จักรวรรดิโรมัน
27 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 476 (วันที่ดั้งเดิม) [ 1] [ 2] ค.ศ. 395 – 476/480 (ตะวันตก ) ค.ศ. 395–1453 (ตะวันออก ) เมืองหลวง
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครอง ราชาธิปไตยกึ่งโดยเลือกตั้ง , ตามระบบเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จักรพรรดิ • 27 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 14
เอากุสตุส (องค์แรก) • ค.ศ. 98–117
ตรายานุส • ค.ศ. 270–275
ออเรเลียน • ค.ศ. 284–305
ดิออเกลติอานุส • ค.ศ. 306–337
คอนสแตนตินมหาราช • ค.ศ. 379–395
เทออดอซิอุสที่ 1 [ n 2] • ค.ศ. 474–480
ยูลิอุส แนโปส [ n 3] • ค.ศ. 475–476
โรมุลุส เอากุสตุส • ค.ศ. 527–565
ยุสตินิอานุสที่ 1 • ค.ศ. 610–641
เฮราคลิอัส • ค.ศ. 780–797
คอนสแตนตินที่ 6 [ n 4] • ค.ศ. 976–1025
เบซิลที่ 2 • ค.ศ. 1449–1453
คอนสแตนตินที่ 11 [ n 5]
สภานิติบัญญัติ วุฒิสภา ยุคประวัติศาสตร์ สมัยคลาสสิก ถึงสมัยกลางตอนปลาย 32–30 ปีก่อนคริสต์ศักราช 30–2 ปีก่อนคริสต์ศักราช 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 17 มกราคม ค.ศ. 395 4 กันยายน ค.ศ. 476 25 เมษายน ค.ศ. 480 12 เมษายน ค.ศ. 1204 • การพิชิตคอนสแตนติโนเปิลอีกครั้ง
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1261 29 พฤษภาคม 1453 15 สิงหาคม ค.ศ. 1461
พื้นที่ 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช[ 4] 2,750,000 ตารางกิโลเมตร (1,060,000 ตารางไมล์) ค.ศ. 117[ 4] [ 5] 5,000,000 ตารางกิโลเมตร (1,900,000 ตารางไมล์) ค.ศ. 390[ 4] 4,400,000 ตารางกิโลเมตร (1,700,000 ตารางไมล์) ประชากร • 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช
[ 6] 56,800,000
สกุลเงิน เซ็ซเตรีอุส , เอาเรอุส , โซลีดุส , โนมิสตา
จักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน
จักรวรรดิโรมัน (ละติน : Imperium Rōmānum [ɪmˈpɛri.ũː roːˈmaːnũː] ; กรีก : Βασιλεία τῶν Ῥωμαίων , ทับศัพท์ Basileía tôn Rhōmaíōn ; อังกฤษ : Roman Empire ) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณ ซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล – ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุส และซุลลา และสงครามกลางเมือง ระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และปอมปีย์ [ 7] มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก่
จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษ และเวลส์ ยุโรป ส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์ ) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลิแวนต์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนีย และกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลาง ไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบันคือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรีย และโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนีย และมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการี บัลแกเรีย และยูเครน ) ในปี ค.ศ. 106 และเมโสโปเตเมีย ในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาดริอานุส ) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตารางกิโลเมตร (2,300,000 ตารางไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum ("ทะเลของเรา") อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สถาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้
จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และถือว่าจักรวรรดิโรมันล่มสลายลงในช่วงเวลาประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 476 เมื่อจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ถูกขับไล่และเกิดการจลาจลขึ้นในโรม (ดูในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ) อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่รู้จักกันในชื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษากฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบกรีก-โรมัน รวมถึงศาสนาคริสต์ นิกายออโธดอกซ์ ไว้ได้ในอีกสหัสวรรษต่อมา จนถึงการล่มสลายเมื่อเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล ให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ในปีค.ศ. 1453
ประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งแยกช่วงการปกครองของจักรวรรดิโรมันเป็นสมัยผู้นำ (Principate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิเอากุสตุสจนถึงวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 และสมัยครอบงำ (Dominate) ซึ่งเริ่มตั้งแต่จักรพรรดิไดโอคลีเชียน จนถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งในสมัยผู้นำ ในจักรพรรดิจะมีอำนาจอยู่เบื้องหลังการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่ในสมัยครอบงำ อำนาจของจักรพรรดิได้แสดงออกมาอย่างเต็มที่ ด้วยมงกุฎทองและพิธีกรรมที่หรูหรา และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่ารูปแบบการปกครองนี้ได้ใช้ต่อจนถึงช่วงเวลาของจักรวรรดิไบแซนไทน์
สมัยรุ่งเรือง
จักรพรรดิพระองค์แรก
จูเลียส ซีซาร์ ได้ประกาศตัวเป็นผู้เผด็จการ ตลอดอายุขัย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ผู้เผด็จการจะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งเกิน 6 เดือน ตำแหน่งของซีซาร์จึงขัดกับกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เหล่าสมาชิกวุฒิสภาบางคนเกิดความหวาดระแวงว่าเขาจะตั้งตนเป็นกษัตริย์และสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้นจึงเกิดการวางแผนการลอบสังหารขึ้น และในวันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซาร์เสียชีวิตลงโดยฝีมือของพวกลอบสังหาร
ออคเตเวียน บุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองของจูเลียส ซีซาร์ ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และไม่อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งผู้เผด็จการ แต่ได้ขยายอำนาจภายใต้รูปแบบสาธารณรัฐอย่างระมัดระวัง โดยเป็นการตั้งใจที่จะสนับสนุนภาพลวงแห่งการฟื้นฟูของสาธารณรัฐ เขาได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น เอากุสตุส ซึ่งแปลว่า "ผู้สูงส่ง" และพรินเซปส์ ซึ่งแปลว่า"พลเมืองชั้นหนึ่งแห่งสาธารณรัฐโรมัน" หรือ "ผู้นำสูงสุดของวุฒิสภาโรมัน" ตำแหน่งนี้เป็นรางวัลสำหรับบุคคลผู้ทำงานรับใช้รัฐอย่างหนัก แม่ทัพปอมปีย์เคยได้รับตำแหน่งนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ เอากุสตุสยังได้สิทธิ์ในการสวมมงกุฎพลเมือง ที่ทำจากไม้ลอเรลและไม้โอ๊คอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งตำแหน่งต่าง ๆ และมงกุฎก็ไม่ได้มอบอำนาจพิเศษใด ๆ ให้เขา เขาเป็นเพียงกงสุลเท่านั้น และใน 13 ปีก่อนคริสตกาล เอากุสตุสได้เป็นพอนติเฟกซ์ แมกซิมุส ภายหลังการเสียชีวิตของมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส เอากุสตุสสะสมพลังอำนาจไว้มากโดยที่ไม่ได้อ้างสิทธิ์ในตำแหน่งต่าง ๆ มากเกินไป
จากสาธารณรัฐสู่สมัยผู้นำ: เอากุสตุส
ในปี 31 ปีก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี และคลีโอพัตรา พ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่อักติอูง และได้กระทำอัตวินิบาตฆาตกรรมทั้งคู่ ออคเตเวียนได้สำเร็จโทษซีซาเรียน ลูกชายของคลีโอพัตราและจูเลียส ซีซาร์ด้วย การสังหารซีซาเรียนทำให้ออคเตเวียนไม่มีคู่แข่งทางการเมืองที่มีสายเลือดใกล้ชิดกับจูเลียส ซีซาร์แล้ว เขาจึงกลายเป็นผู้ปกครองคนเดียวของโรม ออคเตเวียนเริ่มการปฏิรูปทางทหาร เศรษฐกิจและการเมืองครั้งใหญ่ โดยมีเจตนาเพื่อทำให้อาณาจักรโรมันมั่นคงและสงบสุข และยังทำให้เกิดการยอมรับในรูปแบบการปกครองใหม่นี้ด้วย
