปี 2484–2489 ไทยได้ดินแดนจากกัมพูชาส่วนในจากสนธิสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ส่งผลทำให้ไทยได้เมืองพระตะบอง, ศรีโสภณ, มงคลบุรี และเสียมราฐ (ยกเว้นนครวัดและนครธม) กรมรถไฟหลวงของประเทศไทยจึงเปิดให้บริการจากกรุงเทพพระตะบอง แต่หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยจึงต้องคืนดินแดน รวมทั้งเส้นทางรถไฟให้แก่กัมพูชา ส่งผลให้ทางรถไฟสายกรุงเทพ - พระตะบอง ถูกระงับลง

ปลายศตวรรษที่ 20

ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กัมพูชามีความพยายามที่จะสร้างทางรถไฟสายพนมเปญ–เมืองพระสีหนุ เพื่อลดการพึ่งพาจากท่าเรือไซง่อนในประเทศเวียดนาม และท่าเรือคลองเตยในประเทศไทย โดยในปี 2498 ออสเตรเลียได้บริจาคล้อเลื่อนรถไฟให้แก่กัมพูชา อีกทั้งได้จัดหาตู้รถไฟชั้น 3 ให้แก่กัมพูชาในปี 2503 ภายใต้แผนการโคลัมโบ และยังได้รับความช่วยเหลือจากประเทศฝรั่งเศส, เยอรมนีตะวันตก และจีน ในช่วงระหว่างปี 2503–2512 ต่อมาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ได้เกิดเหตุการณ์สงครามกลางเมืองกัมพูชา ส่งผลให้ต้องหยุดการพัฒนา การเดินรถไปและปล่อยทิ้งร้าง โดยทางรถไฟบางส่วนได้ถูกชาวบ้านรื้อถอนนำไปขาย

ศตวรรษที่ 21

ต่อมาเมื่อประเทศกัมพูชาได้สงบลง รัฐบาลกัมพูชาจึงมีแผนบูรณะเส้นทางรถไฟในประเทศ โดยได้รับการความช่วยเหลือจากมาเลเซียที่บริจาครางรถไฟให้แก่กัมพูชา และธนาคารพัฒนาเอเชียได้ให้กัมพูชากู้ยืมเงินสำหรับบูรณะเส้นทางรถไฟด้วยระยะทาง 641 กิโลเมตร โดยมี 2 สายหลักคือสายเหนือ พนมเปญ–ปอยเปต และ สายใต้ พนมเปญ–เมืองพระสีหนุ

ต่อมาในเดือนตุลาคม 2553 จึงสามารถเปิดเดินรถจากพนมเปญ–กำปอต ในปี 2559 กัมพูชาได้เปิดเดินรถจากพนมเปญ–เมืองพระสีหนุ และเมื่อปี 2561 จึงได้เปิดบริการเดินรถจากปอยเปต–ศรีโสภณ พร้อมกับเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา จากสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก–ปอยเปต[4]

สถิติ

ในประวัติศาสตร์

การรถไฟหลวงกัมพูชา[5]

หัวรถจักร

บริษัท CSR Qishuyan ของประเทศจีน[7] ได้นำเข้ารถจักรดีเซลไฟฟ้ารุ่น CKD6D มาให้กับการรถไฟหลวงกัมพูชา เป็นหัวรถจักร 880 kW Bo-Bo พร้อมเครื่องยนต์ Caterpillar CAT3508B[8]

การเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

  • ไทย ไทย - มี - เปิดใช้บริการ - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in)
  • ลาว ลาว - ไม่มี - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in) - ผ่านทางประเทศไทย
  • เวียดนาม เวียดนาม - ไม่มี - กำลังก่อสร้าง - ขนาดความกว้างราง 1,000 mm (3 ft 3 38 in)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. "Toll Royal Railway opens Phase One of the Cambodian Railway". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-01. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  2. "Cambodia Takes First Step in Connecting Regional Railways". Voice of America.
  3. "Railway planned to link steel plant and port". Railway Gazette International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013.
  4. https://www.matichon.co.th/region/news_1563421
  5. Sampson, H. (General Editor), The Dumpy Book of Railways of the World, Sampson Low, London, c. 1956, page 171
  6. http://www.steamlocomotive.info/country.cfm?which=cambodia
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ 2013-08-18.
  8. http://biz.everychina.com/qscn-r/z25ac062-ckd6d_meter_gauge_diesel_locomotive.html

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Rail transport in Cambodia

Kembali kehalaman sebelumnya