Share to:

 

กรดไฮโดรคลอริก

กรดไฮโดรคลอริก
Structure of Hydrochloric acid as dissociated chloride and hydronium ions
3D model of hydrogen chloride
3D model of hydrogen chloride
3D model of water
3D model of water
3D model of the chloride anion
3D model of the chloride anion
3D model of the hydronium cation
3D model of the hydronium cation
ชื่อ
IUPAC name
Chlorane[3]
ชื่ออื่น
  • Muriatic acid[1]
  • Spirits of salt[2]
    Hydronium chloride
    Chlorhydric Acid
เลขทะเบียน
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.210.665 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 231-595-7
เลขอี E507 (acidity regulators, ...)
UNII
UN number 1789
คุณสมบัติ
HCl(aq)
ลักษณะทางกายภาพ ไร้สี, ของเหลวใส, ควันในอากาศหากเข้มข้น
กลิ่น ลักษณะฉุน
จุดหลอมเหลว Concentration-dependent – see table
จุดเดือด Concentration-dependent – see table
log P 0.00[4]
pKa −5.9 (HCl gas)[5]
เภสัชวิทยา
A09AB03 (WHO) B05XA13
ความอันตราย
GHS labelling:
The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The corrosion pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตราย[6]
H290, H314, H335[6]
P260, P280, P303+P361+P353, P305+P351+P338[6]
NFPA 704 (fire diamond)
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
ไฮโดรเจนคลอไรด์โอเวน

กรดไฮโดรคลอริก(อังกฤษ: hydrochloric acid), กรดเกลือ หรือ กรดมูเรียติก (muriatic acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง

ประวัติ

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 (ป. ค.ศ. 865–925) แอบู แบกร์ แอล-รอซี แพทย์และนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเปอร์เซีย ทำการทดลองด้วยsal ammoniac (แอมโมเนียมคลอไรด์) กับกรดกำมะถัน (โลหะหลายชนิดที่ใช้ซัลเฟตผสมกับน้ำ) ซึ่งเขานำทั้งสองกลั่นเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์[7] ในการทำวิธีนี้ แอล-รอซีอาจพบกับวิธีดั้งเดิมในการผลิตกรดไฮโดรคลอริกโดยบังเอิญ[8]

อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าในการทดลองส่วนใหญ่ของเขา แอล-รอซีไม่สนใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊ส โดยมุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนแปลงของสีที่อาจมีผลกับสารตกค้าง[9] Robert P. Multhauf รายงานว่า ไฮโดรเจนคลอไรด์ได้รับการผลิตขึ้นหลายครั้ง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าอาจผลิตโดยการละลายในน้ำอาจก่อให้เกิดกรดไฮโดรคลอริกได้[10]

ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต โพลียูรีเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl

การผลิต

ใน การผลิต กรดไฮโดรคลอริกปริมาณมากๆ จะเกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบเคมีตัวอื่นๆในเชิงอุตสาหกรรมด้วยในอุตสาหกรรม คลอร์-อัลคะไล สารละลายเกลือจะถูกอิเล็กโตรไลซ์ จนได้ผลผลิตออกมาเป็นคลอรีน, โซเดียมไฮดรอกไซด์, และก๊าซไฮโดรเจน คลอรีนบริสุทธิ์ จะมาผสมกับก๊าซไฮโดรเจนแล้วเกิดเป็นก๊าซ HCl บริสุทธิ์ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ เอ็กโซเทอร์มิก

Cl2 + H2 → 2 HCl

ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์บริสุทธิ์ถูกดูด (absorption) ลงน้ำ ดีมิเนอไลซ์ได้เป็นกรดเกลือบริสุทธิ์ต่อไป

สารประกอบเคมีที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. "Hydrochloric Acid". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2010.
  2. "spirits of salt". The Free Dictionary. Farlex. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012.
  3. Favre HA, Powell WH, บ.ก. (2014). Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013. Cambridge: The Royal Society of Chemistry. p. 131.
  4. "Hydrochloric acid". www.chemsrc.com.
  5. Trummal A, Lipping L, Kaljurand I, Koppel IA, Leito I (พฤษภาคม 2016). "Acidity of Strong Acids in Water and Dimethyl Sulfoxide". The Journal of Physical Chemistry A (ภาษาอังกฤษ). 120 (20): 3663–9. Bibcode:2016JPCA..120.3663T. doi:10.1021/acs.jpca.6b02253. PMID 27115918. S2CID 29697201.
  6. 6.0 6.1 6.2 Sigma-Aldrich Co., Hydrochloric acid.
  7. Multhauf 1966, pp. 141–142.
  8. Stapleton, Henry E.; Azo, R.F.; Hidayat Husain, M. (1927). "Chemistry in Iraq and Persia in the Tenth Century A.D." Memoirs of the Asiatic Society of Bengal. VIII (6): 317–418. OCLC 706947607. p. 333.
  9. Multhauf 1966, pp. 141–142.
  10. Multhauf 1966, p. 142. Multhauf refers to a number of recipes from the Kitāb al-Asrār translated by Ruska 1937, pp. 103–110, but does not seem to have noted the existence of the recipe in Ruska 1937, p. 182, §5 quoted above.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลความปลอดภัยทั่วไป
ข้อมูลมลพิษ


Kembali kehalaman sebelumnya