Share to:

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
Rajamangala University of Technology Tawan-ok
ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อย่อมทร.ตะวันออก / RMUTTO
คติพจน์ราชมงคลสร้างคนสู่งานเชี่ยวชาญเทคโนโลยี
ราชมงคลทั้งเก้าแห่ง
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548; 19 ปีก่อน (2548-01-18)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการคณะวิชา
งบประมาณ757,976,700 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯศาสตราจารย์ สุนทร บุญญาธิการ (ปฏิบัติหน้าที่แทน)
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ
อาจารย์514 คน (พ.ศ. 2567)
บุคลากรทั้งหมด1,219 คน (พ.ศ. 2567)
ผู้ศึกษา8,103 คน (พ.ศ. 2566)[2]
ที่ตั้ง
วิทยาเขตวิทยาเขต
เพลงสดุดีราชมงคล
ต้นไม้พะยอม
สี  สีน้ำเงินเทอร์ควอยส์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-ok) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่จัดการสอนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ใน 15 แห่งที่จัดการศึกษาระดับปริญญาสายวิชาชีพด้วยความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนานแห่งหนึ่งของประเทศไทย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญาครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาตะวันออก และโอนวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเกษตรกรรม และวิทยาลัยต่างๆ ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เข้ามาสังกัด ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ราชมงคล" เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 (วันราชมงคล) พร้อมทั้งมีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2532 ทำให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก"

ในระยะต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาต้องเป็นนิติบุคคล[3] ทำให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเริ่มมีแนวคิดในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยนิติบุคคล กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548[4] ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผลให้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี จัดการศึกษาด้านวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ผลิตครูวิชาชีพ และให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญาเป็นหลัก

คณะในมหาวิทยาลัย

  1. คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
  2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  4. คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. คณะศิลปศาสตร์
  6. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
  7. คณะเทคโนโลยีสังคม
  8. คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
  9. คณะสัตวแพทยศาสตร์
  10. สถาบันเทคโนโลยีการบินและอวกาศ
  11. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม

สาขาที่เปิดสอนในคณะต่างๆ

  • คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
    • สาขาพืชศาสตร์ - พืชไร่ - นา
    • สาขาพืชศาสตร์ - พืชสวน
    • สาขาสัตวศาสตร์
    • สาขาวิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยี (สาขาวิชาเกษตรกลวิธาน)
    • สาขาประมง
    • สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (http://science.rmutto.ac.th/finance/ เก็บถาวร 2022-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตร วท. บ.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร)
    • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร หลักสูตร วท. บ.(เทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ)
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตร วท. บ.(วิทยาการคอมพิวเตอร์)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตร วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร)
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตร วท. บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
    • สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม หลักสูตร วท. บ. (ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม)


สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม

  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • สาขาการจัดการทั่วไป
    • สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
    • วิชาเอกการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรสมัยใหม่
    • วิชาเอกเทคโนโลยีการลงทุน
    • วิชาเอกการประกันวินาศภัย
    • สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
    • วิชาเอกการจัดการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศดิจิทัล
    • วิชาเอกการจัดการสินค้าคงคลังและคลังสินค้าดิจิทัล
  • คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สาขาการตลาด
    • สาขาการบัญชี
    • สาขาการจัดการทั่วไป
    • สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
    • สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    • สาขาเศรษฐศาสตร์
    • สาขาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
    • สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์-คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • คณะศิลปศาสตร์
    • สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
    • สาขาการท่องเที่ยว
    • สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (กำลังจะเปิดสอนในอนาคต)
    • สาขาพลศึกษาและนันทนาการ (กำลังจะเปิดสอนในอนาคต)
    • สาขาภาษาไทย (กำลังจะเปิดสอนในอนาคต)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
    • สาขาวิศวกรรมโยธา
    • สาขาวิศวกรรมก่อสร้าง
    • สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
    • สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
    • สาขาออกแบบอุตสาหกรรม
    • สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
    • สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
  • คณะสัตวแพทยศาสตร์
    • สาขาสัตวแพทยศาสตร์
    • สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์
  • คณะเทคโนโลยีสังคม
    • สาขาการบัญชี
    • สาขาการจัดการ
    • สาขาเศรษฐศาสตร์
    • สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
    • สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร
    • สาขาวิชาพืชศาสตร์ – พืชสวน
    • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
    • สาขาวิชาประมง
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและเทคโนโลยี
    • สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
    • สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและกิจอาหาร
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
  • สถาบันเทคโนโลยีการบิน
    • สาขาวิทยาศาสตร์การบิน
    • การจัดการการบิน

