คริสตัลไวโอเลต
ชื่อ
IUPAC name
Tris(4-(dimethylamino)phenyl)methylium chloride
ชื่ออื่น
Aniline violet
Basic violet 3
Baszol Violet 57L
Brilliant Violet 58
Hexamethyl-p -rosaniline chloride Methylrosanilide chloride
Methyl Violet 10B
Methyl Violet 10BNS
Pyoktanin
เลขทะเบียน
3580948
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ดรักแบงก์
ECHA InfoCard
100.008.140
EC Number
KEGG
MeSH
Gentian+violet
RTECS number
UNII
UN number
3077
InChI=1S/C25H30N3.ClH/c1-26(2)22-13-7-19(8-14-22)25(20-9-15-23(16-10-20)27(3)4)21-11-17-24(18-12-21)28(5)6;/h7-18H,1-6H3;1H/q+1;/p-1
Y Key: ZXJXZNDDNMQXFV-UHFFFAOYSA-M
Y InChI=1/C25H30N3.ClH/c1-26(2)22-13-7-19(8-14-22)25(20-9-15-23(16-10-20)27(3)4)21-11-17-24(18-12-21)28(5)6;/h7-18H,1-6H3;1H/q+1;/p-1
Key: ZXJXZNDDNMQXFV-REWHXWOFAV
[Cl-].CN(C)c1ccc(cc1)[C+](c1ccc(cc1)N(C)C)c1ccc(cc1)N(C)C
[Cl-].CN(C)C1=CC=C(C=C1)[C+](C1=CC=C(C=C1)N(C)C)C1=CC=C(C=C1)N(C)C
คุณสมบัติ
C 25 H 30 Cl N 3
มวลโมเลกุล
407.99 g·mol−1
จุดหลอมเหลว
205 องศาเซลเซียส (401 องศาฟาเรนไฮต์; 478 เคลวิน)
เภสัชวิทยา
D01AE02 (WHO ) G01 AX09
ความอันตราย
GHS labelling :
อันตราย
H302 , H318 , H351 , H410
P273 , P280 , P305+P351+P338 , P501
ปริมาณ หรือความเข้มข้น (LD, LC):
1.2 g/kg (oral, mice) 1.0 g/kg (oral, rats)[ 1]
Chemical compound
คริสตัลไวโอเลต (อังกฤษ : crystal violet ) เป็นสีย้อม ในกลุ่มไตรฟีนิลมีเทน ที่ใช้ในการย้อมสีเนื้อเยื่อและย้อมสีแบคทีเรียตามการย้อมสีกรัม คริสตัลไวโอเลตมีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะ สารต้านเชื้อรา และสารต้านพยาธิ ในอดีตคริสตัลไวโอเลตเป็นยาทาระงับเชื้อที่สำคัญและยังคงอยู่ในบัญชียาขององค์การอนามัยโลก [ 2] คริสตัลไวโอเล็ตมีอีกชื่อคือเจนเชียนไวโอเลต (gentian violet) ซึ่งเดิมใช้เรียกสารผสมเมทิลพาราโรซานิลีน แต่ปัจจุบันถือเป็นไวพจน์ของคริสตัลไวโอเลต ชื่อเจนเชียนไวโอเลตมาจากสีของสารที่เหมือนสีดอกเจนเชียน (สกุล Gentiana ) แต่ไม่ได้ผลิตจากดอกเจนเชียนหรือไวโอเลต
คริสตัลไวโอเลตถูกสังเคราะห์ครั้งแรกโดยอัลเฟรท เคิร์นในปี ค.ศ. 1883[ 3] วิธีดั้งเดิมในการเตรียมคริสตัลไวโอเลตได้จากปฏิกิริยาไดเมทิลอะนิลีน กับฟอสจีน ได้มิชเลอส์คีโตน (4,4′-bis(dimethylamino)benzophenone) เป็นสารมัธยันตร์[ 4] จากนั้นจะทำปฏิกิริยากับไดเมทิลอะนิลีน ฟอสฟอริลคลอไรด์ และกรดไฮโดรคลอริก [ 3] นอกจากนี้คริสตัลไวโอเลตยังเตรียมได้จากการควบแน่นของฟอร์มาลดีไฮด์ กับไดเมทิลอะนิลีน ได้ลิวโคไดย์ ตามสมการ[ 5]
CH2 O + 3 C6 H5 N(CH3 )2 → CH(C6 H4 N(CH3 )2 )3 + H2 O
หลังจากนั้นลิวโคไดย์ที่ไม่มีสีจะถูกออกซิไดซ์ให้อยู่ในรูปแคทไอออนที่มีสี (ตัวออกซิไดซ์ทั่วไปที่ใช้ในปฏิกิริยานี้คือแมงกานีสไดออกไซด์ )
CH(C6 H4 N(CH3 )2 )3 + HCl + 1/2 O2 → [C(C6 H4 N(CH3 )2 )3 ]Cl + H2 O
