พระตะบอง (เมือง)
พระตะบอง หรือ บัตดอมบอง (เขมร: បាត់ដំបង) เป็นเมืองหลักของจังหวัดพระตะบอง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ก่อตั้งขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 11 โดยกษัตริย์เขมร รู้จักกันในฐานะแหล่งปลูกข้าวชั้นนำของประเทศ สมัยก่อนเคยเป็นเมืองสยาม แต่ต่อมาก็ได้เป็นเมืองของกัมพูชา เมืองนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสังแก ประวัติศาสตร์ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณเมืองพระตะบอง เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คน จนกระทั่งมีการสร้างเป็นเมืองมาโดยตลอด ปรากฏหลักฐานที่เป็นศิลาจารึกภาษาสันสฤตและภาษาเขมรโบราณ ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครถึงสมัยเมืองพระนคร แต่จากข้อมูลในศิลาจารึกที่พบในปัจจุบัน ยังไม่พบศิลาจารึกหลักใดกล่าวถึงชื่อเมืองพระตะบอง เข้าใจว่าชื่อเมืองพระตะบองเป็นการตั้งชื่อในภายหลัง เมืองพระตะบองมีศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนเมืองพระนครถึงสมัยเมืองพระนครตอนปลายจำนวนมาก ปราสาทที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างสมบูรณ์คือ ปราสาทบานันและปราสาทเอกพนม เป็นต้น จากจารึกวัดเอกพนม K.211 จารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1570 ตรงกับ รัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ในจารึกได้กล่าวถึง การถวายของจำนวนหนึ่งให้แก่เมืองที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงปราสาทซึ่งประดิษฐานงพระกมรเตงอัญศิวลิงก์ เมืองนั้นชื่อว่าเมือง อโมฆะปุระ (Amoghapura) เอเตียน อายโมนิเยร์สันนิษฐานว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของพระตะบองปัจจุบัน น่าจะเคยเป็นเมือง อโมฆะปุระ ในสมัยเมืองพระนคร[2] บทบาทของเมืองพระตะบองในประวัติศาสตร์เริ่มชัดเจนขึ้น ในสมัยหลังเมืองพระนคร เนื่องจากกัมพูชาได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองในสมัยเมืองพระนคร มาตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบคือ เมืองศรีสันธร พนมเปญ ละแวก และเมืองอุดงค์ ทำให้พระตะบองกลายเป็นเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเดินทัพของสยามเพื่อไปรบกับเขมร ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เส้นทางที่ใช้คือเส้นทางปราจีนบุรี-พระตะบองเป็นหลักแทนเส้นทางเมืองพิมาย-เมืองพระนครที่จะต้องอ้อมทะเลสาบ[3] ชื่อเมืองพระตะบองจึงได้ปรากฏขึ้นในเอกสารพระราชพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งของไทยและเขมร ในพระราชพงศาวดารของไทยปรากฏใน 2 ชื่อด้วยกันคือ เมืองปัตตะบองและเมืองพระตะบอง และในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองพระตะบองยังมีหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านของสยาม เพื่อป้องกันศึกสงครามกับญวน หลังจากที่เมืองพระตะบองอยู่ภายใต้การปกครองสยามในต้นสมัยรัตนโกสินทร์ สยามได้แต่งตั้งเจ้าเมืองพระตะบองคนแรกชื่อ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เมื่อ พ.ศ. 2337 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งการแต่งตั้งผู้นำของเมืองพระตะบองในระยะต่อมาก็ยังคงรับการแต่งตั้งจากกษัตริย์สยามจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ฝรั่งเศสได้เริ่มเข้ามาตั้งอาณานิคมที่อินโดจีน ทางทิศตะวันออกของสยาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของสยาม คือการจัดดินแดนอำนาจการปกครองใหม่ เพื่อดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและเพื่อช่วยป้องกันอำนาจของพวกตะวันตก ใน พ.ศ. 2439 พระองค์ทรงได้โปรดเกล้าฯ ให้ 4 จังหวัดของเขมรคือ เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองศรีโสภณ และเมืองพระสรุก รวมกันเป็นมณฑลบูรพา และทรงแต่งตั้งพระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ เป็นสมุหเทศาภิบาล ต่อมาทรงแต่งตั้ง เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เป็นสมุหเทศาภิบาลแทน[4] ภูมิอากาศ
สถานที่น่าสนใจ
เมืองพี่น้องอ้างอิง
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พระตะบอง |