Share to:

 

คาร์เธจ

คาร์เธจ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศธงของประเทศตูนิเซีย ตูนิเซีย
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณาii, iii, vi
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2522 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
คาร์เธจ
บน: อาสนวิหารคาร์เธจเซนต์-ลุยส์, มัสยิดมะลิก อิบน์ อะนัส, กลาง: พระราชวังคาร์เธจ, ล่าง: โรงอาบน้ำอันโตนินุส, ทวิอัฒจันทร์คาร์เธจ (ทั้งหมดจากซ้ายไปขวา)
คาร์เธจตั้งอยู่ในตูนิเซีย
คาร์เธจ
แสดงที่ตั้งภายในตูนิเซีย
ที่ตั้งตูนิเซีย
ภูมิภาคเขตผู้ว่าการตูนิส
พิกัด36°51′10″N 10°19′24″E / 36.8528°N 10.3233°E / 36.8528; 10.3233

คาร์เธจ (อังกฤษ: Carthage)[a] เป็นนครโบราณทางตะวันออกของทะเลสาบตูนิสในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศตูนิเซีย คาร์เธจเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญที่สุดและเป็นหนึ่งในเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในสมัยคลาสสิก โดยกลายเป็นเมืองหลวงของอารยธรรมคาร์เธจโบราณและคาร์เธจของโรมันในภายหลัง

นครนี้พัฒนาจากอาณานิคมฟินิเชียไปเป็นเมืองหลวงจักรวรรดิพิวนิกที่กินพื้นที่ส่วนใหญ่ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[1] พระราชินีเอลิสซา อาลิสซา หรือดีโดในตำนานมาจากไทร์ ถือเป็นผู้ก่อตั้งนครนี้[2] แม้มีการตั้งคำถามถึงความเป็นประวัติศาสตร์ของพระนาง ในตำนาน ดีโดขอที่ดินจากชนเผ่าพื้นเมืองที่บอกพระนางว่าสามารถหาที่ดินได้มากที่สุดเท่าที่ผืนหนังโคครอบคลุมได้ พระนางจึงตัดผืนหนังโคเป็นเส้นแล้ววางขอบรอบของเมืองใหม่[3] เมื่อคาร์เธจเจริญรุ่งเรื่อง ทางหน่วยการเมืองจึงส่งชาวอาณานิคมในต่างประเทศรวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารไปปกครองอาณานิคมด้วย[4]

นครโบราณถูกทำลายในการล้อมคาร์เธจเกือบ 3 ปีโดยสาธารณรัฐโรมันในช่วงสงครามพิวนิกครั้งที่สามเมื่อ 146 ปีก่อน ค.ศ. ภายหลังจึงพัฒนาใหม่ในฐานะคาร์เธจของโรมัน ซึ่งกลายเป็นนครหลักของจักรวรรดิโรมันในมณฑลอัฟริกา ข้อคำถามการเสื่อมถอยและล่มสลายของคาร์เธจยังคงเป็นหัวข้ออภิปรายทางวรรณกรรม การเมือง ศิลปะ และปรัชญาทั้งในประวัติศาสตร์สมัยโบราณและสมัยใหม่[4][5]

คาร์เธจในสมัยโบราณตอนปลายถึงสมัยกลางยังคงมีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในสมัยไบแซนไทน์ นครนี้ถูกปล้นทรัพย์และทำลายโดยกองทัพอุมัยยะฮ์หลังยุทธการที่คาร์เธจใน ค.ศ. 698 เพื่อไม่ให้จักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าพิชิตอีกครั้ง[6] โดยยังอยู่ภายใต้การคอรงครองใน่ชวงสมัยมุสลิม[7] และฝ่ายมุสลิมใช้เป็นป้อมจนกระทั่งสมัยราชวงศ์ฮัฟศิดที่พวกครูเสดเข้ายึดครองและสังหารหมู่พลเมืองในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 8 ราชวงศ์ฮัฟศิดจึตัดสินใจทำลายแนวป้องกันของตน เพื่อไม่ให้นครนี้ถูกใช้เป็นฐานทัพจากฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรอีกต่อไป[8] นครนี้ยังคงทำหน้าที่เป็นอิปิสโคปัลซี (episcopal see)

