คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร Faculty of Veterinary Medicine Mahanakorn University of Technology
สถาปนา พ.ศ. 2535 คณบดี รศ.น.สพ.ดร.จตุพร กระจายศรี ที่อยู่ วารสาร สัตวแพทยมหานครสาร สี สีฟ้าหม่น เว็บไซต์ http://www.vet.mut.ac.th/
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย โดยตั้งอยู่ ณ 140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยงยุทธ สัจจวานิชย์ ได้เชิญ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ดำรง พฤกษราช อดีตอาจารย์หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ามาเป็นคณบดีท่านแรก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางสัตวแพทย์ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ปีการศึกษา 2535-2536 จำนวน 10 คน ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรองมาตรฐานการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นไป (ตามหนังสือทบวงมหาวิทยาลัย ที่ ทม 0207/6098 ลงวันที่ 7 เมษายน 2541) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรองคุณวุฒิปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นไป (ตามหนังสือ ก.พ. ที่ นร. 0708.8/873 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541)
เปิดโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กในปี พ.ศ. 2539 และปรับปรุงเพื่อรองรับการเรียนการสอนที่มากขึ้น เป็นโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนด้านสัตว์เล็กในปี พ.ศ. 2551
ก่อตั้งศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์เปิดในปี พ.ศ. 2540
โรงเรือนสัตว์ทดลองขนาดเล็กเปิดในปี พ.ศ. 2541
มหาวิทยาลัยอนุมัติก่อสร้างอาคาร I และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2543 เพื่อใช้ในกิจการโรงพยาบาลสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่
ปี พ.ศ. 2550 คณะฯ จัดงานประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์ เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยก่อสร้างอาคารเรียน R เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาสัตวแพทย์ และการให้บริการวิชาการ และบริการสังคม
ปี พ.ศ. 2552 คณะสัตวแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เข้าเป็นสมาชิก Asian Association Veterinary Schoolซึ่งการเป็นสร้างความร่วมมือทางวิชาการสำหรับสถานบันการศึกษาในระดับภูมิภาค
เปิดหลักสูตร วท.ม. (สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์) และ สก.อ. ให้การรับรองหลักสูตรตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี
คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรในระดับปริญญาบัณฑิต 1 หลักสูตร
สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Veterinary Medicine)
ระดับปริญญาโท
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์ (Master of Science (Animal Biotechnology))
โครงสร้างการบริหาร
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.จตุพร กระจายศรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ทนงศักดิ์ มะมม
อาจารย์ น.สพ.ดร.จำลอง มิตรชาวไทย
รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา
อาจารย์ สพ.ญ.ดร.อารยา สืบขำเพชร
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและประชาสัมพันธ์
อาจารย์ น.สพ.วีรพันธ์ นกแก้ว
ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์
อาจารย์ ดร.สรรเพชญ โสภณ
โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่
โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสัตว์และการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร พร้อมทั้งบริการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาสัตว์ป่วยทั้งในและนอกสถานที่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องอัลตราซาวนด์ เป็นต้น อีกทั้งยังให้บริการย้ายฝากตัวอ่อนในโคและแพะ ให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาผสมติดยากและการจัดตั้งศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง ทั้งนี้ยังเป็นหน่วยงานสนับสนุนการทำงานวิจัยและการค้นคว้าเพื่อพัฒนาด้านวิชาการของอาจารย์ รวมถึงการเรียนการสอนของนักศึกษาโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ได้จากประสบการณ์จริงภายใต้การดูแลของนายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาล และคณาจารย์ที่มีความสามารถเฉพาะด้านอย่างใกล้ชิด
โรงเรือนสัตว์ทดลองขนาดใหญ่
เป็นสถานที่สำหรับการเลี้ยงสัตว์ทดลองขนาดใหญ่ ได้แก่ โค แพะ ม้า และสุกร รวมทั้งสัตว์ปีก สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า เพื่อใช้สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนของนักศึกษาที่มุ่งหวังให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง นอกจากนี้ยังเป็นโรงเรือนที่ใช้สำหรับอภิบาลสัตว์ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก่อนที่เจ้าของสัตว์จะนำกลับไปดูแลต่อได้
รถโรงพยาบาลสัตว์เคลื่อนที่
เป็นรถที่ใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่ โดยมียา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมที่จะให้ความสะดวกแก่เจ้าของที่ไม่สามารถนำสัตว์มารับบริการที่โรงพยาบาลได้ โดยเปิดให้บริการทั้งสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กและสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ พร้อมทั้งมีนายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลและคณาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถไปให้บริการ
รถการบริการคลินิกเฉพาะทาง
เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการทางโรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์ใหญ่จึงจัดให้มีการให้บริการคลินิกเฉพาะทางขึ้น โดยกำหนดการให้บริการดังนี้
วันจันทร์ - คลินิกทางสูติศาสตร์, คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง
วันอังคาร - คลินิกสัตว์ป่า
วันพุธ - คลินิกสุกร, คลินิกสัตว์ปีก
วันพฤหัสบดี - คลินิกม้า
วันศุกร์ - คลินิกสัตวแพทย์สาธารณสุข
โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก
โรงพยาบาลเพื่อการสอนด้านสัตว์เล็ก
ด้านอายุรกรรม
ด้านทันตกรรม
ด้านศัยกรรม
ด้านตรวจวินิจฉัยพิเศษ
ตรวจวินิจฉัยห้องปฏิบัติการ
เวลาทำการ
จันทร์-อังคาร เช้า 09.00-11.30 น. บ่าย 13.00-20.00 น.
พุธ เช้า 09.00-11.30 น. บ่ายปิดบริการ
พฤหัส-ศุกร์ เช้า 09.00-11.30 น. บ่าย 13.00-20.00 น.
เสาร์-อาทิตย์ เช้า 09.00-11.30 น.บ่าย 13.00-17.00 น.
หยุดทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์
ผ่าตัดศัลยกรรมโทรนัดล่วงหน้า
ศูนย์บริการชันสูตรโรคสัตว์
ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก
หน่วยโลหิตวิทยา
หน่วยตรวจน้ำเหลืองทางชีวเคมี
หน่วยตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ
หน่วยเซลล์วิทยาวินิจฉัย
ห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยาคลินิก
ห้องปฏิบัติการจุลพยาธิวิทยา
ห้องปฏิบัติการชันสูตรซากสัตว์
ห้องปฏิบัติการแบคทีเรียและราวิทยา
หน่วยตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในสัตว์
หน่วยตรวจตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราในสัตว์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น