การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本語能力試験; ทับศัพท์: นิฮงโงะโนเรียวคึชิเคง; อังกฤษ: Japanese Language Proficiency Test ตัวย่อ JLPT) เป็นการสอบเพื่อวัดผลและรับรองความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นภายในและนอกประเทศ[1] ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) การสอบจะถูกจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคมและธันวาคมในทุก ๆ ปี โดยแบ่งระดับความยากง่ายเป็น 4 ระดับ และมีระดับ 1 เป็นระดับที่มีความยากที่สุด
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ N5 N4 N3 N2 และ N1 ซึ่งเริ่มใช้สอบตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีการรับสมัครสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์[2] JLPT Online โดยสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น (ส.น.ญ.)
ในการสอบครั้งที่ 24 ปี พ.ศ. 2550 นั้น ได้มีผู้เข้ารับการสอบกว่า 4 แสน 3 หมื่นคน โดยถูกจัดขึ้นใน 20 จังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่น และ 46 ประเทศ 127 เมืองทั่วโลก [2][1]
การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นมักถูกเข้าใจสับสนกับการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) มาเป็นเวลานานแม้จวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) นี้เป็นการสอบวัดภาษาญี่ปุ่นภายในประเทศญี่ปุ่นสำหรับชาวญี่ปุ่นผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ซึ่งมีระดับความยากที่ยากกว่าการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) สำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจากการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) สำหรับชาวญี่ปุ่นถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบชาวญี่ปุ่นที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่โดยเฉพาะ
ในทางตรงกันข้ามการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) เป็นการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ ความเข้าใจสับสนนี้จึงกลายเป็นที่มาของคำกล่าวที่เข้าใจสับสนกันโดยทั่วไปในหมู่ชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาต่างประเทศ (รวมถึงชาวญี่ปุ่นที่เข้าใจสับสนระหว่างการสอบสองประเภทนี้) ว่า "ระดับ1แม้แต่คนญี่ปุ่นก็ยังสอบไม่ผ่าน" ซึ่งระดับ1ตามความหมายของคำกล่าวนี้คือการสอบรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่น (日本語検定) ซึ่งเป็นการสอบสำหรับชาวญี่ปุ่น ไม่ได้หมายถึงการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น (日本語能力試験) ซึ่งเป็นการสอบสำหรับชาวต่างชาติ
ความเข้าใจสับสนกันโดยทั่วไปดังกล่าวข้างต้นอาจสืบเนื่องมาจากชื่อเรียกที่มีความคล้ายคลึงกัน อีกทั้งมีเป้าหมายการทดสอบที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน มีการแบ่งระดับความยากง่ายเป็นระดับต่างๆเหมือนกัน
รายละเอียดของการสอบและเกณฑ์การสอบวัดผล
- รูปแบบเดิม
ระดับ
|
ไวยากรณ์
|
ความรู้
|
คันจิ
|
คำศัพท์
|
ช.ม. เรียน
|
การวัดผล (ของคะแนนเต็มถือว่าสอบผ่าน)
|
1
|
ระดับสูง
|
มีความรู้พื้นฐานพอที่จะใช้ภาษาในการใช้ชีวิตในสังคม การศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเพื่อการวิจัย
|
2,000 ตัว
|
10,000 ตัว
|
1,800~4,500 ช.ม.
|
70 %
|
2
|
ระดับค่อนข้างสูง
|
มีความสามารถที่จะใช้บทสนทนาทั่วไปได้ และสามารถอ่าน-เขียนได้
|
1,000 ตัว
|
6,000 ตัว
|
1,400~3,200 ช.ม.
|
60 %
|
3
|
ระดับพื้นฐาน
|
มีความสามารถที่จะใช้บทสนทนาในชีวิตประจำวันได้ และอ่าน-เขียนประโยคง่าย ๆ ได้
|
300 ตัว
|
1,500 ตัว
|
375~750 ช.ม.
|
60 %
|
4
|
ระดับต้น
|
ใช้บทสนทนาง่าย ๆ ได้ และอ่าน-เขียนประโยคง่าย ๆ ได้
|
100 ตัว
|
800 ตัว
|
200~400 ช.ม.
|
60 %
|
- รูปแบบใหม่
ระดับ
|
รอบการสอบ (เวลาการสอบ)
|
รวมเวลาการสอบ
|
N1
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์/ไวยากรณ์) ・การอ่าน (110 นาที)
|
การฟัง (60 นาที)
|
170 นาที
|
N2
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์/ไวยากรณ์) ・การอ่าน (105 นาที)
|
การฟัง (60 นาที)
|
155 นาที
|
N3
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์) (30 นาที)
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (ไวยากรณ์) ・การอ่าน (70 นาที)
|
การฟัง (40 นาที)
|
140 นาที
|
N4
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์) (30 นาที)
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (ไวยากรณ์) ・การอ่าน (60 นาที)
|
การฟัง (35 นาที)
|
125 นาที
|
N5
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (คำศัพท์) (25 นาที)
|
ความรู้เกี่ยวกับภาษา (ไวยากรณ์) ・การอ่าน (50 นาที)
|
การฟัง (30 นาที)
|
105 นาที
|
คำศัพท์ดังกล่าวรวมทั้งคันจิ และคำศัพท์แล้ว (ก่อนหน้านี้คือ 文字・語彙)
ระดับของการสอบแบใหม่ |
รายละเอียดของแต่ละระดับ |
มาตรฐานการวัดผลภาษาต่างประเทศของกลุ่มในประเทศทวีปยุโรป
|
N1 |
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในวงกว้างได้ (การอ่าน) อ่านบทความ บทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้างหรือข้อความที่เป็นแนวตรรกะ มีความซับซ้อน มีความเป็นนามธรรมสูง แล้วสามารถเข้าใจโครงสร้างและเนื้อหาได้ อ่านเรื่องที่มีหัวข้อหลากหลายและมีเนื้อหาลึกซึ้งแล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่องและรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการสื่อในสำนวน (การฟัง) – ฟังบทสนทนา ข่าว การบรรยายที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีระดับความเร็วในการพูดที่เป็นธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและโครงสร้างความเป็นมาของเนื้อหาอย่างละเอียดและจับประเด็นได้ |
C1~C2
|
N2 |
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้ และสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ในวงกว้างได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) อ่านบทความที่มีประเด็นชัดเจนอย่างเช่น บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้าง หรือคำอธิบายหรือบทวิจารณ์ง่าย ๆ และสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทความได้ (การฟัง) – ฟังบทสนทนา ข่าว ที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งสถานการณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีระดับความเร็วในการพูดที่ใกล้เคียงกับ ธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและจับประเด็นได้ |
B2~C1
|
N3 |
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) อ่านบทความที่มีเนื้อหาเป็นรูปธรรมที่เป็นหัวเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน แล้วสามารถเข้าใจได้ สามารถจับใจความคร่าว ๆ ของข้อมูลที่มาจากหัวข้อข่าว เป็นต้น หากให้ข้อความที่ใช้สำนวนอีกแบบหนึ่ง จะสามารถเข้าใจความสำคัญของข้อความที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมีความยากได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาในชีวิตประจำวัน โดยมีระดับความเร็วในการพูดใกล้เคียงกับระดับธรรมชาติเล็กน้อย แล้วสามารถพอจะเข้าใจเนื้อหารวมทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลได้ |
B1~B2
|
N4 |
เข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานได้ (การอ่าน) – อ่านทำความเข้าใจเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันที่เขียนด้วยคำศัพท์และอักษรคันจิขั้นพื้นฐานได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาในชีวิตประจำวันที่พูดช้าเล็กน้อยแล้วพอที่จะเข้าใจเนื้อหาได้เป็นส่วนใหญ่ |
A2~B1
|
N5 |
เข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) – อ่านประโยค วลีที่เขียนด้วยอักษรฮิรางานะ คาตากานะ และคันจิอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาสั้น ๆ ในห้องเรียน ในชีวิตประจำวันที่พูดอย่างช้า ๆ แล้วเข้าใจเนื้อหาข้อมูลได้ |
A1~A2
|
จำนวนผู้เข้ารับการสอบ
- ข้อมูลปี 2551
ประเทศ
|
ผู้เข้ารับการสอบ
|
ร้อยละของจำนวนทั้งหมด
|
จีน (31 เมือง)
|
223,378
|
49.7%
|
เกาหลีใต้ (5 เมือง)
|
81,739
|
18.1%
|
ไต้หวัน (3 เมือง)
|
59,186
|
13.2%
|
ไทย (4 เมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น)
|
15,846
|
3.5%
|
เวียดนาม (2 เมือง)
|
13,854
|
3.1%
|
อินโดนีเซีย (7 เมือง)
|
8,397
|
1.9%
|
อื่น ๆ
|
47,410
|
10.5%
|
รวม (144 เมืองใน 51 ประเทศนอกญี่ปุ่น)
|
449,810
|
100%
|
ในญี่ปุ่น(29 จังหวัด)
|
109,247
|
-
|
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น