คริสตัลไวโอเลตใช้เป็นตัวบ่งชี้พีเอช โดยจะปรากฏเป็นสีเหลืองเมื่อทดสอบด้วยสารละลายที่มี pH −1.0 และเปลี่ยนเป็นสีไวโอเลตเมื่อทดสอบด้วยสารละลายที่มี pH 2.0[ 6] คริสตัลไวโอเลตใช้ในการย้อมสีกรัมเพื่อจำแนกแบคทีเรีย วิธีคือใช้คริสตัลไวโอเลตแต้มบนผนังเซลล์แบคทีเรียแล้วย้อมทับด้วยไอโอดีน เพื่อให้สีติดทน ก่อนจะใช้เอทานอล หรือแอซีโทน ล้างสีออก หากเป็นแบคทีเรียแกรมลบ สีจะละลายออกมาพร้อมกับสารล้างสีเนื่องจากแบคทีเรียสูญเสียเยื่อลิโพพอลิแซกคาไรด์ชั้นนอก[ 7] ขณะที่สีจะยังคงติดบนแบคทีเรียแกรมบวก เนื่องจากสารทั้งสองจะทำให้แบคทีเรียแกรมบวกสูญเสียน้ำ ทำให้ผนังเซลล์หดตัวขัดขวางการแพร่ออกของสีย้อม จากนั้นจะใช้ซาฟรานิน หรือคาร์บอลฟุคซิน ย้อมทับลงบนแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียแกรมลบจะปรากฏเป็นสีชมพู ส่วนแบคทีเรียแกรมบวกจะเป็นสีม่วงเช่นเดิมเนื่องจากมีสีเข้มกว่าสีชมพู[ 8] นอกเหนือจากใช้ย้อมสีเนื้อเยื่อ คริสตัลไวโอเลตยังใช้ย้อมสีผ้า กระดาษ เป็นส่วนประกอบของหมึกพิมพ์ และหมึกปากกา ในทางนิติวิทยาศาสตร์ มีการใช้คริสตัลไวโอเลตในการทำให้ลายนิ้วมือ ปรากฏชัดขึ้น[ 9]
คริสตัลไวโอเลตมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และพยาธิ จึงใช้ในการรักษาการติดเชื้อ Candida albicans หรือโรคติดเชื้อที่เกี่ยวข้อง เช่น กลาก โรคน้ำกัดเท้า [ 10] คริสตัลไวโอเลตยังใช้ในการรักษาโรคพุพอง ในผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนิซิลลิน [ 11]
อ้างอิง
↑ Hodge, H. C.; Indra, J.; Drobeck, H. P.; Duprey, L. P.; Tainter, M. L. (1972). "Acute oral toxicity of methylrosaniline chloride". Toxicology and Applied Pharmacology . 22 (1): 1–5. doi :10.1016/0041-008X(72)90219-0 . PMID 5034986 .
↑ "Gentian violet" . World Health Organization . 2014. สืบค้นเมื่อ November 18, 2020 .
↑ 3.0 3.1 US 290856 , Caro, H. & A. Kern, "Manufacture of dye-stuff", issued 1883 US 290891 , Kern, A., "Manufacture of dye-stuff or coloring-matter", issued 1883 US 290892 , Kern, A., "Manufacture of purple dye-stuff", issued 1883
↑ Reinhardt, C.; Travis, A.S. (2000), Heinrich Caro and the creation of modern chemical industry , Dordrecht, Netherlands: Kluwer Academic, pp. 208–209, ISBN 0-7923-6602-6
↑ Colour Index 3rd Edition Volume 4 (PDF) , Bradford: Society of Dyers and Colourists, 1971, p. 4391, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2011-07-19
↑ Adams, E. Q.; Rosenstein, L. (1914). "The color and ionization of crystal-violet". J. Am. Chem. Soc . 36 (7): 1452–1473. doi :10.1021/ja02184a014 . hdl :2027/uc1.b3762873 .
↑ Tim, Sandle (21 October 2015). Pharmaceutical Microbiology: Essentials for Quality Assurance and Quality Control . ISBN 9780081000229 . OCLC 923807961 .
↑ "Gram stain history and mechanisms" . Penn Medicine - University of Pennsylvania Health System . สืบค้นเมื่อ November 18, 2020 .
↑ Henneman, Sheila A.; Kohn, Frank S. (1975), "Methylene blue staining of tissue culture monolayers", Methods in Cell Science , vol. 1 no. 2, pp. 103–104, doi :10.1007/BF01352624
↑ "Gentian Violet Topical" . WebMD . สืบค้นเมื่อ November 18, 2020 .
↑ MacDonald RS (October 2004). "Treatment of impetigo: Paint it blue" . BMJ . 329 (7472): 979. doi :10.1136/bmj.329.7472.979 . PMC 524121 . PMID 15499130 .
แหล่งข้อมูลอื่น