อำนาจภูมิภาคเคลื่อนย้ายไปยังอัลก็อยเราะวานและมะดีนะฮ์แห่งตูนิสในสมัยกลางจนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อเริ่มมีการพัฒนาไปเป็นชานเมืองชายฝั่งของตูนิส ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลคาร์เธจใน ค.ศ. 1919 มีการสำรวจแหล่งโบราณคดีครั้งแรกใน ค.ศ. 1830 โดย Christian Tuxen Falbe กงสุลชาวเดนมาร์ก จากนั้นจึงมีการขุดค้นในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดย Charles Ernest Beulé กับ Alfred Louis Delattre พิพิธภัณฑ์แห่งชาติคาร์เธจได้รับการสถาปนาใน ค.ศ. 1875 โดยพระคาร์ดินัล Charles Lavigerie การขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1920 ในตอนแรกได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบูชายัญเด็ก ทำให้มีความขัดแย้งกันในหมู่นักวิชาการอย่างมากว่าคาร์เธจสมัยโบราณมีการบูชายัญเด็กหรือไม่[9][10] พื้นที่โบราณสถานเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[11]

วิดีโอจำลองคาร์เธจ เมืองหลวงของชาวคานาอัน

ศัพทมูลวิทยา

ชื่อ Carthage (/ˈkɑːrθɪ/ kar-thij) เป็นรูปแผลงอังกฤษสมัยใหม่ตอนต้นจากภาษาฝรั่งเศสสมัยกลางว่า การ์ตาเฌอ (Carthage, /kartaʒə/)[12] จากภาษาละติน Carthāgō กับ Karthāgō (เทียบกรีก Karkhēdōn (Καρχηδών) และอีทรัสคัน *Carθaza) จากภาษาพิวนิก qrt-ḥdšt (𐤒𐤓𐤕 𐤇𐤃𐤔𐤕‎) "นครใหม่"[b] เป็นนัยถึง "ไทร์ใหม่"[14]

รูปภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ก็อรฏอจญ์ (قرطاج) ดัดแปลงจากภาษาฝรั่งเศส Carthage แทนที่ภูมินามวิทยาท้องถิ่นเก่าที่รายงานเป็น Cartagenna ซึ่งสืบมาจากชื่อภาษาละตินโดยตรง[15]

ประวัติสมัยโบราณ

สาธารณรัฐพิวนิก

การล่มสลายของจักรวรรดิคาร์เธจ
  เสียแก่โรมในสงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง (264–241 ปีก่อน ค.ศ.)
  ได้ดินแดนหลังสงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง แต่เสียในสงครามพิวนิกครั้งที่สอง
  เสียในสงครามพิวนิกครั้งที่สอง (218–201 ปีก่อน ค.ศ.)
  ถูกโรมพิชิตในสงครามพิวนิกครั้งที่สาม (149–146 ปีก่อน ค.ศ.)

สาธารณรัฐคาร์เธจเป็นหนึ่งในรัฐที่ใหญ่ที่สุดและดำรงอยู่นานที่สุดในเมดิเตอร์เรเนียนโบราณ โดยมีรายงานเกี่ยวกับสงครามต่อ Syracuse และโรมในท้ายที่สุด ซึ่งนำไปสู่ความพ่ายแ้และการทำลายล้ายคาร์เธจในสงครามพิวนิกครั้งที่สาม ชาวคาร์เธจเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานชาวฟินิเชียที่มีตำกำเนิดจากเมดิเตอร์เรเนียนชายฝั่งตะวันออกใกล้ พวกเขาพูดกลุ่มภาษาคานาอันที่เป็นภาษาเซมิติก และนับถือศาสนาพิวนิก ความเชื่อพื้นเมืองของศาสนาคานาอันโบราณ

ซากนครคาร์เธจ

การล่มสลายของคาร์เธจเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดของสงครามพิวนิกครั้งที่สามในยุทธการที่คาร์เธจเมื่อ 146 ปีก่อน ค.ศ.[16] ชาวโรมันดึงเรือรบฟินิเชียออกไปยังท่าเรือและเผามันต่อหน้านคร และเดินไปตามในอต่ละบ้านเพื่อจับคนไปเป็นทาส ชาวคาร์เธจประมาณ 50,000 คนถูกขายไปเป็นทาส[17] ตัวนครถูกเผาและพังทลายลงเหลือเพียงซากปรักหักพังและเศษหิน หลังคาร์เธจล่มสลาย ทางโรมจึงผนวกอาณานิคมคาร์เธจส่วนใหญ่ ซึ่งรวมนิคมบริเวณแอฟริกาเหนืออย่าง วอลูบิลิส, ลิกซุส, ชาละฮ์[18]

ตำนานโรยเกลือ

มีการอ้างว่าคาร์เธจถูกหว่านด้วยเกลือหลังตัวนครถูกทำลายไปแล้ว โดยมีบันทึกตั้งแต่อย่างน้อยใน ค.ศ. 1863[19] แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนสิ่งนี้[20][21]

คาร์เธจของโรมัน

ประวัติสมัยใหม่

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1985 นายยูโก้ เวเตเร่ (Ugo Vetere) นายกเทศมนตรีของกรุงโรมในขณะนั้น ทำสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการกับ นายเชดดี้ คลีบิ (Chedly Klibi) นายกเทศมนตรีของตูนีส เพื่อยุติฉากสงครามระหว่างสองชนชาติอย่างเป็นทางการอันยาวนานถึง 2,248 ปี หลังสงครามพิวนิกครั้งที่สาม

หมายเหตุ

  1. พิวนิกและฟินิเชีย: 𐤒𐤓𐤕𐤇𐤃𐤔𐤕, อักษรโรมัน: Qārtḥadāšt, แปลตรงตัว'นครใหม่'; ละติน: Carthāgō, ออกเสียง: [karˈtʰaːɡoː]
  2. เทียบกับแอราเมอิก קרתא חדתא Qarta Ḥadtaʾ, ฮีบรู קרת חדשה Qeret Ḥadašah และอาหรับ قرية حديثة‎ Qarya Ḥadīṯa;[13] คำคุณศัพท์ qrt-ḥdty "Carthaginian"

อ้างอิง

  1. Hitchner, R.; R. Talbert; S. Gillies; J. Åhlfeldt; R. Warner; J. Becker; T. Elliott. "Places: 314921 (Carthago)". Pleiades. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
  2. Josephus, Against Apion (Book I, §18)
  3. HAEGEMANS, Karen (2000-01-01). "Elissa, the First Queen of Carthage". Ancient Society. 30: 277–291. doi:10.2143/as.30.0.565564. ISSN 0066-1619.
  4. 4.0 4.1 Li, Hansong (2022). "Locating Mobile Sovereignty: Carthage in Natural Jurisprudence". History of Political Thought. 43 (2): 246–272. สืบค้นเมื่อ 13 August 2022.
  5. Winterer, Caroline (2010). "Model Empire, Lost City: Ancient Carthage and the Science of Politics in Revolutionary America". The William and Mary Quarterly. 67 (1): 3–30. doi:10.5309/willmaryquar.67.1.3. JSTOR 10.5309/willmaryquar.67.1.3. สืบค้นเมื่อ 13 August 2022.
  6. Bosworth, C. Edmund (2008). Historic Cities of the Islamic World. Brill Academic Press. p. 536. ISBN 978-9004153882.
  7. Anna Leone (2007). Changing Townscapes in North Africa from Late Antiquity to the Arab Conquest. Edipuglia srl. Edipuglia srl. pp. 179–186. ISBN 978-8872284988.
  8. Thomas F. Madden; James L. Naus; Vincent Ryan, บ.ก. (2018). Crusades – Medieval Worlds in Conflict. Oxford University Press. pp. 113, 184. ISBN 978-0198744320.
  9. Skeletal Remains from Punic Carthage Do Not Support Systematic Sacrifice of Infants
  10. Ancient Carthaginians really did sacrifice their children. เก็บถาวร 2020-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Oxford News
  11. "Archaeological Site of Carthage". World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-28. สืบค้นเมื่อ 19 October 2021.
  12. c.f. Marlowes Dido, Queen of Carthage (c. 1590); Middle English still used the Latin form Carthago, e.g., John Trevisa, Polychronicon (1387) 1.169: That womman Dido that founded Carthago was comlynge.
  13. ดู:
    • Knapp, Wilfrid (1977). North West Africa: A Political and Economic Survey. p. 15. ISBN 0192156357.
  14. "Carthage: new excavations in a Mediterranean capital". ugent.be.
  15. Audollent (1901:203)
  16. Pellechia, Thomas (2006). Wine: The 8,000-Year-Old Story of the Wine Trade. London: Running Press. ISBN 1-56025-871-3.
  17. "Ancient History". infoplease.com.
  18. "C. Michael Hogan (2007) Volubilis, The Megalithic Portal, ed. by A. Burnham".
  19. Ripley, George; Dana, Charles A. (1858–1863). "Carthage". The New American Cyclopædia: a Popular Dictionary of General Knowledge. Vol. 4. New York: D. Appleton. p. 497. OCLC 1173144180. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
  20. Warmington, B. H. (1988). "The Destruction of Carthage: A Retractation". Classical Philology. 83 (4): 308–310. doi:10.1086/367123. S2CID 162850949.
  21. Stevens, 1988, pp. 39–40.

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

  • นิยามแบบพจนานุกรมของ Carthago ที่วิกิพจนานุกรม
  • คู่มือการท่องเที่ยว Carthage จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Carthage
Kembali kehalaman sebelumnya