ดาวแคระเหลือง (อังกฤษ: Yellow dwarf) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ดาว G-V คือดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งมีชนิดสเปกตรัมเป็นแบบ G และความส่องสว่างในระดับ V ดาวแคระเหลืองมักมีขนาดเล็ก (ประมาณ 0.8 - 1.0 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) และมีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,300-6,000 เคลวิน[1] ดาว G-V กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงไฮโดรเจนในแกนกลางให้เป็นฮีเลียมด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น เช่นเดียวกับดาวฤกษ์อื่นในแถบลำดับหลัก[2] ดวงอาทิตย์ของเราถือเป็นตัวอย่างดาว G-V ที่รู้จักกันมากที่สุด (และสังเกตได้ง่ายที่สุด) ดาวฤกษ์ประเภทนี้เผาผลาญไฮโดรเจนราว 600 ล้านตันต่อวินาที และเปลี่ยนแปลงสสารประมาณ 4 ล้านตันให้กลายเป็นพลังงาน[3][4] สำหรับดาว G-V อื่น ๆ ได้แก่ แอลฟาคนครึ่งม้า เอ เทาวาฬ และ 51 ม้าปีก[5][6][7]
อ้างอิง
- ↑ Empirical bolometric corrections for the main-sequence, G. M. H. J. Habets and J. R. W. Heintze, Astronomy and Astrophysics Supplement 46 (November 1981), pp. 193–237.
- ↑ Stellar Evolution: Main Sequence to Giant เก็บถาวร 2020-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, class notes, Astronomy 101, Valparaiso University, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2007.
- ↑ Why Does The Sun Shine?, lecture, Barbara Ryden, Astronomy 162, Ohio State University, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2007.
- ↑ Sun เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, entry at ARICNS, สืบค้นข้อมูลเมื่อ 19 มิถุนายน 2007.
- ↑ Alpha Centauri A, SIMBAD query result. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 ธันวาคม 2007
- ↑ Tau Ceti, SIMBAD query result. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 ธันวาคม 2007.
- ↑ 51 Pegasi, SIMBAD query result. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 ธันวาคม 2007.
ดูเพิ่ม