วิทยาเขต

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ประกอบด้วย 4 วิทยาเขต คือ

รายนามอธิการบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ไพบูลย์ มากจันทร์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 มกราคม พ.ศ. 2551[5]
นายทวีชัย เหลี่ยมศิริวัฒนา 19 มกราคม พ.ศ. 2551 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551(รักษาการ)
ผศ.วันชัย มั่นคง 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 (รักษาการ)
2. ศ.ดร.สิน พันธุ์พินิจ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (รักษาการ)[6]
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[7] - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
16 ตุลาคม พ.ศ. 2558[8] - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ผศ.นเรศ ใจหาญ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (รักษาการ)
ผศ.ดร.อารมย์ ตัตตะวะศาสตร์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี)
3. รศ.ดร.สมชาย ปฐมศิริ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (รักษาการ)
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[9]
4. รศ.ดร.ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 (รักษาราชการแทนอธิการบดี)
18 มีนาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน[10]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ตราประจำมหาวิทยาลัย พระมหาพิชัยมงกุฎ ตราประจำมหาวิทยาลัยนั้นเป็นรูปดวงตราวงกลมภายในมีพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ล้อมรอบด้วยดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งสื่อความหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่น เบิกบานอันก่อให้เกิดปัญญา ด้านบนดวงตรานั้นมีพระมหาพิชัยมงกุฎที่มีตัวเลข ๙ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ครอบอยู่ ด้านล่างดวงตรานั้นเขียนชื่อสถาบัน ทั้งนี้ตราของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ล้วนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าราชมงคลทุกรุ่น ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกพะยอม เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวนวลบ่งบอกถึงความสุภาพอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ กลิ่นหอมไกลของดอกพะยอม สื่อถึงความรู้ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรมของบัณฑิตซึ่งเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ น้ำเงินเทอร์ควอยส์ สีน้ำเงินเป็นสีประจำพระมหากษัติริย์

พื้นที่จัดการศึกษา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มีพื้นที่จัดการศึกษา 4 แห่งคือ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ส่วนกลาง
    • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก พื้นที่บางพระ
    • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก พื้นที่บ่อทอง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่จักรพงษภูวนารถ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ศาสตราจารย์สวาสดิ์ ไชยคุณา อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ผู้บุกเบิกสถาบันฯ อย่างแท้จริง ได้กล่าวถึงการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของสถาบันไว้ว่า

ล้นเกล้าฯ พระปิยมหาราช ปลดปล่อยทาสให้เป็นไทยฉันใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงปลดปล่อยนักเรียนอาชีวศึกษาจากที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเป็นนักเรียนชั้นสองให้เป็นไทฉันนั้น

นับจากปีแรกที่ได้เริ่มสถาปนาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 และได้ดำเนินการเรียนการสอนผ่านพ้นอุปสรรคปัญหามานานานับประการเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงวันแห่งความสำเร็จวันแห่งภาคภูมิใจที่รอคอยก็มาถึง อีกหกปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยพระมหากรุณาธิการอย่างสูงสุด เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษารุ่นแรก

การที่บัณฑิตที่มาจากนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นสอง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุด มีโอกาสได้รับพระราชทานปริญญาบัตรกับพระหัตถ์พระองค์เอง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร นำความปลื้มปิติยินดีมาสู่เหล่าคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา ผู้ปกครองบัณฑิต เป็นล้นพ้น และอีกสามครั้งคือ ในปี พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2531 เมื่อได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันให้ใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เป็นครั้งแรกด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 2533 รวมแล้วได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ด้วยพระองค์เองถึง 4 ครั้ง และตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ก็ได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ฯ มาพระราชทานปริญญาบัตรแด่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ในวันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตความตอนหนึ่งว่า พระราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิต วันที่ 15 ธันวาคม 2552

ขอให้ทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง ในอันที่จะใช้สื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสม และให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์เป็นความเจริญแก่ตนเองและส่วนรวมพร้อมทุกส่วน

ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอน 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542
  4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอน 6ก ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย
  6. http://op.rmutto.ac.th/images/stories/order/06-2553.pdf[ลิงก์เสีย]
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก นายสิน พันธุ์พินิจ
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก นายสิน พันธุ์พินิจ
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกพ้นจากตำแหน่ง (นายสมชาย ปฐมศิริ)
  10. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya