การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 เป็นการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (การประชุมร่วมกันของรัฐสภา) เกิดขึ้นหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 อย่างเป็นทางการ โดยมีการลงมติในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[1] และวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[2] จากการลงมติครั้งที่ 3 ส่งผลให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ชื่อบุคคลที่ได้รับเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 1การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอชื่อบุคคลเพียงคนเดียวดังนี้[3]
ครั้งที่ 3ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทยวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ชลน่าน ศรีแก้วได้เสนอชื่อบุคคลเพียงคนเดียวดังนี้[4]
ผลการลงมติครั้งที่ 1การลงมติครั้งแรกจัดในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 การลงมตินั้นจำเป็นต้องมีเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกับเสียงจากสมาชิกวุฒิสภาให้ได้ 375 เสียง ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดไว้ (เดิมต้องเป็น 376 เสียง แต่เรณู ตังคจิวางกูร สมาชิกวุฒิสภา ได้ลาออกก่อนลงมติ 1 วัน[5] จึงทำให้เหลือ 375 เสียง)
การลงมติครั้งแรกนั้น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเสียงเห็นชอบ 324 เสียง ซึ่งไม่ถึงตามที่กำหนด จึงทำให้วันมูหะมัดนอร์ มะทาตัดสินใจเลื่อนการลงมติออกไปก่อน ครั้งที่ 2หลังจากการลงมติครั้งแรกไม่สามารถหาบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ จึงได้มีการเลื่อนกำหนดการการลงมติเป็นวันที่ 19 กรกฎาคม สุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เสนอ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อีกครั้ง แต่มีผู้ประท้วงว่าตามมาตรา 41 ไม่สามารถเสนอชื่อซ้ำเดิมได้ ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ประธานสภาจึงเปิดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาลงมติเรื่องดังกล่าว
ผลมติดังกล่าว ส่งผลให้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ในสมัยประชุมนี้[6] จึงเลื่อนการลงมติครั้งที่สามออกไปเป็นวันที่ 27 กรกฎาคม และอีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม แต่แล้วก็ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจาก ผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการลงมติของวันที่ 19 กรกฎาคมนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่งผลให้ชะลอการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน[7] [8] จนวันที่ 16 สิงหาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว คำขออื่นย่อมมีอันตกไป เนื่องจากเห็นว่า ผู้ร้องเรียนไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิยื่นคำร้องเรียนได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกในสมัยประชุมเดียวกัน[9] เมื่อการตัดสินสิ้นสุดลง จึงสามารถดำเนินการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีรอบที่ 3 ดำเนินต่อไปได้ โดยมีการนัดลงมติในวันที่ 22 สิงหาคม ครั้งที่ 3การลงมติครั้งที่สามจัดในวันที่ 22 สิงหาคม โดยการลงมตินั้นจำเป็นต้องมีเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บวกกับสมาชิกวุฒิสภารวมให้ได้ 375 เสียง ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้กำหนดไว้
และการลงมติครั้งที่สามนั้น เศรษฐา ทวีสิน ได้คะแนนเสียงทั้งหมด 482 เสียง จึงทำให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด หมายเหตุ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|