ในช่วงเวลาที่ออคเตเวียนปกครองโรมัน วุฒิสภาได้มอบชื่อเอากุสตุสให้เขา พร้อมกับตำแหน่ง อิมเพอเรเตอร์ ("จอมทัพ") ด้วย ซึ่งได้พัฒนาเป็น เอ็มเพอเรอร์' ("จักรพรรดิ") ในภายหลัง
เอากุสตุสมักจะถูกเรียกว่า ซีซาร์ ซึ่งเป็นนามสกุลของเขา คำว่าซีซาร์นี้ถูกใช้เรียกจักรพรรดิในราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส และราชวงศ์ฟลาวิอุส (จักรพรรดิแว็สปาซิอานุส จักรพรรดิติตุส และจักรพรรดิดอมิติอานุส ) ด้วย และยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า ซาร์ (รัสเซีย: tsar) และ ไกเซอร์ (เยอรมัน: kaiser)
ยุคเสื่อมและการล่มสลาย
ในสมัยห้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ก็ได้มาพร้อมกับความเสถียรภาพทางสังคมและความเจริญทางเศษฐกิจที่จักรวรรดิโรมไม่เคยมีมาก่อน[ 8] ควบคู่กับการขยายและการรวบรวมจักรวรรดิอย่างมหาศาล ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้จะมีประโยชน์แต่ได้มากับภาวะรวบรวมศูนย์อำนาจบริหารล้นเหลือ[ 9] และการครองราชย์ของจักรพรรดิก็อมมอดุส ใน ค.ศ. 180 ได้ฉายานามว่า "จากอาณาจักรแห่งทองได้กลายเป็นเหล็กและสนิม"[ 10] ต่อมาในราชวงค์ของจักรพรรดิแซ็ปติมิอุส แซเวรุส จักรวรรดิโรมันไปประสบวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 ซึ่งแทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของพวกอนารยชนเผ่ากอท ความวุ่นวายไม่สงบ โรคระบาด และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างแม่ทัพ ซึ่งส่งผลไปทางชีวิตประจำวันของสามัญชนและทางธนารักษ์ จึงจำเป็นที่จะต้องหยุดชะงักทางการค้า เพิ่มอัตราภาษี เกิดภาวะเงินเฟ้อ และบีบบังคับจากการประจำการทางทหาร ทั้งหมดทำให้เกิดความยากลำบากทางเศรษฐกิจเป็นเวลาหลายทศวรรษ วิกฤตครั้งนี่นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสมัยคลาสสิก เป็น ปลายสมัยโบราณ
จักรพรรดิออเรเลียน ก็ได้ฟื้นฟูและทำให้จักวรรดิมีความเสถียรภาพ และได้ต่อยอดโดยจักรพรรดิดิออเกลติอานุส นอกนี้ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิดิออเกลติอานุสก็ได้นำพาความร่วมกันต่อต้านภัยจากศาสนาคริสต์จึงได้เริ่มการเบียดเบียนครั้งใหญ่ ในช่วงราชสมัยครั้งนี้ก็ได้แบ่งจักรวรรดิโรมันเป็น 4 เขตในรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า "จตุราธิปไตย "[ 11] ต่อมาในราชสมัยของจักรพรรดิกาเลริอุส ก็ได้ยินยอมให้ผู้นับถือศาสนาคริสต์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้โดยสันติในปี ค.ศ. 311[ 12]
ในปีต่อมา ในราชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน ทรงกลับใจนับถือศาสนาคริสต์ และยอมรับให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำจักวรรดิ ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ขยายอิทธิพลทั่วยุโรป ทรงสถาปนากรุงคอนแสนติโนเปิล ในทางตะวันตกออกของจักรวรรดิโรมัน เพื่อเป็นเมืองหลวงอีกแห่งหนึ่ง เพื่อแบ่งภาระของกรุงโรมในการปกครองและปราบปรามพวกอนารยชน จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 ได้เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ครองราชย์รอบเต็มขนาด เนื่องด้วยหลังจากนี้จักรวรรดิโรมันจะเสื่อมลงและเริ่มสุญเสียดินแดนและอำนาจ
ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันตก ต้องเผชิญกับปัญหาภายใน ไม่ว่าจะเป็นเพราะความอ่อนแอของจักพรรดิ ระบบทหารและเศรษฐกิจที่อ่อนแอ การย้ายถิ่นฐานของพวกบาร์เบเรียน การเสื่อมศีลธรรมจรรยาของชาวโรมัน และอื่นๆ[ 13]
ในปี ค.ศ. 410 จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็โดนชาววิซิกอท ได้รุกร่านตีกรุงโรมแตก ซึ่งต่อมาใน ค.ศ. 476 จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ได้ถูกพวกกลุ่มชนเจอร์แมนิก เข้าปล้นสะดมได้สำเร็จ นำโดยพระเจ้าโอเดเซอร์ ขับไล่จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ออกจากบัลลังก์ ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน (ตะวันตก) ส่วนจักรวรรดิโรมันตะวันออก ซึ่งเรียกโดยนักประวัติศาสตร์ว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์ " ได้เจริญพัฒนาราบรื่น มั่นคั่งและร่ำรวยกว่ายังดำรงต่อไปและยังคงมีจักรพรรดิปกครองไปไปในช่วงยุคกลาง จนถูกพวกเติร์กเข้ายึดครองและถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน ใน ค.ศ. 1453[ 14] [ 15]
หมายเหตุ
↑ ชื่ออื่นที่กล่าวถึง "จักรวรรดิโรมัน" ในกลุ่มชาวโรมันและกรีกได้แก่ Res publica Romana หรือ Imperium Romanorum (ในภาษากรีก: Βασιλεία τῶν Ῥωμαίων – ["เครือจักรภพ (แปลตรงตัวว่า 'อาณาจักร' แต่สามารถตีความเป็น 'จักรวรรดิ') ของชาวโรมัน"]) และ Romania
Res publica หมายถึง "เครือจักรภพ"โรมัน และสามารถอิงถึงสมัยสาธารณรัฐและจักรวรรดิ Imperium Romanum (หรือ "Romanorum ") อิงถึงขอบเขตดินแดนของอำนาจโรมัน Populus Romanus ("ชาวโรมัน") มักใช้เรียกรัฐโรมัน คำว่า Romania เดิมทีสำนวนภาษาปากของดินแดนจักรวรรดิเช่นเดียวกันกับสมุหนาม ของผู้อยู่อาศัย ปรากฏในข้อมูลกรีกและลาตินในคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา และถูกนำไปใช้กับจักรวรรดิโรมันตะวันออก (ดู R. L. Wolff, "Romania: The Latin Empire of Constantinople" in Speculum 23 (1948), pp. 1–34 and especially pp. 2–3).
↑ จักรวรรดิองค์สุดท้ายที่ปกครองดินแดนจักรวรรดิโรมันทั้งหมดก่อนที่จะแยกออกเป็นสองจักรวรรดิ
↑ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งโรมันตะวันตก
↑ ผู้นำคนสุดท้ายที่ทั้งหมดยอมรับว่าเป็นจักรพรรดิโรมัน
↑ จักรพรรดิองค์สุดท้ายในจักรวรรดิไบแซนไทน์ (โรมันตะวันออก)
อ้างอิง
↑ Morley, Neville (17 August 2010). The Roman Empire: Roots of Imperialism . ISBN 978-0-7453-2870-6 .
↑ Diamond, Jared (4 January 2011). Collapse: How Societies Choose to Fail or Succeed: Revised Edition . ISBN 978-1-101-50200-6 .
↑ Bennett, Julian (1997). Trajan: Optimus Princeps : a Life and Times . Routledge. ISBN 978-0-415-16524-2 . . Fig. 1. Regions east of the Euphrates river were held only in the years 116–117.
↑ 4.0 4.1 4.2 Taagepera, Rein (1979). "Size and Duration of Empires: Growth-Decline Curves, 600 B.C. to 600 A.D". Social Science History . Duke University Press. 3 (3/4): 125. doi :10.2307/1170959 . JSTOR 1170959 .
↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (2006). "East-West Orientation of Historical Empires" (PDF) . Journal of World-Systems Research . 12 (2): 222. ISSN 1076-156X . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2016-05-17. สืบค้นเมื่อ 6 February 2016 .
↑ Durand, John D. (1977). "Historical Estimates of World Population: An Evaluation" . Population and Development Review . 3 (3): 253–296. doi :10.2307/1971891 . JSTOR 1971891 .
↑ ในช่วงระยะกาลต่อสู้นี้ สมาชิกวุฒิสภาได้ล้มตายลงไปนับร้อยคน วุฒิสภา จึงได้บรรจุผู้ที่ภักดีในข้อตกลงไตรพันธมิตรครั้งแรก และข้อตกลงไตรพันธมิตรครั้งที่สอง เพิ่ม
↑ Boatwright, Mary T. (2000). Hadrian and the Cities of the Roman Empire. Princeton University Press. p. 4.
↑ https://www.britannica.com/place/Roman-Empire/Height-and-decline-of-imperial-Rome
↑ Dio Cassius 72.36.4 , Loeb edition translated E. Cary
↑ Potter, David (2004). The Roman Empire at Bay . Routledge. pp. 296 –298. ISBN 978-0-415-10057-1 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06 .
