การล้อมอยุธยา (พ.ศ. 2309–2310)
การปิดล้อมอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2309 - พ.ศ. 2310 เป็นการปิดล้อมระยะเวลานานกว่า 14 เดือนระหว่างสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สอง ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศของอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรโกนบอง เบื้องหลังเมื่อสงครามคราวเสียกรุงเริ่มขึ้น กองทัพของอาณาจักรพม่า ภายใต้การบัญชาการของเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธา ยกมาจากทางทวายและลำปาง ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 กองกำลังภายใต้แม่ทัพทั้งสองก็เข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในระยะไม่เกิน 1.25 ไมล์จากกำแพงพระนคร[2] (ในพงศาวดารไทยบันทึกไว้ว่า ตอกระออมและดงรักหนองขาว[3]) บทวิเคราะห์ในอดีตกรุงศรีอยุธยามีการป้องกันพระนครโดยมีป้อมปราการเป็นกำแพงอิฐและสูงล้อมรอบตัวเมืองที่กว้าง ดังนั้นจึงสามารถกันมิให้ข้าศึกเข้าจู่โจมตีได้อย่างสะดวก ถึงแม้กองทัพพม่าได้รุกล้อมรอบพระนคร อย่างไรก็ตามการป้องพระนครก็กระทำกันอย่างเหนียวแน่นแข็งแรง[4] แต่ยุทธศาสตร์ที่อาศัยพระนครเป็นปราการสำหรับให้ข้าศึกเข้าล้อม รอเวลาที่ทัพจากหัวเมืองมาช่วยตีกระหนาบนั้นใช้ไม่ได้มานานแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่ในการป้องกันตนเอง อย่างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงใช้นั้นเป็นที่ยอมรับ นั่นก็คือต้องผลักดันมิให้ข้าศึกเข้ามาประชิดพระนคร[5] สงครามคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 เป็นศึกครั้งแรกและครั้งเดียว ที่ผู้นำอยุธยาสามารถรักษากรุงไว้ได้ จนถึงฤดูน้ำหลากตามแผนที่วางไว้ โดยที่ตัวพระนครไม่ต้องตกอยู่ในสภาพบอบช้ำ และราษฎรที่หลบภัยสงครามในกำแพงเมืองไม่ต้องเผชิญกับความฝืดเคืองด้านเสบียงอาหาร[6] ลำดับเหตุการณ์การเตรียมการต่อสู้ของอยุธยาการวางแนวปะทะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพพม่าซึ่งล้อมกรุงมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือนนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ไม่สามารถแม้แต่จะบุกเข้าใกล้ตัวกำแพงพระนคร หรือตั้งป้อมประชิดกำแพงเพื่อใช้ปืนใหญ่ระดมยิง เหมือนกับที่เคยเคยทำได้ในศึกอลองพญา พม่าทำได้อย่างมากก็แต่เพียงตั้งค่ายล้อมพระนครอยู่ไกล ๆ เช่น ทางทิศตะวันตกเข้ามาได้ไม่เกินวัดท่าการ้อง[7] ขณะที่กำลังส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กลางทุ่งประเชต และทุ่งวัดภูเขาทอง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาได้ไม่ถึงวัดไชยวัฒนาราม เพราะทางอยุธยาตั้งค่ายใหญ่กันไว้ ทางด้านตะวันออกเข้าได้ ไม่ถึงวัดพิชัย และเป็นไปได้ว่าตลอดลำคูขื่อหน้าจากหัวรอถึงปากน้ำแม่เบี้ย และคลองสวนพลูยังเป็นเขตปลอดจากการยึดครองของพม่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้จากคลองสวนพลู วัดโปรตุเกส ตลอดไปจนถึงวัดพุทไธศวรรย์ และวัดเซนต์โยเซฟ[8] ยังตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอยุธยา ส่วนทางทิศเหนือพม่าเข้าได้ไม่ไกลไปกว่าโพธิ์สามต้นและปากน้ำประสบ[9][10] การรบทางเรือบาทหลวงชาวฝรั่งเศสสรุปความสามารถของทหารอยุธยาที่ป้องกันพระนครว่า
พวกแม่ทัพนายกองของพม่าร้องทุกข์ต่อมังมหานรธาให้เลิกทัพกลับไปก่อน เพราะฝนตกชุกเดี๋ยวน้ำเหนือก็จะหลากมา แต่มังมหานรธาไม่เห็นด้วย และว่ากรุงศรีอยุธยาขัดสนเสบียงอาหาร และกระสุนดินดำจนอ่อนกำลังจวนจะตีได้อยู่แล้ว ฝ่ายกองทัพพม่าก็ได้ตระเตรียมทำไร่ทำนาหาอัตคัตสิ่งใดไม่ ถ้าเลิกทัพกลับไป อยุธยาจะได้ช่องทางหากำลังมาเพิ่มเติม เตรียมรักษาบ้านเมืองกวดขันกว่าแต่ก่อน ถึงยกมาตีอีกที่ไหนจะตีง่ายเหมือนครั้งนี้ มังมหานรธาจึงไม่ยอมให้ทัพกลับ ให้เที่ยวตรวจหาที่ดอนตามโคกตามวัดอันมีอยู่รอบพระนคร แล้วแบ่งหน้าที่กันให้กองทัพแยกออกไปตั้งค่ายสำหรับที่จะอยู่เมื่อถึงฤดูน้ำ และให้ผ่อนช้างม้าพาหนะไปเลี้ยงตามที่ดอนในหัวเมืองใกล้เคียง แล้วให้เที่ยวรวบรวมเรือใหญ่น้อยมาไว้ใช้ในกองทัพ เป็นจำนวนมาก[12] หลังจากที่หมดฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาก็ล้มป่วยลงและถึงแก่กรรมที่ค่ายบ้านสีกุก แต่สาเหตุที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมกลับโทษฝ่ายอยุธยา ด้วยแต่ก่อนมากองทัพพม่าฝ่ายเหนือ กับกองทัพพม่าฝ่ายใต้มักแก่งแย่งกัน ด้วยต่างฝ่ายต่างก็เป็นอิสระมิได้ขึ้นแก่กัน ครั้นมังมหานรธาถึงแก่กรรมลง[13] หลังจากที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมแล้ว เนเมียวสีหบดีก็ได้เป็นแม่ทัพใหญ่ขึ้นบังคับบัญชากองทัพทั้งหมดเพียงผู้เดียว ส่งผลให้กองทัพทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้สมทบกันเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ตัวเนเมียวสีหบดีได้ย้ายจากค่ายปากน้ำประสบมาอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น[14] การตั้งค่ายของอยุธยาต่อมาฝ่ายไทยได้มีคำสั่งให้ข้ามออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครไว้ทุกด้าน ดังนี้
กองทัพอยุธยาที่รักษาพระนครนั้นเริ่มระส่ำระสายด้วยรู้กันว่าหมดช่องทางที่จะเอาชนะพม่าได้ พวกจีนในกองทัพที่ไปตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสวนพลู คิดจะเอาตัวรอดก่อนคบคิดกันประมาณ 300 คน พากันไปยังพระพุทธบาทไปลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย และแผ่นเงินที่ดาดพื้นพระมณฑปใหญ่มาแบ่งปันกันเป็น อาณาประโยชน์ แล้วเอาไฟเผาพระมณฑปพระพุทธบาท[15]ต่อมาค่ายจีนที่บ้านสวนพลูก็เสียแก่พม่า ต่อมาพม่ายกเข้าตีค่ายที่เพนียดได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าก็เข้ามาตั้งอยู่ที่เพนียด แล้วให้กองทัพพม่าเข้าตีค่าย ทหารอยุธยาที่ออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครข้างด้านเหนือ ถูกตีแตกกลับเข้ามาในกรุงหมดทุกค่าย พม่าเข้ามาตั้งค่ายประชิดพระนคร ด้านเหนือ ที่วัดกุฎีดาว วัดสามพิหาร (ปัจจุบันเรียกว่า วัดสามวิหาร)[16][17] วัดศรีโพธิ์ วัดนางชี วัดแม่นางปลื้ม วัดมณฑป แล้วให้ปลูกหอรบ เอาปืนขึ้นจังก้ายิงเข้าไปในพระนครทุกวันมิได้ขาด[18] ส่วนแม่ทัพข้างใต้ก็ยกเข้ามาตีไทยที่วัดพุทไธสวรรย์ แล้วไปตีค่ายที่วัดชัยวัฒนาราม รบกันอยู่ได้ 8-9 วันก็เสียค่ายแก่พม่า[19] แต่ที่ค่ายของพระยาตากสินที่วัดพิชัยนั้น พระยาตากทิ้งค่ายไปเสียก่อนที่พม่าจะยกเข้ามาตี การขุดอุโมงค์ (อยุธยา หัวรอ พ.ศ. 2309)หลังจากนายทัพพม่ารู้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทัพของทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนกำลังลงมาก และประชาชนในเมืองก็อยู่ในสภาพอดยาก จึงตกลงใจเริ่มขุดอุโมงค์ลอดตัวกำแพงอยุธยาทางด้านหัวรอ ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของคูเมือง อุโมงค์ที่ขุดมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 อุโมงค์ ในจำนวนนั้น 2 อุโมงค์เป็นอุโมงค์ที่ขุดมาหยุดลงตรงใต้ฐานกำแพง จากนั้นก็ขยายแนวขุดไปตามแนวกำแพงทั้งสองด้านเป็นขนาดความยาวประมาณ 350 หลา ด้านใต้อุโมงค์ใช้ไม้ทำขื่อรับฐานกำแพงไว้อีกชั้นหนึ่ง[20] ส่วนอุโมงค์ที่เหลืออีก 3 อุโมงค์นั้นขุดลอดฐานกำแพงเข้าไปในตัวพระนคร แต่ยังคงเหลือชั้นดินปิดไว้ประมาณ 2 ฟุต การปฏิบัติการขุดอุโมงค์ดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะปกติทางฝ่ายอยุธยาบนเชิงเทินใช้ปืนยิงกลุ่มพม่า ที่เข้ามาใกล้แนวกำแพงอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้พม่าต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนคือ การสร้างสะพานในชั้นต้นทำสะพานข้ามคูก่อน จากนั้นจึงสร้างค่ายใหม่ขึ้นอีก 3 ค่ายประชิดแนวคูเมืองด้านทิศเหนือเสร็จแล้วจึงเริ่มขุดอุโมงค์[21] ในขณะที่ฝ่ายอยุธยาไม่ได้เพิกเฉยต่อการปฏิบัติการดังกล่าว ในครั้งนี้พระมหามนตรี ได้อาสาออกไปตีค่ายพม่าที่เข้ามาตั้งประชิดทั้ง 3 ค่าย พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้จัดพลออกไป 50,000 คน ช้าง 500 เชือก ปรากฏว่าในครั้งนี้พระมหามนตรีได้ทำการรบอย่างอาจหาญ สามารถยึดค่ายพม่าได้ทั้ง 3 ค่าย แต่ภายหลังพม่าได้ส่งกำลังหนุนออกมาโอบล้อมทัพไทย จนเป็นเหตุให้พระมหามนตรีต้องนำกำลังถอนกลับเข้าเมือง[22] ต่อมาพม่ายกเข้ามาเผาพระที่นั่งเพนียด แล้วตั้งค่าย ณ เพนียดคล้องช้างและวัดสามวิหาร วัดมณฑป จากนั้นก็ทำสะพานข้ามทำนบ รอเข้ามาขุดอุโมงค์ที่เชิงกำแพงและตั้งป้อมศาลาดิน ตั้งค่ายวัดแม่นางปลื้ม ต่อป้อมสูงเอาปืนใหญ่ขึ้นยิง แล้วจึงตั้งค่ายเพิ่มขึ้นอีกค่ายหนึ่งที่วัดศรีโพธิ์[23] กลยุทธ์การเข้าตีพระนครของฝ่ายพม่ากลยุทธ์ที่พม่านำมาใช้ในการรบคราวนี้ก็คือ ปิดล้อมกรุงไว้ แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ถอย จัดการดำเนินการ[24]
กลยุทธ์ในการเข้าตีกรุงขั้นสุดท้าย พม่าเปลี่ยนจากการเอาบันไดพาดปีนข้ามกำแพง มา เป็นการขุดอุโมงค์มุดลงใต้กำแพง โดยดำเนินการเป็นขั้น ๆ ดังนี้[25]
การสร้างป้อมค่ายขึ้นใหม่ 3 ป้อมนี้ มีความมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ[26]
การที่กรุงศรีอยุธยามีข้าศึกเข้ามาประชิดติดพันก็นับว่าเป็นภัยร้ายแรงอยู่แล้ว ซ้ำยังมาเกิดอัคคีภัยไหม้บ้านเรือนอีก ความอัตคัดขาดแคลนที่มีอยู่เป็นทุนเดิมก็กลับโถมทับทวียิ่งขึ้น ราษฎรต่างก็ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส บ้านเรือนไหม้ไปกว่า 10,000 หลัง ทำให้ราษฎรไม่มีที่พักอาศัยหลายหมื่นคน เมื่อเห็นว่าราษฎรต้องเผชิญกับความตาย ไร้ที่อยู่ทั้งขาดแคลนอาหาร กำลังใจและกำลังกายก็ถดถอยลง สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จึงเจรจากับพม่าขอเลิกรบ ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้าอังวะ แต่แม่ทัพพม่าไม่ยอมเลิก [27] พม่ายังดำรงความมุ่งหมายเดิมในการรบครั้งนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งน่าจะยุติการรบได้แล้ว ฝ่ายอยุธยาเห็นว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ คับขันถึงที่สุดแล้วก็ขอยอมแพ้เป็นเมืองขึ้นของพม่าอย่างที่เคยทำกันมาแต่โบราณกาล แต่พม่าปฏิเสธไม่ยอมรับ เพราะการที่อยุธยายอมแพ้นั้นมิใช่ความมุ่งหมายของฝ่ายพม่า พม่าจึงไม่สนใจเสีย[28] กรุงแตกในวันที่กรุงแตกนั้น เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาไชย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง[29] ผลที่ตามมาหลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกพม่าได้บุกเข้ามายังตัวพระนครในตอนกลางคืน แล้วจุดไฟเผาบ้านเรือนของชาวบ้าน ตลอดจนปราสาทราชมณเทียร ทำให้ไฟไหม้ลุกลามแสงเพลิงสว่างดังกลางวัน เมื่อพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใครมาขัดขวางแล้ว ก็เที่ยวฉกชิงและเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร แต่ด้วยเป็นเวลากลางคืน ชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้ประมาณ 30,000 คน พร้อมทั้งเจ้านายทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระภิกษุสามเณรทั้งหลายที่หนีไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ก็แจกจ่ายกันไปคุมไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกอง[30] หลังจากที่กองทัพพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาสำเร็จแล้ว จึงพักอยู่ประมาณ 10 วัน พม่าใช้เวลาจุดไฟเผาบ้านเมืองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติเสร็จแล้วจึงยกทัพกลับไป โดยกวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า และนำสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพให้มองญาพม่าเป็นปลัดทัพคุมพลรวม 3,000 คนตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สิ่งของส่งตามไป แล้วตั้งนายทองอินให้เป็นเจ้าเมืองธนบุรี แล้วแบ่งแยกกองทัพออกเป็น 3 กองทัพ กองทัพทางเหนือ มีเนเมียวสีหบดีแม่ทัพคุม เจ้านายและข้าราชการที่เป็นเชลยกับทรัพย์สิ่งของที่ดีมีราคามากมาย ยกกลับไปทางด่านแม่ละเมาะ กองทัพทางใต้ให้เจ้าเมืองพุกามเป็นนายทัพคุมพวกเรือบรรทุก บรรดาทรัพย์สิ่งของอันเป็นของใหญ่หนัก ๆ ไปทางเมืองธนบุรีและท่าจีน แม่กลองกองหนึ่ง อีกกองหนึ่งยกเป็นกองทัพบกไปเมืองสุพรรณบุรีไปสมทบกับกองเรือที่เมือง กาญจนบุรี รวมกันยกกลับไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ในครั้งนั้นพม่าได้ปืนใหญ่ 1,200 กระบอก ปืนเล็กหลายหมื่นกระบอก รวมทั้งได้ปืนคู่แฝดหล่อด้วยทองสำริด ขนาดยาว 12 ศอก และเรือพระที่นั่งกิ่งอีก 4 ลำด้วย[31] สำหรับปืนพระพิรุณแสนห่านั้นมีขนาดใหญ่มาก เมื่อตอนใกล้กรุงจะแตกหมดความหวังที่จะชนะพม่าแล้ว ปืนกระบอกนี้ก็ถูกทิ้งลงในสระแก้วในพระราชวังกรุงเก่า ภายหลังพม่าทราบเรื่องเข้า จึงได้นำขึ้นมาจากสระ แล้วตัวปกันหวุ่นแม่ทัพภาคใต้ขนไปทางเรือ จุดหมายปลายทาง คือ เมืองกาญจนบุรี โดยไปบรรจบกับกองทัพบกที่นั่น ครั้นมาถึงตลาดแก้วเมืองนนทบุรี เห็นว่าปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่านี้หนักเหลือกำลังที่จะเอาไปเมืองอังวะได้ ปกันหวุ่นจึงให้เข็นชักขึ้นจากเรือที่วัดเขมา ให้เอาดินดำบรรจุเต็มกระบอก จุดเพลิงระเบิดเสีย และขนชิ้นส่วนที่เป็นทองสำริดกลับไปเมืองอังวะ โดยที่ทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากตีกรุงได้แล้วร่วม 2 เดือน[32] พม่าได้เชลยไทยจำนวน 30,000 คนเศษ พม่าแยกเชลยออกเป็น 2 พวก
ส่วนเรื่องเชลยนั้นพม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าแล้วร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวง เพื่อกวาดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ ประเทศพม่า นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า “เอ็นร้อยหวาย ” ในปัจจุบัน[33] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวถูกวิพากษ์จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันด้วยเหตุผลการกวาดต้อนเชลยศึกในยุคสมัยโบราณนั้นเป็นไปเพื่อใช้งาน จึงมีเหตุผลไม่มากพอที่ต้องทำให้บาดเจ็บหรือทุพพลภาพ[34] เชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้น ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปองเลไต๊ (ตึกปองเล) ใกล้คลองชะเวตาชอง หรือคลองทองคำ แถบระแหงโม่งตีส หรือตลาดระแหง ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประมาณ 13 กิโลเมตร มีวัดระไห่ เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีตลาดโยเดีย และมีการรำโยเดียที่มีท่ารำชั้นสูง เช่น พรหมสี่หน้าของไทย ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย[35] พระเจ้าอุทุมพรถูกพระเจ้ามังระบังคับให้ลาผนวช แล้วให้ตั้งตำหนักอยู่ที่เมืองจักกาย (สแคง) ตรงหน้าเมืองอังวะ พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการอยุธยาก็รวบรวมอยู่ที่นั่นเป็นส่วนมาก พม่าได้ซักถามเรื่องพงศาวดารและแบบแผนราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาจดลงในจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ฝ่ายไทยได้ฉบับมาแปลพิมพ์เรียกว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แต่ส่วนพวกราษฎรที่ถูกกวาดต้อนไปจำนวนมากนั้น พม่าแจกจ่ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ภายหลังหนีคืนมาบ้านเมืองได้บ้างก็มี แต่ก็สาบสูญไปในพม่าเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าอุทุมพรไม่เสด็จกลับมาอยุธยาอีก และสิ้นพระชนม์ที่เมืองจักกาย (สแคง)ในปี พ.ศ. 2329 หลักฐานสุดท้ายของเจ้านายพระองค์นี้ที่เหลืออยู่ก็คือ เจดีย์ที่เมืองจักกายเท่านั้น[36][37] บันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ปล้นสะดมพระนครแอนโทนี โกยาตัน ชาวอาร์เมเนียน อดีต Head of the Foreign Europeans ในสยามและ The Arabian Priest Seyed Ali ซึ่งแต่ก่อนได้พำนักอยู่ในกรุงสยามได้เล่าเรื่องราวให้ Shabandar [ชาแบนดาร์] พี แวนเดอร์วูร์ต ฟังดังนี้:
ผู้ที่บันทึกพร้อมกับเพื่อนในคณะ ซึ่งมีจำนวนประมาณหนึ่งพันคนประกอบด้วยชาวโปรตุเกส อาร์มีเนีย มอญ สยาม และมลายู ทั้งชาย หญิง และเด็ก ได้ถูกนำตัวมุ่งหน้าไปยังพะโคภายใต้การควบคุมของชาวพม่ากลุ่มเล็ก ๆ เพียงสิบห้าคนเท่านั้น ในระหว่างครึ่งทาง พวกเขาประสบโอกาสจับพวกที่ควบคุมไว้ได้ และพากันหลบหนีมา หลังจากที่ได้บุกป่าฝ่าดงมาแล้ว พวกเขาก็กลับมาถึงแม่น้ำสยามอีกครั้งหนึ่ง อ้างอิง
|