Share to:

 

การปฏิวัติโบลิบาร์

การปฏิวัติโบลิบาร์
ส่วนหนึ่งของกระแสสีชมพู
ทหารถือธง "ดวงตาของชาเบซ"
วันที่พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน
ที่ตั้ง เวเนซุเอลา
สาเหตุ
เหตุจูงใจ
ผล

การปฏิวัติโบลิบาร์ (สเปน: Revolución bolivariana) เป็นกระบวนการทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งนำโดยอูโก ชาเบซ ประธานาธิบดีเวเนซุเอลาผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ก่อตั้งขบวนการสาธารณรัฐที่ 5 และสหพรรคสังคมนิยมเวเนซุเอลา (เปซุบ) การปฏิวัติโบลิบาร์ตั้งชื่อตามซิมอน โบลิบาร์ ผู้นำการปฏิวัติของเวเนซุเอลาและลาตินอเมริกาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีบทบาทเด่นในสงครามการประกาศเอกราชฮิสแปนิกอเมริกาโดยช่วยปลดปล่อยพื้นที่ส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้ตอนบนจากการปกครองของสเปน ตามที่ชาเบซและผู้สนับสนุนคนอื่น ๆ ได้กล่าวไว้นั้น การปฏิวัติโบลิบาร์สมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างชาติในทวีปอเมริกาเพื่อนำคตินิยมแบบโบลิบาร์ ชาตินิยม และระบบเศรษฐกิจที่นำโดยรัฐมาใช้ให้เกิดผล

ในวันเกิดปีที่ 57 ในขณะที่ชาเบซประกาศว่าเขากำลังรักษามะเร็ง เขาได้ประกาศเปลี่ยนคำขวัญการปฏิวัติโบลิบาร์จาก "ปิตุภูมิ สังคมนิยม หรือความตาย" เป็น "ปิตุภูมิสังคมนิยมและชัยชนะ ! พวกเราจะมีชีวิตอยู่และจะเป็นฝ่ายมีชัย !"[4]

ณ พ.ศ. 2561 ตำแหน่งผู้ว่าการรัฐและนายกเทศมนตรีส่วนใหญ่ในเวเนซุเอลามีผู้สมัครรับเลือกตั้งจากเปซุบเป็นผู้ถือครอง ในขณะที่กลุ่มโต๊ะกลมสหภาพประชาธิปไตย (มุด) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้ครองที่นั่งสองในสามของรัฐสภาใน พ.ศ. 2558[5] ความเป็นปรปักษ์ทางการเมืองระหว่างเปซุบกับมุดได้ส่งผลให้การเดินขบวนของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและของฝ่ายค้านกลายเป็นการใช้ความรุนแรงหลายครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 150 คนใน พ.ศ. 2560[6] นอกจากนี้ยังมีการอ้างและการโต้ตอบการอ้างเกี่ยวกับการจำคุกบุคคลจากฝ่ายค้าน โดยฝ่ายรัฐบาลอ้างว่าสถานะทางการเมืองของผู้ถูกจำคุกมิได้เป็นตัวกระตุ้นหรือเป็นตัวประวิงการฟ้องร้องความผิดอาญาที่พวกเขาถูกพิพากษาลงโทษ ในขณะที่ฝ่ายค้านอ้างว่าการจับกุมและการตั้งข้อหาต่าง ๆ มีแรงจูงใจทางการเมือง ด้วยเหตุจากนโยบายประชานิยมที่ริเริ่มโดยรัฐบาลสมัยสาธารณรัฐโบลิบาร์[7] เศรษฐกิจของเวเนซุเอลาได้เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้ออย่างยิ่งยวด การขาดแคลนอาหารและยา และอัตราการเกิดอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น[8]

อ้างอิง

  1. Cannon, Barry (2013). Hugo Chávez and the Bolivarian Revolution: Populism and Democracy in a Globalised Age. Manchester University Press. ISBN 1847797199. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  2. Canelón-Silva, Agrivalca Ramsenia (2014). "Del Estado Comunicador Al Estado De Los Medios. Catorce Años De Hegemonía Comunicacional En Venezuela". Palabra Clave. University of La Sabana. 17 (4): 1243–78.
  3. Rory, Carroll, (2014). Comandante : Hugo Chavez's Venezuela. Penguin Books: New York. pp. 182–94. ISBN 0143124889.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  4. Aponte-Moreno, Marco; Lance Lattig. "Chavez: Rhetoric Made in Havana". World Policy Journal (Spring 2012). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  5. "Venezuela profile – Timeline". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-04-26. สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.
  6. "Venezuelan opposition activists march to Leopoldo Lopez' jail". Reuters. 2017-04-28. สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.
  7. 남민우, 기 (2 May 2018). "화폐경제 무너졌는데…최저임금 인상에 목매는 베네수엘라". 朝鮮日報 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 22 May 2018. Venezuela's fall is considered to be mainly caused by the populist policy
  8. Watts, Jonathan; correspondent, Latin America; López, Virginia (2017-05-02). "Venezuela plan to rewrite constitution branded a coup by former regional allies". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.
Kembali kehalaman sebelumnya