↑ วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, สำนัก. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานครฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2551
↑ https://www.britannica.com/place/Roman-Empire/Height-and-decline-of-imperial-Rome#:~:text=The%20West%20was,Middle%20Ages .
↑ Ozgen, Korkut. "Mehmet II" . TheOttomans.org . สืบค้นเมื่อ 3 April 2007 . ; Cartwright, Mark (23 January 2018). "1453: The Fall of Constantinople" . World History Encyclopedia . World History Encyclopedia Limited. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020 .
บรรณานุกรม
Abbott, Frank Frost (1901). A History and Description of Roman Political Institutions . Elibron Classics. ISBN 978-0-543-92749-1 .
Adams, J. N. (2003). " 'Romanitas' and the Latin Language". The Classical Quarterly . 53 (1): 184–205. doi :10.1093/cq/53.1.184 . JSTOR 3556490 .
Albrecht, Michael von (1997). A History of Roman Literature: From Livius Andronicus to Boethius : with Special Regard to Its Influence on World Literature . Vol. 2. BRILL. ISBN 978-90-04-10709-0 .
Ando, Clifford (2000). Imperial Ideology and Provincial Loyalty in the Roman Empire . University of California Press. ISBN 978-0-520-22067-6 .
Auguet, Roland (2012). Cruelty and Civilization: The Roman Games . Routledge. ISBN 978-1-135-09343-3 .
Boardman, John, บ.ก. (2000). The Cambridge Ancient History: The High Empire, A.D. 70–192 . Vol. 11. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-26335-1 .
Bohec, Yann Le (2000). The Imperial Roman Army . Psychology Press. ISBN 978-0-415-22295-2 .
Bowersock, Glen Warren; Brown, Peter; Grabar, Oleg (1999). Late Antiquity: A Guide to the Postclassical World . Harvard University Press. p. 625 . ISBN 978-0-674-51173-6 .
Bowman, Alan; Garnsey, Peter; Cameron, Averil, บ.ก. (2005). The Cambridge Ancient History: Volume 12, The Crisis of Empire, AD 193–337 . Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-30199-2 .
Bradley, Keith (1994). Slavery and Society at Rome . Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-37887-1 .
Cavallo, Guglielmo; Chartier, Roger (1999). A History of Reading in the West . Polity Press. ISBN 978-0-7456-1936-1 .
Clarke, John R. (1991). The Houses of Roman Italy, 100 B.C.-A.D. 250: Ritual, Space, and Decoration . University of California Press. ISBN 978-0-520-08429-2 .
Dyson, Stephen L. (2010). Rome: A Living Portrait of an Ancient City . JHU Press. ISBN 978-1-4214-0101-0 .
Edmondson, J.C. (1996). "Dynamic Arenas: Gladiatorial Presentations in the City of Rome and the Construction of Roman Society during the Early Empire". Roman Theater and Society . University of Michigan Press.
Edwards, Catharine (2007). Death in Ancient Rome . Yale University Press. ISBN 978-0-300-11208-5 .
Elsner, Jaś; Huskinson, Janet (2011). Life, Death and Representation: Some New Work on Roman Sarcophagi . Walter de Gruyter. ISBN 978-3-11-020213-7 .
Frier, Bruce W.; McGinn, Thomas A. (2004). A Casebook on Roman Family Law . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-516185-4 .
Gagarin, Michael, บ.ก. (2010). The Oxford Encyclopedia of Ancient Greece and Rome . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517072-6 .
Goldsworthy, Adrian (2003). The Complete Roman Army . London: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-05124-5 .
Goldsworthy, Adrian Keith (2009). How Rome Fell: Death of a Superpower . New Haven, Connecticut: Yale University Press. ISBN 978-0-300-13719-4 . Commodus Gibbon.
Habinek, Thomas N. (2005). The World of Roman Song: From Ritualized Speech to Social Order . JHU Press. ISBN 978-0-8018-8105-3 .
Harris, W. V. (1989). Ancient Literacy . Harvard University Press. ISBN 978-0-674-03381-8 .
Holleran, Claire (2012). Shopping in Ancient Rome: The Retail Trade in the Late Republic and the Principate . OUP Oxford. ISBN 978-0-19-969821-9 .
Humphrey, John H. (1986). Roman Circuses: Arenas for Chariot Racing . University of California Press. ISBN 978-0-520-04921-5 .
Huzar, Eleanor Goltz (1978). Mark Antony: a Biography . Minneapolis: University of Minnesota Press. ISBN 978-0-8166-0863-8 .
