กุ้งมังกร
ระวังสับสนกับ: ล็อบสเตอร์ สำหรับกุ้งมังกรที่พบในน้ำจืด ดูที่: เครย์ฟิช กุ้งมังกร หรือ กุ้งหัวโขน หรือ กุ้งหนามใหญ่[1] เป็นครัสเตเชียนทะเลจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่อยู่ในวงศ์ Palinuridae [1] ลักษณะและวงจรชีวิตมีลักษณะต่างจากกุ้งทั่วไป คือ เป็นกุ้งที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะส่วนหัวที่มีขนาดใหญ่ และมีลวดลายและสีสันสวยงาม มีลำตัวรูปทรงกระบอก หนวดคู่ที่ 6 ยาวกว่าความยาวของลำตัวมาก โคนหนวดคู่ที่สองไม่อยู่ติดกัน บนแผ่นกลางหนวดมีหนามขนาดใหญ่อยู่ปลายสุด 9 คู่ อยู่ตรงแนวกลางของโคนหนวดคู่ที่ 5 โคนละ 3หนาม ใช้สำหรับป้องกันดวงตา ไม่มีก้ามเหมือนกุ้งจำพวกอื่น ปล้องท้องเรียบไม่มีร่องขวางกลางปล้อง ขอบท้ายของปล้องท้องมีลายสีครีมขวางทุกปล้อง หางลักษณะแผ่เป็นหางพัด พบทั่วไปตามหาดโคลนบนพื้นทะเล พบกระจายพันธุ์ตามทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก[2] กุ้งมังกรเมื่อเทียบกับกุ้งอื่น ๆ จัดเป็นกุ้งที่เติบโตช้ามาก การเจริญเติบโตใช้วิธีการลอกคราบในขณะที่อยู่ในวัยอ่อน จะมีการลอกคราบบ่อยครั้ง คือประมาณปีละ 1–2 ครั้ง กว่าจะโตเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 5–7 เดือน การออกไข่แต่ละครั้งจะมีปริมาณไข่ประมาณ 2300,000–9,000,0000 ฟอง ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะฟักเป็นตัว ในระยะวัยอ่อนจะมีชีวิตแบบแพลงก์ตอนขนาด 1 มิลลิเมตร ล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำ จนอายุได้ 8–9 เดือน จึงจะกลายเป็นกุ้งวัยอ่อนขนาด 3–6เซนติเมตร จะเข้ามาอาศัยหลบภัยในกอสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล หรือแนวปะการังนาน4 ปี ถึงจะแข็งแรงพอช่วยตัวเองได้ และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 7–20 ปี[3] การใช้ประโยชน์กุ้งมังกร จัดเป็นกุ้งขนาดใหญ่ที่นิยมในการบริโภคอย่างมากเช่นเดียวกับล็อบสเตอร์ ซึ่งเป็นกุ้งต่างวงศ์กัน สามารถบริโภคได้ทั้งสดและผ่านการทำอาหาร จัดว่าเป็นอาหารทะเลที่มีราคาสูง จึงมีการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ โดยประเทศที่ประสบความสำเร็จเพาะฟักกุ้งมังกรได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและทวีปแอฟริกาเท่านั้น ส่วนในประเทศไทยการเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพาณิชย์ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากในระยะเวลาในการเป็นวัยอ่อนนาน ไม่คุ้มทุน จึงทำได้แค่เพาะเลี้ยงให้เจริญเติบโตขึ้นจากกุ้งที่จับได้จากธรรมชาติเท่านั้น โดยจะทำการเลี้ยงไว้ในกระชังในทะเล[4] และในน่านน้ำไทยนั้นฝั่งทะเลอันดามันจะพบกุ้งมังกรที่มากกว่าและหลากหลายชนิดมากกว่าอ่าวไทย เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์มีมากกว่า[3] นอกจากในการบริโภคแล้ว กุ้งมังกรยังมีคุณค่าในด้านความสวยงาม โดยสามารถเลี้ยงในตู้ปลา เป็นสัตว์น้ำสวยงามได้ และนิยมสต๊าฟไว้ในกรอบกระจกเพื่อแขวนเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน[5] นอกจากนี้แล้ว กุ้งมังกรยังมีชื่อเรียกบนเกาะหลีเป๊ะว่า "กุ้งซัง"[6] การจำแนกแบ่งออกได้เป็น 12 สกุล (บางข้อมูลจัดให้แค่ 8 สกุล[7]) ราว 60 ชนิด[8] [9] สกุล
อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กุ้งมังกร แหล่งข้อมูลอื่นวิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Palinuridae |