Share to:

 

ขั้วโลก

ขั้วโลก (อังกฤษ: geographical pole หรือ geographic pole) หมายถึงจุดสองจุด—ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้—บนพื้นผิวของดาวเคราะห์หรือวัตถุหมุนอื่น อันเป็นที่ซึ่งแกนหมุนบรรจบกับพื้นผิวของวัตถุนั้น ขั้วโลกเหนือจะทำมุม 90° และอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ในขณะที่ขั้วโลกใต้จะทำมุม 90° และอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร

ขั้วโลกอาจมีความเป็นไปได้ที่จะคาดเคลื่อนเล็กน้อยเนื่องจากการหมุนของวัตถุนั้นเอง ขั้วโลกเหนือและใต้ทางกายภาพที่แท้จริงของโลกนั้นจะอาจเปลี่ยนตำแหน่งไปได้ในระยะทางไม่กี่เมตรเมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีความชัดเจนจากการหมุนควงของวิษุวัติของโลก ซึ่งองศาของดาวเคราะห์ (ทั้งแกนหมุนและพื้นผิวต่างก็เคลื่อนที่ไปพร้อมกัน) อาจเปลี่ยนแปลงตำแหน่งได้อย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไปนับหมื่นปี

อย่างไรก็ตาม วิชาการเขียนแผนที่ต้องการพิกัดของขั้วโลกที่เที่ยงตรงและไม่เปลี่ยนตำแหน่ง ขั้วโลกในการแผนที่ (cartographical poles หรือ cartographic poles) จึงเป็นตำแหน่งคงที่บนโลกหรือวัตถุหมุนอื่นที่ตำแหน่งโดยประมาณที่เป็นไปได้ของขั้วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น

สภาพอากาศ

ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ มีอากาศหนาวจัด เนื่องจากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ รังสีมีความเข้มข้นต่ำ บริเวณขั้วโลกทั้ง 2 ข้าง ในช่วงฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด และน้ำก็จับจนแข็ง และยังมีลมพายุที่พัดพาหิมะมาตกอย่างหนัก เรียกกันว่า พายุหิมะ (Blizzards)

พืช

เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น จึงมีพันธุ์พืชไม่มากนัก พืชบางชนิดมีความทนทานสูง บางครั้งอาจจมใต้หิมะเป็นเวลานานนับปี กว่าจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้อีกเมื่อฤดูร้อนมาถึง หญ้าและพืชที่ทนทาน เช่น มอส ไลเคน ตะไคร่น้ำ มักมีพุ่มเตี้ย

สัตว์

สัตว์ในขั้วโลกเหนือ

ในอาร์กติกมีสัตว์จำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตลอดปี แต่บางชนิดก็อยู่ในฤดูที่อบอุ่น สัตว์ขั้วโลกเหนือส่วนใหญ่ มีขนหนา เพื่อความอบอุ่น เช่น วอลรัส วัวมัสก์ หมีขั้วโลก

สัตว์ในขั้วโลกใต้

มหาสมุทรที่ล้อมรอบแอนตาร์กติก คือถิ่นที่อยู่ของสัตว์หลายชนิด แต่ไม่กี่ชนิดที่อาศัยที่แอนตาร์กติกตลอดทั้งปี เช่น วาฬ แมวน้ำ กุ้งฝอย (krill)

นก

นกเพนกวิน มีอาศัยเฉพาะขั้วโลกใต้ ไม่เคยปรากฏในขั้วโลกเหนือ ส่วนนกอื่น ๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในขั้วโลกเฉพาะช่วงหน้าร้อน เช่น นกเค้าแมวสีขาว

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya