Share to:

 

การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์

ภาพวาดแสดงลักษณะของดาว Achernar ที่เกิดจากการหมุนด้วยความเร็วสูง

การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ (อังกฤษ: Stellar rotation) คือการเคลื่อนที่เชิงมุมของดาวฤกษ์รอบแกนของตัวเอง อัตราการหมุนสามารถวัดได้จากสเปกตรัมของดาว หรือจากระยะเวลาของการเคลื่อนที่ของลักษณะใดๆ ที่ปรากฏบนผิวดาว

การหมุนรอบตัวเองของดาวฤกษ์ทำให้เกิดการโป่งพองบริเวณเส้นศูนย์สูตรอันเนื่องมาจากแรงสู่ศูนย์กลาง ดาวฤกษ์นั้นไม่ใช่วัตถุแข็ง มันจึงสามารถเกิดการหมุนได้หลายแบบแตกต่างกัน ดังนั้นเส้นศูนย์สูตรของดาวฤกษ์จึงอาจหมุนด้วยความเร็วเชิงมุมที่ต่างไปจากจากความเร็วในตำแหน่งละติจูดที่สูงกว่า ความแตกต่างเรื่องอัตราการหมุนในดาวฤกษ์นี้จึงอาจมีบทบาทสำคัญในการสร้างสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ด้วย[1]

สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์นั้นมีอันตรกิริยากับลมดาวฤกษ์ ขณะที่ลมดาวฤกษ์เคลื่อนออกจากดาว อัตราความเร็วเชิงมุมของมันจะลดลง การที่สนามแม่เหล็กของดาวมีอันตรกิริยากับลมดาวฤกษ์ ทำให้หน่วงการหมุนของดาวฤกษ์ และทำให้ความเร็วเชิงมุมถูกถ่ายจากดาวไปยังลม เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้ดาวฤกษ์นั้นค่อยๆ หมุนช้าลง

อ้างอิง

  1. Donati, Jean-François (November 5, 2003). "Differential rotation of stars other than the Sun". Laboratoire d’Astrophysique de Toulouse. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya