Share to:

 

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2548

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
พ.ศ. 2548

← พ.ศ. 2544 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 มกราคม พ.ศ. 2551 →
 
Thaksin crop.jpg
ผู้ได้รับเสนอชื่อ ทักษิณ ชินวัตร
พรรค ไทยรักไทย
คะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 377
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (Tony woodsome)

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ใน พ.ศ. 2548 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีในตำแหน่งที่ว่างลง หลังจากที่พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี

โดยนายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยจะเปิดโอกาสให้ ส.ส.เสนอชื่อบุคคลมี่เหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้กำหนดวิธีลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีแบบเปิดเผยด้วยการขานชื่อ ส.ส. 500 คนตามลำดับตัวอักษร

โดยนายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย ได้เสนอชื่อพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ฝ่ายค้านไม่ได้เสนอชื่อบุคคลเข้าแข่งขัน เนื่องจาก นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้ได้รับการเสนอชื่อในสภาผู้แทนราษฎร
ทักษิณ ชินวัตร
ไทยรักไทย
นายกรัฐมนตรี
(ตั้งแต่ 9 กุมภาพันธ์ 2544)

ผลการลงมติ

บรรหาร ศิลปอาชา ให้สัมภาษณ์ก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี โดยพรรคมีมติอนุมัติให้ตนเพียงคนเดียวที่จะลงมติเห็นชอบให้พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป สาเหตุเพราะตนได้รับปากไว้ก็ต้องทำตามสัญญา และนับจากวันนี้ตนก็จะหมดพันธะสัญญาไปแล้วต่อไปจะทำหน้าที่ฝ่ายค้าน

ภายหลังเสร็จสิ้นการลงคะแนน นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ประกาศผลการนับคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้รับความเห็นชอบ จำนวน 377 คะแนน[1] ไม่เห็นชอบ 1 คะแนน (คือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์) และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรงดออกเสียง 116 คะแนน จึงถือได้ว่าพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาแล้ว จึงถือได้ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความเห็นชอบตามมติของสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมือง เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง ไม่เข้าร่วมประชุม รวม
ไทยรักไทย 374 1[] 2[] 377
ประชาธิปัตย์ 92 4[] 96
ชาติไทย 1[] 1[] 23 25
มหาชน 2 2
รวม 377 1 116 6 494
  1. ทักษิณ ชินวัตร
  2. ปวีณา หงสกุล และพายัพ ชินวัตร
  3. สุรินทร์ พิศสุวรรณ, มาโนช วิชัยกุล, สุพัฒน์ ธรรมเพชร และธานินทร์ ใจสมุทร
  4. บรรหาร ศิลปอาชา
  5. ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์

ภายหลังการลงมติ

ประธานสภาลงมติเห็นชอบ

โดยตามธรรมเนียมของประธานสภาผู้แทนราษฎร จะมีการลงมติงดออกเสียงในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ทว่า โภคิน พลกุล ประธานสภาฯ กลับลงมติเห็นชอบ ทำให้ถูกวิพากย์วิจารณ์โดยฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็น สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรองประธานสภาลำดับที่หนึ่ง ได้กล่าวว่า

“ตามประเพณีและวัฒนธรรมแล้ว ประธานสภาฯ ควรจะงดออกเสียง แต่รองประธานสภาฯ ทั้งสองสามารถออกเสียงได้ เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งประธานฯได้พูดเองว่า สัญญาจะทำหน้าที่ให้เป็นกลาง ซึ่งตรงนี้ทำให้คนเริ่มเกิดความรู้สึกว่า ขนาดประธานฯ ยังมาลงคะแนนและถ้าหากเป็นกฎหมายอื่นๆ จะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม ไม่ให้ประธานฯ ลงคะแนน แต่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 156 วรรค 4 เขียนว่า การลงคะแนนเสียง สนับสนุนใครหรือบุคคลใดดำรงตำแหน่ง เป็นอิสระ ไม่มีพันธะพรรคการเมือง ซึ่งประธานฯ สามารถอ้างข้อนี้กับพรรคได้ และจะดูสง่างามด้วย

การเริ่มต้นอย่างนี้ ทำให้สมาชิกเกิดความรู้สึก ในเมื่อท่านบอกว่าจะเป็นกลาง ตรงนี้เป็นแต่เพียงการตั้งข้อสังเกตไม่ได้ตำหนิติติงท่าน วันนี้ท่านเลือกที่จะยืนอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ทั้งที่การเลือกนายกฯ ครั้งที่แล้ว พรรคไทยรักไทยไม่ได้ชนะถล่มทลายเช่นนี้ แต่ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน ที่เป็นประธานในขณะนั้น ก็ยังงดออกเสียง ดังนั้นหนึ่งเสียงแลกกับความสง่างามของสภาฯ และความสง่างามของตัวเอง บางทีมันเทียบกันไม่ได้ แต่ผมก็เข้าใจ เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของท่าน”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้วิจารณ์ในประเด็นนี้เช่นกัน โดยกล่าวว่า ถ้าจะประสงค์ใช้สิทธิ์ในฐานะสมาชิกพรรค ก็ทำได้ ตนก็แนะท่านไปถ้าอยากลงคะแนนในฐานะสมาชิกพรรคที่สวยกว่านี้ คือ จะต้องลงจากบัลลังก์ เพื่อแยกแยะให้ชัดว่าท่านอยากทำหน้าที่ สส. ซึ่งถ้าหากจะอยู่บนบัลลังก์ จะต้องแสดงออกถึงความเป็นกลาง สมาชิกจะได้มั่นใจ ซึ่งตนได้คุยกับนายโภคินแล้วและนายโภคินเห็นว่าเป็นเรื่องดี[2]

นอกจากนี้ยังมี ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ สส.พรรคชาติไทย ออกมาวิจารณ์ว่า การยกมือสนับสนุนของประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ไม่เหมาะสม ถือว่าน่าเกลียดและไม่สมควร เพราะคนที่มาทำหน้าที่ประธานฯ ต้องวางตัวเป็นกลาง ดังนั้นเมื่อประธานและรองประธานฯ แสดงท่าทีออกมาในลักษณะอย่างนี้ แสดงให้เห็นแล้วว่า การทำงานในสภาจะเป็นอย่างไร[3]

ชูวิทย์ลงมติสวนมติพรรค

ประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย กล่าวหลังการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ละเมิดมติพรรคว่า เรื่องนี้ต้องให้ชูวิทย์เป็นผู้ชี้แจง แม้ว่าพรรคจะมีมติให้งดออกเสียง แต่ก็ถือเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญที่สามารถแสดงความคิดเห็นของตัวเองได้ อย่างไรก็ตามจะนำเรื่องนี้มาพูดคุยกันในวันประชุมพรรคในวันที่ 15 มีนาคม โดยที่ผ่านมาพรรคได้พยายามเตือนและให้ข้อคิดกับอีกฝ่ายว่า การเป็น สส.ใหม่ ไม่ใช่ว่าจะทำตัวแหกมติของพรรคเช่นนี้ แม้ว่าตนจะเป็น สส.เก่า ก็พยายามทำตัวเป็นมิตรกับทุกคน ไม่ใช่อยากทำอะไรก็ทำ แต่คิดว่าจะไม่มีใครนำแบบอย่างของชูวิทย์มาเป็นบรรทัดฐานหรือปฏิบัติในครั้งต่อไป และพรรคจะไม่มีมาตรการลงโทษใด ๆ[4]


อ้างอิง

ก่อนหน้า การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2548 ถัดไป
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2544
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551
Kembali kehalaman sebelumnya