คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะอุตสาหกรรมเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ที่สามารถบริหารจัดการ ควบคุมกระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสามารถทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตรเป็นคณะแรกของประเทศไทย ตามนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 โดยได้รับโอน "แผนกวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร" ซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จาก คณะเกษตร มาสังกัดเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะด้วย หน่วยงานภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตร
โครงการปริญญาตรีร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนิสิตสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมก็ได้
แนวทางการประกอบอาชีพภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ สามารถทำงานเป็นนักเทคโนโลยีการบรรจุ ที่ออกแบบและควบคุมการผลิตภาชนะบรรจุ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ สถานที่ทำงานหลังจบการศึกษาได้แก่ บริษัทในกลุ่มอุปโภคบริโภค เช่น Procter & Gamble Manufacturing Ltd., คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ประเทศไทย จำกัด, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศไทย จำกัด, 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ฯลฯ บริษัทในกลุ่มวัสดุบรรจุ เช่น ฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด, สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด, เยื่อกระดาษสยาม จำกัด ฯลฯ และกลุ่มการพิมพ์ภาชนะบรรจุ เช่น สยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด, สยามทบพัน จำกัด, Fuji Ace Co.,Ltd ฯลฯ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพผู้ที่จบสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมการหมัก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ฯลฯ ในบทบาทของนักวิจัย ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพ หรือศึกษาต่อปริญญาโทเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือวิศวกรรมเคมี บัณฑิตของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเนสเล่(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัทเบทาโกรอโกรกรุ๊ฟ จำกัด (มหาชน), บริษัทซี.พี.อินเตอร์ฟูด (ไทยแลนด์) จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นพนักงานควบคุมการผลิตในบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร หรือทำงานในองค์กรของรัฐต่างๆ เช่น สภาวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรม สถาบันอาหาร ฯลฯ ในตำแหน่งนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ควบคุมคุณภาพสินค้า หรือศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสาขาเดิมหรือสาขาอื่น เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม,Food Engineering, Chemical Engineering, MBA, Marketing, Industrial Engineering, Packaging ฯลฯ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ในฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา หรือฝ่ายขาย และ ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งวิศวกรกระบวนการแปรรูปอาหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต บัณฑิตของภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัทลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ เช่น สำนักงานอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงสาธารณสุข โครงการหลวงและโครงการส่วนพระองค์ ฯลฯ ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอผู้ที่เรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอสามารถก้าวสู่มืออาชีพด้านการจัดการธุรกิจสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ หรือเป็นผู้ควบคุมการผลิต หรือหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างๆ เช่น โรงงานปั่นด้าย โรงงานฟอกย้อม โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ โรงงานเคหะสิ่งทอ หรือเป็นนักวิจัยในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันสิ่งทอ สถาบันค้นคว้าและวิจัยต่างๆ ฯลฯ อันดับและมาตรฐาน
ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา ARWU Global Ranking of Academic Subjects [2] จัดโดยมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทงของประเทศจีน โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัย (Q1) อิทธิพลของงานวิจัย (CNCI) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (IC) คุณภาพการวิจัย (TOP) และรางวัลวิชาการระดับนานาชาติ (Award) พบว่าในสาขา Food Science & Technology และ สาขา Biotechnology ซึ่งเป็นสาขาของ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลก โดยในสาขา Food Science & Technology ปี 2017 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[3] ปี 2018 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[4] ปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 101-150,[5] ปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 201-300,[6] และปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 201-300[7] และสาขา Biotechnology ปี 2018 อยู่ในอันดับที่ 401-500[8] และปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 401-500[9]
U.S. News & World Report เป็นนิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา มีเกณฑ์การจัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยในปี 2022 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับตามสาขาวิชา (Subject Rankings) ในสาขา Food Science and Technology ให้อยู่ในอันดับที่ 166 ของโลก[11] ศิษย์เก่าดีเด่น
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|