Share to:

 

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา

ภาพวาดกรุงศรีอยุธยา (ราว พ.ศ. 2206) วาดโดย Johannes Vingboons

ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา

สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1893 – 1913)

สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1913 – 1931)

สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1931 – 1952)

สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1952 – 2112)

  • พ.ศ. 1952
  • พ.ศ. 1962
    • การชิงราชสมบัติในกรุงสุโขทัย: เกิดการสมเด็จพระอินทราชาทรงเสด็จฯ ไปจัดการการปกครองหัวเมืองเหนือให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย
  • พ.ศ. 1964 – 1965
  • พ.ศ. 1967
  • พ.ศ. 1974
    • สงครามกับอาณาจักรขอม: อาณาจักรขอมที่เมืองจตุมุข เกิดการแข็งเมือง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 จึงยกทัพไปตีจนได้รับชัยชนะ
    • สงครามกับอาณาจักรขอม: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โปรดฯ ให้พระอินทราชา พระราชโอรสไปครองเมืองเขมร
  • พ.ศ. 1976
    • การกอบกู้เอกราชของอาณาจักรขอม: อาณาจักรขอมแข็งเมือง และประกาศอิสรภาพจากกรุงศรีอยุธยา
    • การกอบกู้เอกราชของอาณาจักรขอม: พระบรมราชาสำเร็จโทษเจ้าพญาแพรก ผู้ครองเมืองเขมร พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
  • พ.ศ. 1981
  • พ.ศ. 1982
    • การปราบเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้ง: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงเตรียมจะปราบเมืองพิมายและเมืองพนมรุ้ง แต่เจ้าเมืองทั้งสองออกมาถวายบังคม จึงทรงโปรดฯ ให้เป็นเจ้าเมืองต่อไป
  • พ.ศ. 1985
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่สำเร็จ ประกอบกับทรงประชวร จึงยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา
  • พ.ศ. 1987
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ได้เชลยมา 120,000 คน
  • พ.ศ. 1991
  • พ.ศ. 1995
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: กองทัพอยุธยาสามารถยึดเมืองเชียงใหม่ได้สำเร็จ แต่ถูกขับไล่ด้วยการสนับสนุนของอาณาจักรล้านช้าง
  • พ.ศ. 2001
    • การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินา
    • การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตรากฎมณเฑียรบาล เพื่อกฎหมายสำหรับการปกครอง
  • พ.ศ. 2006
    • การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดการปกครองแบบใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์
    • การปฏิรูปการปกครองในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเปลี่ยนระบบการปกครองส่วนภูมิภาค คือยกเลิกระบบเมืองลูกหลวง และเมืองหลานหลวง แล้วเปลี่ยนมาใช้ระบบหัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองชั้นนอก
    • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จประทับที่เมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 2006 ถึง 2031[6]
    • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชา พระราชโอรสสำเร็จราชการในกรุงศรีอยุธยา
  • พ.ศ. 2017
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: กองทัพอยุธยาสามารถยึดเมืองเชลียงคืนได้
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: อาณาจักรล้านนาโดยพระเจ้าติโลกราช ขอทำสัญญาสงบศึกกับกรุงศรีอยุธยา อันเป็นการสิ้นสุดสบครามครั้งนี้
  • พ.ศ. 2031
  • พ.ศ. 2034
  • พ.ศ. 2042/2043
    • สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์และหล่อพระประธาน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2035/2036 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระมหาสถูป 2 องค์เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3[7]
  • พ.ศ. 2043
    • สงครามกับมะละกา: กรุงศรีอยุธยาโดยเมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นศูนย์กลางของหัวเมืองใต้ ได้ยกทัพไปตีเมืองมะละกาถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ทำให้บรรดาเมืองมลายูตระหนักถึงอำนาจของกรุงศรีอยุธยา จึงยอมสวามิภักดิ์
  • พ.ศ. 2054
  • พ.ศ. 2056
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: พญาแก้วยกทัพมาตีเมืองสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงออกทัพไปป้องกันและตีทัพเชียงใหม่แตกพ่ายไป
  • พ.ศ. 2058
    • สงครามอยุธยา–ล้านนา: สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ยกทัพไปตีล้านนา โดยตีได้เมืองลำปาง
  • พ.ศ. 2068
  • พ.ศ. 2072
  • พ.ศ. 2076
  • พ.ศ. 2077
    • รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระรัษฎาธิราชถูกสมเด็จพระไชยราชาธิราชชิงราชสมบัติ
    • รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สมเด็จพระรัษฎาธิราชถูกสำเร็จโทษ
  • พ.ศ. 2081
    • สงครามเชียงกราน: พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้ พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟในการรบเป็นครั้งแรก โดยกรุงศรีอยุธยาสามารถยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้
  • ราว พ.ศ. 2083
    • จุดกำเนิดหมู่บ้านโปรตุเกสในกรุงศรีอยุธยา ตามพระบรมราชโองการฯ ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่พระราชทานที่ดินให้ชาวโปรตุเกส 120 คน โดยเป็นบำเหน็จการทำความดีความชอบจากการเข้าร่วมรบในสงครามเชียงกรานจนได้รับชัยชนะ[9]
    • โบราณสถานซานเปโตร หรือ โบสถ์เซนต์โดมินิค ในคณะโดมินิกัน เป็นโบสถ์คริสต์ศาสตร์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในอาณาจักรอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านโปรตุเกส[10]
  • พ.ศ. 2085 (ในบางแหล่งระบุเป็น พ.ศ. 2065 แต่น่าจะคลาดเคลื่อน)
  • พ.ศ. 2088
  • พ.ศ. 2089
  • พ.ศ. 2091
    • รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ทรงอ้างว่าสมเด็จพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์ หัวเมืองเหนือก็ไม่เป็นปกติจึงปรึกษากับขุนนางว่าจะให้ขุนวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดินกระทั่งสมเด็จพระยอดฟ้าทรงเจริญพระชันษา เหล่าขุนนางก็เห็นชอบด้วย เมื่อขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แล้ว ก็สถาปนานายจันขึ้นเป็นพระมหาอุปราช 
    • รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: สำเร็จโทษสมเด็จพระยอดฟ้า
    • รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: ขุนวรวงศาธิราชและแม่หยัวศรีสุดาจันทร์ถูกปลงพระชนม์ขณะเสด็จฯ ทางชลมารคไปทรงคล้องช้าง[12]
    • รัฐประหารในกรุงศรีอยุธยา: เหล่าขุนนางไปทูลเชิญพระเทียรราชาซึ่งอยู่ในสมณเพศให้ขึ้นครองราชย์ พระเทียรราชาจึงลาสิกขาบทแล้วราชาภิเษก เฉลิมพระนาม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า [12]
  • พ.ศ. 2092
  • พ.ศ. 2093
    • สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยาก่ออิฐถือปูนตามแบบฝรั่งเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ถมดินเป็นเชิงเทินแล้วปักเสาไม้ระเนียดด้านบน [13]
  • พ.ศ. 2099
    • สงครามกับเขมร: สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงโปรดฯ ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเขมร แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • พ.ศ. 2103
  • พ.ศ. 2104
    • กบฏพระศรีศิลป์: พระศรีศิลป์ลาสิกขาบท แล้วนำกองทัพบุกเข้ากรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพระศรีศิลป์สามารถบุกเข้าพระราชวังหลวงได้ แต่ต้องพระแสงปืนสิ้นพระชนม์
  • พ.ศ. 2107
    • สงครามช้างเผือก: พระเจ้าบุเรงนองยกทัพเข้าตีเมืองพิษณุโลกและได้เมืองในวันที่ 12 มกราคม[14]
    • สงครามช้างเผือก: ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อขอเป็นไมตรี ซึ่งพระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระราเมศวร พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และช้างเผือก 4 ช้างกลับไปกรุงหงสาวดี[15]
    • กบฏปัตตานี: พระยาตานีศรีสุลต่านพระยาตานีแห่งปัตตานี[16]ที่ได้เข้ามาช่วยอยุธยารบกับพม่า ก่อความวุ่นวายในกรุงและได้บุกเข้าไปในวังหลวง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรวงรวบรวมกำลังพลแล้วเข้าตีตอบโต้ ฝ่ายปัตตานีได้ถอยร่นถึงปากอ่าว และพระยาตานีศรีสุลต่านสิ้นพระชนม์ที่ปากอ่าวระหว่างหนี[17][18]
  • พ.ศ. 2112

สมัยราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 – 2172)

ภาพวาดทหารญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2112
  • พ.ศ. 2124
  • พ.ศ. 2126
    • ราล์ฟ ฟิทช์เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่บันทึกว่าได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศไทย โดยเดินทางมายังนครเชียงใหม่ [25]
  • พ.ศ. 2127
  • พ.ศ. 2133
  • พ.ศ. 2135
  • พ.ศ. 2138
    • สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงยกทัพไปตีกรุงละแวก กรุงละแวกแตก[26]
  • พ.ศ. 2141
  • พ.ศ. 2145
    • เรือสำเภาบรรทุกสินค้าของ เฉกอะหมัด กุมมี และน้องชายคือ มะหะหมัด ซาอิด เข้ามาเทียบท่าที่ป้อมเพชร เพื่อเข้ามาตั้งห้างค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา[28]
  • พ.ศ. 2147
  • พ.ศ. 2148
  • พ.ศ. 2151
    • คณะราชทูตจำนวน 20 คน ที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงส่งไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฮอลันดาได้เดินทางถึงกรุงเฮก เมื่อวันที่ 10 กันยายน และเข้าพบเจ้าชายมอร์ริส เจ้าชายแห่งออเรนจ์ในรุ่งขึ้น นับว่าเป็นการส่งคณะทูตไปเจริญทางสัมพันธไมตรีกับประเทศในทวีปยุโรปครั้งแรกในประวัติศาสตร์[30]
  • พ.ศ. 2153
  • พ.ศ. 2155
  • พ.ศ. 2164
    • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกในรัชกาล นำโดยขุนพิชิตสมบัติและขุนประเสริฐ เดินทางถึงเมืองเอโดะเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2164[34][35]
    • ติดต่อกับเดนมาร์กเป็นครั้งแรก โดยที่เรือสินค้าเดนมาร์กได้เดินทางมาถึงเมืองตะนาวศรีและได้นำปืนไฟมาขาย[36]
  • พ.ศ. 2166
    • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สองในรัชกาล นำโดยหลวงท่องสมุทรและขุนสิทธิ[37]
  • พ.ศ. 2167
    • โปรตุเกสซึ่งขณะนั้นรวมประเทศกับสเปน ยึดเรือฮอลันดาในแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงบังคับให้โปรตุเกสคืนเรือแก่ฮอลันดา ทำให้โปรตุเกสประกาศสงครามต่อกรุงศรีอยุธยา แต่สงครามมิได้เกิดขึ้น[38][39]
  • พ.ศ. 2168
    • สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สามในรัชกาล นำโดยขุนรักษาสิทธิผล[40]
  • พ.ศ. 2171
  • พ.ศ. 2172
    • มีการส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับญี่ปุ่น นำโดยหลวงสกลเดชและขุนโยคมาตย์ เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่[41]
    • สมเด็จพระเชษฐาธิราชถูกสำเร็จโทษ สมเด็จพระอาทิตยวงศ์สืบราชสมบัติ
    • สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ถูกถอดจากราชสมบัติ เป็นอันสิ้นสุดการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย โดยที่เจ้าพระยากลาโหมขึ้นครองราชย์แทน ฉลองพระนาม สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

สมัยราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172 – 2231)

ภาพวาดราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685)
ภาพวาดราชทูตสยาม ณ พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)

สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 – 2310)

คณะราชทูตสยามพร้อมด้วยบาทหลวงตาชาร์เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระอินทราชา ในหมิงสือลู่ วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
  2. พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีน เอาเทคโนโลยีทำถ้วยชามกลับมาสุโขทัยจริงหรือ? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ/สยามยึดอยุธยา ความเป็นไทย ในสำเภาจีน มติชนสุดสัปดาห์ สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2561
  4. “หม่าฮวน” ล่ามในคณะเดินทางของ “เจิ้งเหอ” บันทึกถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างไรบ้าง? ศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2543
  5. กบฎกรุงศรีอยุธยา / จิตรสิงห์ ปิยะชาติ กรุงเทพฯ : ยิปซี , 2555
  6. สุจิตต์ วงษ์เทศ : “พี่ตู้รู้ทุกเรื่อง” ประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก รู้อะไร? แบบไหน? มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2560
  7. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 80
  8. 500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส ผู้เขียน:จรัญญา ศรีไพร จาก สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2554
  9. ทำไมโปรตุเกสเป็นยุโรปชาติแรกที่ตั้งถิ่นในสยาม สู่อิทธิพลการทหาร-การค้า-ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564
  10. หมู่บ้านโปรตุเกส ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากร สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2562
  11. คลองขุดในประเทศไทย เก็บถาวร 2021-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๓
  12. 12.0 12.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 70
  13. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 107
  14. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 122
  15. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 123
  16. อาจหมายถึง บุคคลสองคน ได้แก่ พระยาศรีสุลต่าน และพระยาตานี
  17. จังหวัดชายแดนภาคใต้สมัยอยุธยา บ้านจอมยุทธ
  18. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 124
  19. ถ้าพิจารณาตามปฏิทินจันทรคติไทย สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตใน พ.ศ. 2111
  20. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 129
  21. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 131
  22. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 129
  23. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, หน้า 172
  24. กบฎญาณพิเชียร บ้านจอมยุทธ
  25. CPAmedia.com: The Asia Experts, Ralph Fitch: An Elizabethan Merchant in 16th Century Chiang Mai เก็บถาวร 2007-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 131
  27. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศสมัยกรุงศรีอยุธยา เก็บถาวร 2020-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน AroundTheWorld
  28. ย้อนความหลัง'อยุธยา+เปอร์เซีย' ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2555
  29. บ้านฮอลันดา หลักฐานแห่งความรุ่งเรืองทางการค้าขายในอดต
  30. ประวัติสัมพันธไมตรีสยาม-เนเธอร์แลนด์ รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ (1) เก็บถาวร 2021-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สยามรัฐออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2560
  31. พระราชสาส์นตอบสาส์นจาก โทกูงาวะ อิเอยาซุ
  32. อยุธยากรุงเก่า เก็บถาวร 2020-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เจ.แอนเดอร์สัน เขียนเล่าถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยา
  33. กบฏต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา เปิดชนวนทั้งแขก-ญี่ปุ่น บุกยึด-ปล้นถึงในพระราชวังได้ เก็บถาวร 2021-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564
  34. เจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
  35. The Last Samurai in Nakhon Si Thammarat การเข้ามาในเมืองไทยของ ซามูไร ยามาดะ
  36. เอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน ทูตฯเรือสินค้าเดนมาร์ก
  37. ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สอง
  38. อยุธยากรุงเก่า เก็บถาวร 2020-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เจ.แอนเดอร์สัน เขียนเล่าถึงสภาพของกรุงศรีอยุธยา
  39. จดหมายฝรั่งระบุเหตุ “กรุงศรีอยุธยา” รบ “กรุงมะนิลา” แห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์!? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564
  40. ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สาม
  41. ส่งคณะทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับญี่ปุ่น แจ้งการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
  42. หมู่บ้านญี่ปุ่น Talontiew
  43. ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
  44. ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
  45. ไทยกับฝรั่งเศส เก็บถาวร 2020-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน AroundTheWorld
  46. เตรียมงบ ๕๐ ล้าน พัฒนา ๑๗ คูเมืองโคราช ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โคราชคนอีสาน สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561
  47. ชาวโคราช สร้างพระชัยเมืองนครราชสีมา รุ่น ฉลองจังหวัดครบรอบ 345 ปี สยามรัฐออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562
  48. อมวิชัยประสิทธิ์ หรือป้อมวิไชเยนทร์ เป็นป้อมรักษาเมืองทางน้ำ[ลิงก์เสีย]
  49. 49.0 49.1 49.2 ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารพระนารายณ์ ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563
  50. บทวิจารณ์หนังสือ: จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร สำนักพิมพ์ศรีปัญญา. 2552, 685 หน้า
  51. ออกพระเพทราชา ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ ออกคำสั่งประหารฟอลคอน ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564
  52. Siam: An Account of the Country and the People, Peter Anthony Thompson, 1910 p.28
  53. ชาวสเปนได้รับพระราชทานหมู่บ้านญี่ปุ่น
Kembali kehalaman sebelumnya