Share to:

 

การละลาย

การละลาย (อังกฤษ: solubility) คือสมบัติหนึ่งของของแข็ง, ของเหลว หรือแก๊ส ในทางเคมีเรียกว่าสารละลายซึ่งสามารถละลายได้ในทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เพื่อที่จะทำให้ได้สารสถานะเดียวกับตัวทำละลาย การละลายของสสารโดยขั้นต้นแล้วจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายเฉกเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความดัน เมื่อการละลายถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกจะไม่มีผลใด ๆ ต่อการละลาย กล่าวคือจะไม่ทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้นหรือเจือจางลง โดยส่วนมากแล้วตัวทำละลายจะมีสถานะเป็นของเหลวทั้งในแบบสารบริสุทธิ์และสารประกอบ[1] บางครั้งเกิดสารละลายในรูปของสารละลายของแข็ง แต่เกิดน้อยครั้งมากในกรณีที่เกิดในรูปของสารละลายแก๊ส

ประเภท

เมื่อสารมีการละลายจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อน 2 แบบ คือ 1. การละลายประเภทคายความร้อน และ 2. การละลายประเภทดูดความร้อน

สภาพการละลายได้ หมายถึงความสามารถในการละลายได้ของตัวทำละลาย ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวละลายและตัวทำละลายแล้วยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมอื่น ๆ อีก ได้แก่ อุณหภูมิ และความดัน เช่น สภาพการละลายของโซเดียมคลอไรด์ในน้ำ 100 กรัม ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เท่ากับ 36.0 กรัม แต่ถ้าเพิ่มอุณหภูมิเป็น 60 องศาเซลเซียส สภาพการละลายจะเปลี่ยนไปคือ ละลายได้เพิ่มขึ้นเป็น 37.3 กรัม ส่วนการละลายของแก๊สจะละลายได้มากขึ้นถ้าอุณหภูมิลดลงและความดันเพิ่มมากขึ้น เช่น การละลายของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำอัดลม

สภาพการละลายของสารละลายมีขอบเขตที่กว้างมากตั้งแต่การละลายโดยสมบูรณ์ (ผสมกันโดยสมบูรณ์[2]) เช่น เอทานอลในน้ำ ไปจนถึงการละลายเพียงเล็กน้อย เช่น ซิลเวอร์คลอไรด์ในน้ำ ในกรณีที่ไม่เกิดสภาพการละลายมักจะมีความหมายในทางเคมีว่าตัวละลายเกิดการละลายในตัวทำละลายได้น้อยมากถึงน้อยที่สุด ภายใต้เงื่อนไขปัจจุบัน สารที่อยู่ ณ สมดุลของการละลาย เราไม่อาจเรียกสารนั้นว่าสารละลายอิ่มตัวยิ่งยวดได้ หากแต่ในความเป็นจริงแล้วสารนั้นมีความเสถียรมากนั้นเอง[3] ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเสถียรตลอดไป

การละลายมักจะไม่ได้หมายถึงความสามารถในการละลายของสสารหรือการทำสสารให้อยู่ในสถานะของเหลว เพราะว่าสารละลายนั้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจากการละลายเพียงอย่างเดียว หากแต่ในบางกรณีเกิดจากปฏิกิริยาเคมี ตัวอย่างเช่น สังกะสีจะไม่ละลายในกรดไฮโดรคลอริก แต่จะเกิดปฏิกิริยาเคมีในกรดไฮโรคลอริกแล้วแตกตัวให้คลอไรด์กับไฮโดรเจน หากแต่ต้องเป็นสังกะสีคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์) ถึงจะสามารถละลายในกรดไฮโดรคลอริก นอกจากนี้แล้วการละลายยังไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาคหรือตัวแปรจลน์อื่น ๆ โดยหากใช้เวลาสักระยะ แม้แต่อนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก็จะเกิดการละลายได้ในที่สุด

นิยาม

นิยามของการละลายตามที่สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (ไอยูแพ็ก) ระบุไว้มีดังนี้[4]

การละลายคือองค์ประกอบในการวิเคราะห์สารละลายอิ่มตัว โดยกล่าวถึงสัดส่วนของตัวละลายที่กำหนดในตัวทำละลายที่กำหนด ซึ่งอาจจะแสดงอยู่ในหน่วยของความเข้มข้น, ความเข้มข้นโดยโมล, เศษส่วนโมล, อัตราส่วนโมล และหน่วยอื่น ๆ

การละลายของสารพันธะต่าง ๆ ในน้ำ

ชนิดของพันธะ
ความสามารถในการละลายน้ำตัวอย่าง
ไอออนิก ส่วนใหญ่ละลายได้ดูรายละเอียด
ด้านล่าง
โลหะ ไม่ละลายFe
ทำปฏิกิริยากับน้ำK
โมเลกุลโควาเลนต์มีขั้วละลายถ้ามีพันธะไฮโดรเจนกลูโคส
ละลายโดยปฏิกิริยาHCl
ไม่ละลายอีเทอร์
โมเลกุลโควาเลนต์ไม่มีขั้ว ส่วนใหญ่ไม่ละลายเบนซีน
ละลายได้เล็กน้อยO2
โควาเลนต์โครงผลึกร่างตาข่ายไม่ละลายเพชร

การละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก

ละลายไม่ละลาย
โลหะแอลคาไลน์ และ สารประกอบ NH4+คาร์บอเนต
ยกเว้นสารประกอบของโลหะแอลคาไลน์ และ สารประกอบ NH4+
สารประกอบไนเตรตสารประกอบซัลไฟต์
(ยกเว้นสารประกอบของโลหะแอลคาไลน์ และ สารประกอบ NH4+)
อะซีเตต (CH3COO-)สารประกอบฟอสเฟต
(ยกเว้นสารประกอบของโลหะแอลคาไลน์ และ สารประกอบ NH4+)
คลอไรด์ โบรไมด์ และ ไอโอไดด์
(ยกเว้น Ag+, Pb2+, Cu+ และ Hg22+)
ไฮดรอกไซด์ และ ออกไซด์
(ยกเว้นสารประกอบของโลหะแอลคาไลน์ สารประกอบ NH4+
Ba2+ Sr2+ และ Ca2+)
ซัลเฟต
(ยกเว้น Ag+, Pb2+, Ba2+, Sr2+ และ Ca2+)
ซัลไฟด์
(ยกเว้นสารประกอบของโลหะแอลคาไลน์ โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
สารประกอบ NH4+)

อ้างอิง

  1. Yuen, C. (2003). Element, Compound and Mixture.
  2. Clugston M. and Fleming R. (2000). Advanced Chemistry (1st ed.). Oxford: Oxford Publishing. p. 108.
  3. "Cancerweb.ncl.ac.uk: from Online Medical Dictionary, University of Newcastle Upon Tyne".
  4. IUPAC. Compendium of Chemical Terminology, 2nd ed. (the "Gold Book"). Compiled by A. D. McNaught and A. Wilkinson. Blackwell Scientific Publications, Oxford (1997). XML on-line corrected version: http://goldbook.iupac.org (2006–) created by M. Nic, J. Jirat, B. Kosata; updates compiled by A. Jenkins. ISBN 0-9678550-9-8. doi:10.1351/goldbook. Entry: Solubility.
Kembali kehalaman sebelumnya