Johnson, William A; Parker, Holt N (2009). Ancient Literacies: The Culture of Reading in Greece and Rome . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-971286-1 .
Johnson, William A. (2010). Readers and Reading Culture in the High Roman Empire: A Study of Elite Communities . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-972105-4 .
Jones, A. H. M. (1960). "The Cloth Industry Under the Roman Empire" . The Economic History Review . 13 (2): 183–192. doi :10.1111/j.1468-0289.1960.tb02114.x (inactive 31 May 2021). JSTOR 2591177 . {{cite journal }}
: CS1 maint: DOI inactive as of พฤษภาคม 2021 (ลิงก์ )
Kelly, Christopher (2007). The Roman Empire: A Very Short Introduction . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280391-7 .
Kousser, Rachel Meredith (2008). Hellenistic and Roman Ideal Sculpture: The Allure of the Classical . Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-87782-4 .
Laes, Christian (2011). Children in the Roman Empire: Outsiders Within . Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-89746-4 .
Marshall, Anthony J. (1976). "Library Resources and Creative Writing at Rome". Phoenix . 30 (3): 252–264. doi :10.2307/1087296 . JSTOR 1087296 .
Millar, Fergus (2012). "Empire and City, Augustus to Julian: Obligations, Excuses and Status". Journal of Roman Studies . 73 : 76–96. doi :10.2307/300073 . JSTOR 300073 .
Mommsen, Theodore (2005) [1909]. William P. Dickson (บ.ก.). The provinces of the Roman empire from Caesar to Diocletian . แปลโดย William P. Dickson. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Library.
Morris, Ian; Scheidel, Walter (2009). The Dynamics of Ancient Empires: State Power from Assyria to Byzantium . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-970761-4 .
Naerebout, Frederick G. (2009). "Dance in the Roman Empire and Its Discontents". Ritual Dynamics and Religious Change in the Roman Empire . Proceedings of the Eighth Workshop of the International Network Impact of Empire (Heidelberg, 5–7 July 2007), Brill.
Nicolet, Claude (1991). Space, Geography, and Politics in the Early Roman Empire . University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-10096-5 .
Peachin, Michael, บ.ก. (2011). The Oxford Handbook of Social Relations in the Roman World . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-518800-4 .
Potter, David Stone; Mattingly, D. J. (1999). Life, Death, and Entertainment in the Roman Empire . University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-08568-2 .
Potter, David S., บ.ก. (2009). A Companion to the Roman Empire . John Wiley & Sons. ISBN 978-1-4051-9918-6 .
Rochette, Bruno (2012). "Language Policies in the Roman Republic and Empire". A Companion to the Latin Language . pp. 549–563. doi :10.1002/9781444343397.ch30 . ISBN 978-1-4443-4339-7 .
Rawson, Beryl (1987). The Family in Ancient Rome: New Perspectives . Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-9460-4 .
Rawson, Beryl (2003). Children and Childhood in Roman Italy . OUP Oxford. ISBN 978-0-19-151423-4 .
Roberts, Michael John (1989). The jeweled style: poetry and poetics in late antiquity . Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-2265-2 .
Rüpke, Jörg (2007). A Companion to Roman Religion . Wiley. ISBN 978-0-470-76645-3 .
Stambaugh, John E. (1988). The Ancient Roman City . JHU Press. ISBN 978-0-8018-3692-3 .
Sullivan, Richard, D. (1990). Near Eastern Royalty and Rome, 100-30 BC . Toronto: University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-2682-8 .
Vout, Caroline (2009). "The Myth of the Toga: Understanding the History of Roman Dress". Greece and Rome . 43 (2): 204–220. doi :10.1093/gr/43.2.204 . JSTOR 643096 .
Winterling, Aloys (2009). Politics and Society in Imperial Rome . John Wiley & Sons. ISBN 978-1-4051-7969-0 .
Wiseman, T.P. (1970). "The Definition of Eques Romanus ". Historia . 19 (1): 67–83.
Wood, Gordon S. (2011). The Idea of America: Reflections on the Birth of the United States . Penguin Publishing Group. ISBN 978-1-101-51514-3 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง
โบราณ ยุคกลาง ยุคใหม่ หมายเหตุ: เรียงลำดับตามปีการก่อตั้ง เลขในวงเล็บหลังชื่อแสดงปีการก่อตั้ง